ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“งานการออกแบบเพื่อคนทั้งมวลในระดับสากล”

          เมื่อตอนเรียนปริญญาโทต้องพัฒนาหัวข้อ Thesis “ธีสิส” ต้องหาหัวข้อสิ่งที่ตนเองสนใจ โดยเริ่มจากเรามีความสนใจในเรื่องโรงเรียนทางเลือกแบบวอลดอร์ฟ “Waldorf”ที่เน้นการให้เด็กทำกิจกรรมนอกห้องเรียน อยู่กับธรรมชาติ ศึกษาแนวคิดนี้และปรึกษางานวิจัยจากอาจารย์อีกหลายท่าน และได้ไอเดียจาก อาจารย์ท่านหนึ่งที่จบการศึกษาจากประเทศญี่ปุ่น ในด้านยูนิเวอร์เเซล ดีไซน์ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่มากในยุคนั้น ในช่วงนั้นเป็นปี 2544 หรือเมื่อ16 ปีที่แล้วเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับวงการ จึงเกิดความสนใจในเรื่องนี้มากกว่าเรื่องแรกที่ได้คิดไว้ 

“ความจำเป็นและล่ามภาษามือในรายการโทรทัศน์”

          ล่ามภาษามือ คือ บุคคลที่ทำหน้าที่แปลข้อความระหว่างคนหูหนวกกับคนที่สามารถได้ยินเสียงได้ โดยการแปลจากภาษาพูดเป็นภาษามือ ให้กับคนหูหนวกได้เข้าใจเนื้อหา ถือเป็นตัวกลางของการสื่อสาร ความแตกต่างทางภาษามือแต่ละที่ ทุกประเทศมีภาษามือเฉพาะ เป็นภาษามือมีลักษณะเฉพาะของแต่ละประเทศ สำหรับในประเทศไทยคนปกติมีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ แต่คนหูหนวกมี "ภาษามือไทย" เป็นภาษาประจำชาติของคนหูหนวกเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีภาษามืออีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า ภาษามือสากล จะใช้ในโอกาสที่คนหูหนวกจากหลายๆ ประเทศมาประชุมร่วมกัน

“งานมหกรรมผู้แสดงความสามารถคนพิการ”

           วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานของผู้แสดงความสามารถซึ่งเป็นคนพิการที่มีความสามารถหลากหลาย และสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จจากการตรากฎหมายควบคุมการขอทาน ที่ได้ส่งเสริมให้คนพิการมีศักดิ์ศรี มีอาชีพ มีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงเพื่อเผยแพร่สาระสำคัญของกฎหมายควบคุมการขอทาน และสร้างความรู้ความเข้าใจ เจตนคติของสังคมให้เข้าใจถึงผู้แสดงความสามารถตามกฎหมาย

“คนพิการ ความรัก และความหลากหลายทางเพศ”

          ผมเป็นคนพิการทางการได้ยิน ผมหูหนวกตั้งแต่กำเนิด เนื่องจากคุณแม่ไม่สบายแล้วไปฉีดยาหัดเยอรมันจึงส่งผลให้พิการทางการได้ยิน ตั้งแต่ตอนเด็กมีปัญหาการสื่อสารกับผู้อื่นเป็นอุปสรรคอย่างมาก ไม่ค่อยรู้อะไร ได้แต่เรียนรู้จากคนภายนอก พอโตขึ้นมาก็ดูจากคำพูดที่แม่พูดฝึกจากการอ่านปาก เมื่อโต ป.1 - ป.6 เรียนโรงเรียนพญาไท เริ่มรู้สึกว่าเวลาครูสอนมีสื่อมีอุปกรณ์มีคำง่าย ๆ ที่ตรงและอ่านปากง่าย ๆ แต่ก็สงสัยว่าทำไมถึงไม่ให้ใช้ภาษามือ รู้สึกอึดอัดเพราะเรารู้สึกว่าภาษามือเป็นธรรมชาติของเรา หลังจากจบ ป.6 ก็มาต่อที่โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ ดินแดง เมื่อเข้าไปเรียนรู้สึกว่ามันหนักมาก เวลาใครพูดใครเรียกเราไม่

“คนพิการกับความรัก”

          ผมมีลูกเป็นเด็กออทิสติก ตอนนี้เรียนจบปริญญาตรีเกี่ยวกับอาหารที่สวนดุสิต และได้ทำงานที่ครัว ๑๒ ที่สวนดุสิต ตอนที่ดูแลลูกมีผู้ปกครองเชิญชวนเข้าสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิสซึม(ไทย) คิดว่าคนในสังคมส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรู้จักออทิสติก และยังถือว่าเป็นเรื่องแปลกใหม่   ปัจจุุบันี้ลูกผมอายุ ๓๐ กว่าปีแล้ว 

กิจกรรมงานคนพิการ จังหวัดนราธิวาส

           พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนราธิวาส นายฮาเซ็น ดือเร๊ะ ประธานสภาคนพิการทุกประเภทจังหวัดนราธิวาส คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจังหวัดนราธิวาส ตลอดจนคณะหัวหน้าส่วนราชการ คนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ และครอบครัวคนพิการ กว่า 800 คน เข้าร่วมงาน นายธรรมรงค์ คงวัดใหม่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดประเด็นหลักในการจัดงานวันคนพิการสากล คือ “การเสริมพลังคนพิการ และการประกันการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเสมอภาคทั่วถึง และเท่าเทียมกัน “ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปี พ.ศ.2570 ภายใต้แนวคิด “ไม่ทิ้งใครไว้ข้า

“แท็กซี่สำหรับคนพิการ”

          แกร็บ ร่วมกับ กรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม และภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ (Transportation For All - T4A) ขอเชิญชวนพาร์ทเนอร์แกร็บแท็กซี่ผู้มีจิตอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ ‘GrabAssist’ บริการรถรับส่งเพื่อผู้พิการและผู้สูงอายุ เพื่อรับฟังข้อควรปฏิบัติและแนวทางการบริการ ซึ่งจะจัดขึ้นโดยกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

“การช่วยเหลือเด็กออทิสติกที่ไม่สามารถเรียนได้”

          ในช่วงปฐมวัย 5 ขวบปีแรก ตั้งแต่เริ่มรู้ว่าเป็นออทิสติก ต้องเข้าโปรแกรมปรับพฤติกรรมแบบเข้มข้น ส่งเสริมพัฒนาการในทุกด้านอย่างต่อเนื่อง ฝึกและแก้ไขการพูด เสริมสร้างทักษะการดูแลตนเอง และทักษะสังคมที่เหมาะสมตามวัย เริ่มต้นด้วยการกระตุ้นให้เด็กตอบสนองอย่างสม่ำเสมอ เรียกแล้วหันมอง เน้นการมองหน้าสบตา เล่นโต้ตอบกัน โดยการกระตุ้นเด็กให้ออกจากโลกส่วนตัวของตนเอง มารับรู้และสนใจสิ่งแวดล้อมภายนอกเพิ่มขึ้น เพราะถ้าปล่อยให้เด็กเป็นไปตามธรรมชาติของเขา เด็กก็จะอยู่ในโลกส่วนตัวมากขึ้น ไม่สนใจใคร เริ่มมีอาการแย่ลงเรื่อยๆ กระตุ้นตัวเองโดยการโยกตัว หมุนตัว เล่นมือ ส่งเสียงเป็นภาษาของตัวเอง และไม่ยอมเรี

ชมรมตะวันทอแสง

          ที่ผ่านมากลุ่มผู้บกพร่องทางจิตเมื่อได้รับการฟื้นฟูแล้วสามารถทำงานได้ ช่วยเหลือตัวเองได้ แต่กลับไม่ได้รับการยอมรับจากคนในสังคมเกิดเจตคติในทางลบจากคนในสังคม เรามองเห็นปัญหาว่าเราพยายามผลักดันเท่าไหร่ คนที่จะมารู้มาเข้าใจเรื่องของการให้โอกาสคนพิการทางจิตยังมีน้อยเพราะยังขาดความรู้เรื่องของอาการป่วยและการรักษา เลยคิดว่าการสร้างชมรมตะวันทอแสง บริหารโดยคนพิการทางจิต สมาชิกเป็นคนพิการทางจิตก็จะเป็นกลุ่มที่จะขยายตัวมีสมาชิกในกลุ่มเพิ่มขึ้น จะทำให้สุขภาพของพวกเขาที่มารวมตัวกันจะมองเห็นที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ก็เลยระดมน้อง ๆ กลุ่มจิตเวชที่ผ่านการฟื้นฟูแล้วสามารถออกสู่สังคมได้รวมกลุ่มกันเป็น ช

วันใหม่ของเด็กพิการ

        นักประดิษฐ์ชาวอาร์เจนตินาชื่อจีโน ทูบาโร วัยเพียง 21 ปี เคยได้รับการยกย่องชมเชยจากประธานาธิบดีบารัค โอบามา ระหว่างเดินทางเยือนประเทศอาร์เจนตินาเมื่อปีที่แล้ว จากโครงการประดิษฐ์ “ลิมพ์ส” (Limps) เครื่องมือโดยใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing) ที่ กำลังเป็นกระแสนิยมทั่วโลก และนำเครื่องมือนั้นมาสร้างวัสดุเลียนแบบอวัยวะมนุษย์เพื่อช่วยให้ผู้พิการสามารถใช้งานได้เหมือนคนปกติ 

หน้า

^ กลับสู่เนื้อหาหลัก