ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“พระราชดำรัสของพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช”

         “การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิด ว่าที่จริงแล้วคนโดยมาก ไม่ค่อยชอบปิดทองหลังพระกันนัก เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้”

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๐๖ 

 

“ความรู้สึกจากกลุ่มนักดนตรีจากเครือข่ายศิลปะดนตรีคนพิการ”

เปิดเพลงเหตุผลของพ่อ

        ไก่  ประกิต ผมก็เป็นคนๆหนึ่งที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้ บ้านหลังที่ชื่อประเทศไทย หลังจากได้ทราบข่าวพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาล ที่ 9  เสด็จสวรรคต  ทำให้รู้สึกอ้างว้าง เศร้า เสียใจ คงเป็นเพราะได้ติดตามพระราชกรณียกิจของ ในหลวง รัชกาล ที่ 9  ผมอยู่บ้านนอก ปู่ย่าตายายดูทีวีก็จะมีข่าวพระราชสำนักก็จะได้รับรู้ได้ยินเรื่องราวของพระองค์ท่านมาตลอด เหมือนเด็กที่เคยตัวว่ายังไงก็มีพระองค์อยู่ จะรู้สึกปลอดภัย แต่พอไม่มีพระองค์ท่าน ก็รู้สึกใจหาย กลัว กังวลไปหมด แต่ชีวิตต้องดำเนินต่อไป มันบรรยายออกมาเป็นความรู้สึกได้ยาก

“พระอัจฉริยภาพทางดนตรีของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ”

          พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาล ที่ 9 ทรงเป็นคีตกวีและนักดนตรีที่ชาวโลกยกย่อง ทรงพระปรีชาสามารถในการทรงดนตรี ทรงพระราชนิพนธ์เพลง แยกและเรียบเรียงเสียงประสาน ทรงเป็นครูสอนดนตรีแก่ข้าราชบริพารใกล้ชิดและทรงซ่อมเครื่องดนตรีได้ด้วย ตลอดจนทรงเชี่ยวชาญในศิลปะแขนงต่างๆ อย่างแท้จริง สมกับที่พสกนิกรชาวไทยน้อมเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญา  “อัครศิลปิน”

“ประสบการณ์ที่ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช”

        พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เพลง ยิ้มสู้ ให้กับคนตาบอด ใช้ในการซ้อมเพื่อหารายได้ให้กับโรงเรียนสอนคนตาบอด ในปี ๒๔๙๕ และพระองค์ยังทรงพระกรุณาธิคุณเรื่องเครื่องเล่นมิวสิคบ๊อกขนาดใหญ่ ซึ่งมี ๘ เพลง เป็นที่ชื่นชอบของเด็กนักเรียน และคลื่นนี้ก็ยังอยู่จนถึงปัจจุบันนี้

สตรีพิการดีเด่น ปี ๒๕๕๙

         คุณชญาดา  วิริยะศิริเวช  (ตูน) พิการทางด้านร่างกายขาขาดเหนือเข่าทั้งสองข้างจากภาวะเจ็บป่วย ตูนเป็นโรคเลือดแข็งตัวเร็วผิดปกติเมื่อ ๑๐ ปีที่แล้ว ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่อยู่ที่ศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการจังหวัดชลบุรี และเป็นกรรมการของมูลนิธิสภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการประเทศไทย

“ไม้ไฑ ดะห์ลัน” นิสิตวิศวกรรมเครื่องกลจุฬาฯสานฝันพัฒนาหุ่นยนต์

         หนทางสู่ความสำเร็จในชีวิตเกิดจากความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงานอย่างเต็มที่พร้อมพัฒนาตนเองให้ก้าวไปข้างหน้าอยู่เสมอ “ไม้ไฑ ดะห์ลัน” นิสิตปริญญาโทภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ก็เช่นกัน  นิสิตคนเก่งคนนี้เป็นผู้สร้างชื่อเสียงและนำความภาคภูมิใจมาสู่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากจะได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันออกแบบและสร้างหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8 (RDC 2015)  ได้รับรางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2559 แล้ว ไม้ไฑเป็นหนึ่งในบัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯที่จะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในวันที่ 29 กันยายนนี้

         

“การพัฒนาศักยภาพด้านการแสดงของคนพิการ”

        โครงการที่ต้องการส่งเสริม สนับสนุนความสามารถในการแสดงออกด้านดนตรีของคนพิการ ให้พวกเขาได้ใช้ศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ รวมถึงพัฒนาศักยภาพให้ถึงขีดสูงสุดที่จะทำได้     การแสดงหรือโชว์ คืออีกหัวใจหลักที่จะทำให้เจ้าของบทเพลงสามารถสื่ออารมณ์ ความรู้สึกให้เข้าถึงและมัดใจผู้ที่ได้รับชมและรับฟังได้อย่างสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น ด้วยเนื้อร้องที่กลั่นกรอง ทำนองที่สร้างสรรค์จากคนพิการ พวกเขาล้วนมีหัวใจที่ใฝ่ฝันและต้องการเป็นศิลปินสามารถยืนโชว์อย่างองอาจบนเวทีที่ไม่ว่าจะเล็กหรือใหเพื่อถ่ายทอดเสียงเพลง คำร้อง ทำนอง ทำให้ผู้ชมที่เขาอาจมองไม่เห็นก็ตาม มีความสุขในขณะที่ได้รับฟังหรือแม้แต่แอบคิดถึงแ

“โครงการจากถนนสู่ดวงดาว”

        กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) มีนโยบายสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจเร่งด่วน คือ การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ปัญหาขอทาน ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับปรุงกฎหมาย และจัดทำร่างพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. .... โดยร่าง พ.ร.บ.

กทม. ตัดงบบริการรถตู้คนพิการและผู้สูงอายุ

        กลุ่มผู้พิการและผู้สูงอายุ ยื่นหนังสือขอความชัดเจน กรณีสภา กทม.ตัดงบรถบริการ ปี 2560 ด้านสภา กทม.เผยที่ตัดเพราะงบฯ ปี 2559 จำนวน 35 ล้านบาท สจส.ยังไม่ได้ใช้ 

“โครงการ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนหูหนวก (TTRS)”

      ศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารแห่งประเทศไทย จึงได้จัดบริการเชื่อมต่อการพูดคุยให้ โดยมีล่ามช่วยแปลไม่ว่าจะเป็น ภาษามือ หรือข้อความ แล้วส่งต่อให้ผู้รับปลายทางอีกทอดหนึ่ง

หน้า

^ กลับสู่เนื้อหาหลัก