ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“สหกรณ์บริการคนตาบอดแห่งประเทศไทย จำกัด”

          ถือกำเนิดจากการรวมตัวโดยคนตาบอดกลุ่มหนึ่งที่มีแนวคิดเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านการจัดจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของคนตาบอด การช่วยเหลือด้านการเงิน เพื่อพัฒนาการประกอบอาชีพของคนตาบอด ซึ่งได้รับการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ ปี พ.ศ. 2542 สังกัดสหกรณ์กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2544 มีคณะผู้จัดตั้งประมาณ 122 คน และมีคณะกรรมการชุดแรกจำนวน 11 คน ซึ่งนายสมชาย ปัญญ์เอกวงศ์ เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการคนแรก และในปัจจุบัน มี ผศ. กมลวรรณ อินอร่าม เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการ

“เงินกองทุนของคนพิการ”

           สมาคมสภาคนพิการฯ ได้ไปยื่นหนังสือร้องเรียนในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี ณรงค์ พิพัฒนาศัย เป็นประธาน โดยที่ประชุมมีมติให้ผู้แทนกระทรวงการคลังหารือร่วมกับผู้แทนสมาคมสภาคนพิการฯ และองค์กรคนพิการอื่น แต่การหารือดังกล่าวไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะคนพิการเห็นต่างจากกระทรวงการคลังว่า กองทุนคนพิการไม่ได้มีเงินที่เกินความจำเป็น แต่มีแนวโน้มที่จะลดลงไม่เพียงพอที่จะใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเสียด้วยซ้ำ เนื่องจากมีคนพิการจดทะเบียนเพิ่มมากขึ้นทุกปี อีกทั้งศูนย์บริการคนพิการทั่วไปซึ่งเป็นหน่วยงานที่จะนำเงินของกองทุนไปจัดบริการให้แก่คนพิการก็มีจ

“การส่งเสริมการอ่านของคนพิการ”

             กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีนโยบายดำเนินงานด้านส่งเสริมการอ่านของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยมุ่งหวังให้คนไทยมีนิสัยรักการอ่าน และกำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ พ.ศ. 2552-2561  เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายด้านการส่งเสริมการอ่าน  สำนักงาน กศน.

รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทยประจำเดือนกันยายน 2560

       สรุปรายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทยประจำเดือนกันยายน 2560 
ข้อมูล ณ วันที่ 15 กันยายน 2560 
     การศึกษาของคนพิการ
          คนพิการที่ไม่ได้รับการศึกษา จำนวน 596,581 คน (ร้อยละ 32.99 ของคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ) แบ่งเป็น อายุไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเรียน จำนวน 1,909 คน (ร้อยละ 0.32 ของคนพิการที่ไม่ได้รับการศึกษา) เป็นผู้สูงอายุ (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) จำนวน 270,318 คน (ร้อยละ 45.31 ของคนพิการที่ ไม่ได้รับการศึกษา) และเป็นคนพิการที่อายุถึงเกณฑ์แต่ไม่ได้รับการศึกษาจำนวน 324,354 คน (ร้อยละ 54.37 ของคนพิการที่ไม่ได้รับการศึกษา)   

“การจ้างงานคนพิการทางจิต”

             คนพิการทางจิตอาจจะได้โอกาสการเข้าทำงานน้อยกว่าคนพิการกลุ่มอื่น การที่จะรับคนพิการทางจิตเข้าไปทำงานก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ ความที่ไม่เข้าใจและไม่รู้ว่าคนพิการทางจิตจะทำงานได้แล้วและจะต้องดูแลอย่างไรให้สามารถทำงานให้กับสถานประกอบการนั้นอย่างยั่งยืน อันนี้คือปัญหาที่ทางสมาคมกำลังหาทางออกให้กับคนพิการ แต่ทางออกอีกทางคือการใช้มาตรา ๓๕ โครงการอาชีพแต่ก็ยังได้น้อย แต่ขอฝากคนพิการทางจิตของเราสามารถทำงานได้และทำได้จริง สิ่งหนึ่งที่สมาคมทำคือ การฟื้นฟู การเตรียมความพร้อมให้ผู้ป่วยของเราสามารถออกสู่สังคมได้ และเรียนรู้เรื่องของการทำงานในสังคมโดยการทำงานแบบสมาคม และทางสมาคมก็ได้ให้ผู้ป่วยคิดว่

การส่งเสริมให้คนพิการได้รับการศึกษา

          ณ ปัจจุบันนี้ครูที่เป็นคนตาบอดมีเยอะขึ้นจากอดีตมากพอสมควร ทั้งในโรงเรียนทั่วไปและโรงเรียนสอนคนตาบอดโดยเฉพาะ ได้พยายามส่งเสริมคนตาบอดโดยเฉพาะเพื่อเป็นครูจะได้ถ่ายทอดวิธีคิดให้กับคนรุ่นหลังด้วย หลังจากที่อาจารย์เรียนจบนานไหมกว่าจะได้เป็นครู พอเรียนจบก็สอบเป็นอาจารย์เลยในสมัยนั้นคณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีนโยบายส่งเสริมอาจารย์ประจำ เพราะสมัยที่ผมเรียนใครมาเป็นอาจารย์ก็แค่เป็นทางผ่านเพื่อไปเป็นผู้พิพากษาหรืออัยการ อาจารย์ที่สอนผมทั้งหมดล้วนเป็นผู้พิพากษาในสมัยที่ผมเรียนกฎหมาย

“ครูกับเด็กพิการ”

          ความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่ม   นอกจากมีความเข่าใจพัฒนาการของ เด็กวัยต่างๆแล้ว นักการศึกษาและครูจะต้องเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่มทางด้าน ระดับเชาวน์ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ เพศ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งนักจิตวิทยาได้คิดวิธีการวิจัยที่จะช่วยชี้ให้เห็นว่าความแตกต่าง ระหว่างบุคคลเป็นตัวแปรที่สำคัญในการเลือกวิธีสอน และในการสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม

กังวลไหม หุ่นยนต์ “บอสตันไดนามิกส์” เปิดประตูให้เพื่อนได้แล้ว

เป็นบริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์ที่พัฒนาหุ่นยนต์ออกมาแต่ละรุ่นก็ล้วนมีเอกลักษณ์ติดตาไปแล้วสำหรับบอสตันไดนามิกส์ (Boston Dynamic) โดยจากที่เคยพัฒนาหุ่นยนต์ตัวใหญ่เทอะทะ และวิ่งด้วยท่วงท่าที่ดูน่ากลัว หรือบางตัวก็ตีลังกาเสียพื้นสะเทือน มาถึงวันนี้หุ่นยนต์รุ่นใหม่ ๆ ของบอสตันไดนามิกส์ ดูเหมือนกับว่าจะก้าวข้ามความน่ากลัวในเรื่องภาพลักษณ์ภายนอกไปสู่ความน่ากังวลในความสามารถของเหล่าหุ่นยนต์แทนแล้ว
 

การพัฒนาตนเองให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

          หนูผู้พิการทางการได้ยิน ตอนหนูเกิดใหม่ๆหูหนูดีค่ะ สักระยะหนึ่งหนูป่วยไม่สบายแล้วทานยา แล้วหูก็หนวก หนูเรียนโรงเรียนปกติแต่พอหูหนวกก็ย้ายมาเรียนที่โรงเรียนเศษเสถียรที่นี่สอนให้หนูฝึกอ่านฝึกเขียนและฝึกวิชาการต่างๆ ตอนที่ไม่ได้ยินในช่วงแรกๆ หนูพยายามใช้สายตาให้มีประโยชน์มากที่สุด เพราะฉะนั้นตอนนี้หนูเรียนรู้ด้วยสายตา   

นานาสาระ การเรียนรู้ทักษะการปรับตัวในสังคม

การพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีให้แก่ตนเองที่สำคัญมี 2 ส่วน คือส่วนที่อยู่ภายในจิตใจ ได้แก่การเสริมสร้างความมั่นใจในตนเอง และส่วนที่ปรากฏภายนอก ได้แก่ ทักษะการเข้าสังคม

          การเสริมสร้างความมั่นใจเริ่มจากการที่คุณรู้จักตัวเอง เข้าใจตัวเอง รู้ว่าตัวเองมีจุดดี จุดด้อยตรงไหน ยอมรับความสามารถของตนเองว่าบางอย่างตัวเองทำได้ดี บางอย่างก็มีข้อจำกัดทำได้ไม่ดี การคิดสิ่งต่าง ๆ โดยยึดหลักของเหตุผลและความเหมาะสมตามกาลเทศะก็จะทำให้เกิดความ มั่นใจมากขึ้นได้ เพราะเป็นสิ่งที่คนทั่วไปให้การยอมรับ

หน้า

^ กลับสู่เนื้อหาหลัก