ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

YoungHappy (ผู้สูงอายุ)

บทสัมภาษณ์ : คุณธนาธร พรหมยศ CEO และ ผู้ร่วมก่อตั้ง Younghappy (ผู้สูงอายุ) ออกอากาศ : วันเสาร์ที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒ รายการรวมใจเป็นหนึ่ง

          จุดเริ่มต้นของ YoungHappy เกิดขึ้นจากความสนใจในการทำธุรกิจเพื่อสังคม(SE) ของทั้งณฎาและ ธนากร จากการประสบปัญหาของทั้งคู่ ในฟากของธนากรที่เป็นลูกชายคนเดียวและเป็นวิศวกร เขาจึงมีความคิดที่อยากจะพัฒนาแอพพลิเคชั่นในการช่วยดูแลคุณพ่อและคุณแม่ในขณะที่เขาไม่อยู่บ้านได้ “ส่วนณฎาเริ่มต้นจากปัญหาที่เล็กมาก นั่นคือการสอนคุณพ่อคุณแม่ใช้งานโซเชียลมีเดีย เพราะสอนกันทีไรจะต้องแบบไฟต์ (fight) กันทุกที (หัวเราะ) พอเราถามคนรอบข้างก็จะเป็นแบบเดียวกัน ตอนแรกณฎาลองไปหาหนังสือที่สอนเกี่ยวกับใช้ไลน์หรือเฟซบุ๊ค ซึ่งไม่มีขาย ถ้ามีก็จะเป็นหนังสือที่สอนใช้โปรแกรมที่เป็นระดับที่ยากไปเลย ณฎามองว่าถ้าพ่อแม่เล่นโซเชียลมีเดีย เขาน่าจะไม่ค่อยเหงา มีสังคม เราจึงเอาปัญหาทั้ง 2 ส่วนมาแมช (match)กัน โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือและดำเนินการด้วยรูปแบบธุรกิจ SE 

          ทว่า เส้นทางของ YoungHappy ไม่ได้เกิดแบบปัจจุบันทันด่วน แต่ดำเนินไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยที่ณฎาเริ่มต้นจากการเข้าไปเป็นจิตอาสาสอนผู้สูงอายุใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ในหลากหลายสถานที่ ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์อัลไซเมอร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สมาคมบ้านปันรัก รวมทั้งศูนย์ดิจิทัลชุมชน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจความต้องการและฝึกทักษะการสื่อสารกับผู้สูงอายุ “การใช้สื่อสำหรับคนวัยหนุ่มสาวเป็นเรื่องที่ไม่ยาก แต่สำหรับผู้สูงอายุนั้นไม่ง่ายเลย แต่เมื่อเขาสามารถทำได้ด้วยตัวเอง เรียกว่าเปลี่ยนชีวิตเขามากเลยนะคะ มีคุณลุงเดินเอามือถือมาให้เราดู แล้วบอกว่า “รู้ไหม ลุงรู้สึกว่าเป็นทาสมาตลอดเลย มีวันนี้แหละที่เพิ่งรู้สึกว่าเป็นเจ้านายมันเนี่ย”

          ด้วยความที่เราไม่สามารถใช้เทคโนโลยีกับผู้สูงอายุได้ เพราะฉะนั้น ผลผลิต(product) แรกที่เรามีจึงเกิดจากปัญหาที่เราไปเจอตอนที่สอนคุณลุงคุณป้าเล่นโซเชียลมีเดีย ตอนที่สอน พวกเขาก็รู้สึกดี สนุก และทำได้นะคะ แต่พอกลับบ้านไป เขาจะลืมหมดแล้ว ซึ่งประโยคที่เขามาบอกเราคือป้าลืมหมดแล้ว ทำเอกสารให้ป้าที ประโยคนี้แหละค่ะที่ทำให้คิดว่า โอเคถ้าจะทำเอกสารทั้งที ก็ขอทำให้ดี ๆ ไปเลย

          ถ้าระยะสั้นนี้เราก็กำลังอยากทำเซอร์วิส (service)ให้เต็มรูปแบบมากขึ้น โดยเฉพาะ Call Center และ Caring Call ซึ่งถ้าเราทำได้ก็น่าจะมีผลกระทบ(impact)กับสังคมโดยกว้างได้มากกว่า เราพยายามจะให้สมบูรณ์ภายในปีนี้ แล้วถ้าดูจากสถิติของผู้สูงอายุในเมืองใหญ่ ประมาณ 4 ล้านคน ไม่มีลูกหลานหรือว่าอยู่กันเป็นคู่แต่ไม่มีลูก เราอยากไปเจอกลุ่มนี้มากเลยเพราะเรารู้ว่าเขาต้องการที่พึ่ง ซึ่งโฟกัสของเราจะอยู่ที่กรุงเทพฯ เป็นหลักก่อน เพราะผู้สูงอายุในเมืองมีปัญหามากกว่าชนบท ชนบทจะไม่ค่อยพบเรื่องซึมเศร้า เรื่องเหงา เพราะว่าเขาอยู่กันเป็นครอบครัว ไปไหนมาไหนก็ง่าย ในเมืองใหญ่มีปัญหามากกว่า ส่วนอนาคตที่ไกลขึ้น เราอยากที่จะสเกลไปในระดับภูมิภาคด้วย ทั้งเวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ประเทศเหล่านี้ก็เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเช่นเดียวกัน ซึ่งณฎากล่าวว่าด้วยพื้นฐานของคนไทยแล้วไม่มีใครใจดีโอบอ้อมอารีเท่าคนไทย

 

รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.30-19.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz และ AM 1161 kHz

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก