ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“สิทธิคนพิการ ตอน 2”

        การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้แก่คนพิการ ประกอบด้วย ห้องน้ำและห้องอาบน้ำ เช่น ติดตั้งราวจับอุปกรณ์พยุงตัว วัสดุปูพื้นและปรับระดับ พื้นเรียบ ไม่ลื่น ปรับเปลี่ยนสุขภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ถูกสุขอนามัย ปรับแสงสว่างและการระบายอากาศ ระบบสุขาภิบาลและการระบายน้ำที่ดี 

        บันได ติดตั้งราวจับพยุงตัวที่แข็งแรง ราวกันตก จมูกกันลื่น ขยายชั้นลูกนอน และปรับ ลดระยะชั้นลูกตั้งไม่ให้ชันและตั้งเกินไป และปรับชานพัก 

“สิทธิคนพิการ ตอน 1”

        สิทธิประโยชน์สำหรับคนพิการ คนพิการที่จดทะเบียนคนพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มีสิทธิได้รับบริการต่างๆ ดังนี้ การสงเคราะห์และฟื้นฟูสมรรถภาพด้านร่างกาย ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ และด้านสังคมในสถาบัน ปัจจุบันมีสถานสงเคราะห์ฯ จำนวน ๑๑ แห่ง ในจังหวัดนนทบุรี ราชบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปทุมธานี และอุบลราชธานี 

เด็กพิเศษ...ทำผิดกติกา ใครกันต้องรับผิดชอบ??

มักจะมีการวิพากษ์วิจารณ์หรือตกเป็นกระแสสังคมทุกครั้ง เมื่อมีประเด็นเกี่ยวกับการกระทำอันละเมิดสิทธิของบุคคลอื่นของเยาวชนที่ไร้เดียงสา โดยเฉพาะที่จัดอยู่ในประเภท "เด็กพิเศษ"

 

จนเกิดคำถามว่า เด็กพิเศษทำผิด?!? ใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

 

“มุมมองของนักดนตรีมืออาชีพกับลูกศิษย์คนพิการ ตอน 2”

        เรื่องนี้คงจะต้องบอกว่า มันก็มีอะไรๆอยู่หลากหลายแง่มุมมาก  อย่างที่เค้าว่ากันไว้  หลายคนยลตามช่อง..ที่ต่างๆกัน  มุมมองจากหลายๆจุด มันจะเกิดเงาของเรื่องราวที่ทอดผ่านไป ในทิศทางที่หลากหลาย  เหมือนกับว่า  ณ จุดยืนของคนๆนั้นคือแหล่งกำเนิดแสง  ที่ส่องไปยังเรื่องราว  มันก็เปรียบได้กับแง่มุมของคนที่แตกต่างกันนั่นเอง .. หลายคนนั้นมองอาชีพนักดนตรี  ในแง่ของความที่ว่า  เป็นอาชีพที่ “ไม่มั่นคง”  ถ้าหากเค้ามองถึงในเรื่องของรายได้ ที่ไม่มีอะไรมารับประกันได้ว่า  คุณจะสามารถเล่นดนตรีแบบนี้ได้ตลอด ทั้งวัย ทั้งความนิยม หรือกระแส ที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา ..

“มุมมองของนักดนตรีมืออาชีพกับลูกศิษย์คนพิการ ตอน 1”

            ในโลกปัจจุบันเป็นโลกของการแข่งขัน เป็นโลกแห่งการเจริญของวัตถุ ทุกคนต่างแก่งแย่งเพื่อให้ตัวเองมีชีวิตอยู่รอด ส่งผลให้เกิดโรคที่ไม่ติดต่ออย่างหนึ่งนั่นคือโรคเครียด  โรควิตกกังวลเมื่อมีภาวะนี้ยาวนานก็จะส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าหรือเกิดภาวะวิกฤตทางสุขภาพจิตได้และมีภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย  การแก้ปัญหาผู้ป่วยจิตเวชเดิมนั้นเป็นหน้าที่โดยตรงของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  ผู้ป่วยจิตเวชจะถูกมองว่าเป็นบุคคลที่ไม่มีความสามารถ เป็นภาระของสังคม  เมื่อเจ็บป่วยแล้วต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลจิตเวชตลอดชีวิต  แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ป่วยจิตเวชก็คือคน คนหนึ่ง ที่ต้องอยู่ร่วมกับคนที่ตนรัก ต้องการให้ทุกคน

“ครอบครัวและสังคมให้การยอมรับคนพิการทางจิต”

        ความเจ็บป่วยเป็นภาวะที่กระทบกระเทือนต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ แต่ละคนมีวิธีปรับตัวต่อการเจ็บป่วยที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของโรค ลักษณะและวิธีการแก้ปัญหาของผู้ป่วยและสภาพแวดล้อมทางครอบครัวสังคม ภาวะจิตสังคมของผู้ป่วยเป็นสิ่งที่ผู้รักษาพยาบาลควรให้ความสนใจ และให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่เป็นโรคร้ายแรงและคุกคามชีวิต โรคที่ร้ายแรงหรือเรื้อรังย่อมมีผลต่อจิตใจและพฤติกรรมของผู้ป่วยอย่างมาก โรคที่ไม่ร้ายแรงก็มีผลต่อจิตใจของผู้ป่วยชั่วระยะหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยปรับตัวต่อโรคได้ไม่ยากและกลับคืนสู่สภาพการดำเนินชีวิตตามปกติต่อไป

“การฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชตามแนวคิดใหม่ ตอน 2”

        สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยจิตเวช ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยจิตเภท กลับมามีอาการเจ็บป่วยซ้ำ  มีสาเหตุอย่างน้อย 3 ประการดังนี้คือ ประการที่หนึ่ง คือบุคคลเหล่านี้มีความบกพร่องทางทักษะต่าง ๆ ทั้งด้านการทำงาน สังคม รวมถึงการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ เมื่ออยู่ในสังคม สาเหตุประการที่สอง คือ ทัศนคติ และการขาดความรู้และทักษะการใช้ชีวิตร่วมกับญาติและคนในชุมชน เช่น  ญาติไม่ยอมรับในตัวผู้ป่วย เพราะไม่เชื่อว่าจะทำประโยชน์ได้และกลัวจะไปรบกวนความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ซึ่งเป็นผลให้ผู้ป่วยเหล่านี้ ไม่มีโอกาสที่จะใช้ความสามารถที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์อย่างเหมาะสม ทำให้เกิดผลเสียต่อการสร้างทัศนคติที่ดีของสังคมต่อผู้ป่

“การฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชตามแนวคิดใหม่ ตอน 1”

           การส่งเสริม คือ การส่งเสริมสุขภาพจิตส่งเสริมปัจจัยปกป้องการผิดปกติทางจิต ส่วนการป้องกัน คือ การป้องกันความผิดปกติทางจิตด้วยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ สุขภาพจิตกับความผิดปกติทางจิตไม่เพียงอยู่ฝั่งตรงข้ามกันการ ไม่มีอย่างหนึ่งไม่ได้หมายความว่ามีอีกอย่างหนึ่ง แต่การส่งเสริมสุขภาพจิตอาจช่วยป้องกันความผิดปกติทางจิตได้ 

“การขับเคลื่อนกลุ่มคนพิการทางสติปัญญา จ.นครสวรรค์”

          การสร้างสังคมบูรณาการเพื่อคนพิการและทุกคนในสังคม โดยให้คนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสิทธิอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ ต่อคนพิการ สร้างสภาพแวดล้อม  พัฒนาเทคโนโลยี และข้อมูลข่าวสาร

รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและการส่งเสริมอาชีพ สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ทำกินก็ได้ ทำขายก็ดี ชุด ขนมปังและพาย ตอนที่ 3 ขนมปังโฮลวีท

รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและการส่งเสริมอาชีพ

สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน (มีภาษามือ) ทำกินก็ได้ ทำขายก็ดี  ชุด ขนมปังและพาย

  ตอนที่ 3 ขนมปังโฮลวีท

วิทยากร วิทยากร อาจารย์ธีรนุช ฉายศิริโชติ 

ผลิตโดย ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักงาน กศน. กระทรวงศึกษาธิการ

หน้า

^ กลับสู่เนื้อหาหลัก