ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

พัฒนาเทคโนโลยีช่วยให้ผู้พิการรับรู้ในมือที่หายไป

          นานมาแล้วที่นักวิจัยพยายามพัฒนาวิธีที่สร้างประสาทสัมผัสใหม่ของบุคคลที่พิการแขนขา ให้เชื่อมต่อกับแขนขาเทียมเพื่อให้ได้สัมผัสที่สมจริงมากขึ้น เพราะมือมนุษย์นั้นมีสัมผัสไวอย่างเหลือเชื่อ ปลายนิ้วสามารถแยกแยะความแตกต่างของพื้นผิวและสื่อสารรายละเอียดของวัตถุที่มีขนาดเล็กเพียงครึ่งหนึ่งของความกว้างของเส้นผมมนุษย์ได้ มือตรวจจับความรู้สึกต่างๆมากมาย เช่น แรงกด ความเจ็บปวด การสั่นสะเทือน และอุณหภูมิ ซึ่ง เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนเราในการโต้ตอบอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพกับสภาพแวดล้อม

“มือล่องหน" เทคโนโลยีใหม่ช่วยผู้พิการแขน-ขา รู้สึกถึงอุณหภูมิได้

        นักวิจัยในสวิตเซอร์แลนด์กำลังทดสอบเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยให้ผู้พิการแขนขาสามารถรู้สึกถึงอุณหภูมิของสิ่งของต่างๆ ได้อีกครั้ง

          ฟาบริซิโอ ฟิดาติ (Fabrizio Fidati) ไม่เคยรู้สึกถึงความร้อน หรือความเย็นเลย หลังจากเสียมือขวาไปในอุบัติเหตุเมื่อ 25 ปีก่อน จนกระทั่งวันนี้ ที่เขาและผู้สวมใส่อวัยวะเทียมอีก 27 คน ได้ร่วมการทดลองเทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาโดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิส โลซาน (EPFL)

สุขแท้ด้วยปัญญา

ภาษิตสำนวนไทย 4 ภาค

จีนพัฒนา “ชุดมนุษย์เกราะเหล็ก” ช่วยผู้พิการขาเดินเหินสะดวก

นวัตกรรมโดยทีทนักวิจัยของจีน เพื่อการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้พิการร่างกายท่อนล่าง ในการเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวกขึ้น

สำนักข่าวซินหัว รายงานจากเมืองเฉิงตู ประเทศจีน เมื่อวันที่ 9 มี.ค. ว่า หลิน หาน ชายหนุ่มผู้ป่วยพิการอัมพาตท่อนขา สามารถลุกขึ้นยืนเดินเหินและทำกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ เดินขึ้นลงบันไดได้เหมือนคนปกติ หลังสวมใส่หุ่นยนต์โครงกระดูกภายนอก ( Exoskeleton ) ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นโดยมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศจีน ตั้งอยู่ที่เมืองเฉิงตู ซึ่งเป็นเมืองเอกของมณฑลเสฉวน ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

“แนวทางการขับเคลื่อนงานสมาคมผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย”

“แนวทางการขับเคลื่อนงานสมาคมผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย”

          สมาคมผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย เปิดศูนย์ช่วยเหลือคนพิการที่จังหวัดพิษณุโลก ลงพื้นที่สำรวจเพื่อให้การช่วยเหลือคนพิการ ถ้าเป็นคนพิการทางจิต สมาคม ฯ มีแผนพัฒนาให้คนพิการทางจิตมีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะมุ่งหวังพัฒนาให้คนเหล่านี้ขึ้นมาเป็นผู้นำโดยเฉพาะกลุ่มจิตเวช ทางสมาคม ฯ มีการอบรมและพัฒนาคนกลุ่มนี้ให้เพิ่มมากขึ้น จากเหตุการณ์ต่างๆ  ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดภาวะเครียด ทำร้ายตัวเอง ทำร้ายคนอื่น รวมถึงผลที่เกิดจากยาเสพติด ดังนั้นในการนำเสนอข่าวจึงออกมาในมุมมองที่เป็นลบเยอะมาก ในเรื่องนี้สมาคม ฯ มีแผนที่จะทำโครงการอบรมให้ความรู้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิตและพระร

นานาสาระการทำบัตรคนพิการผ่านระบบออนไลน์

การทำบัตรคนพิการผ่านระบบออนไลน์

          ทางกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มีความคิดที่จะเพิ่มความเร็วการออกบัตรประจำตัวคนพิการโดยใช้ระบบออนไลน์สามารถรับได้ทันทีหลังแพทย์รับรอง 

“พิษณุโลกโมเดล”

“พิษณุโลกโมเดล”

          คุณนุชจารี เล่าว่า โครงการนี้เริ่มจาก นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ขอความร่วมมือระหว่างกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกันจัดทำข้อมูลดิจิทัลของคนพิการจำนวนกว่า 30,000 คน ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก และคนพิการที่ตกสำรวจอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อให้คนพิการกลุ่มดังกล่าวที่เข้าไม่ถึงสิทธิสวัสดิการของรัฐและการส่งเสริมอาชีพ สามารถเข้าถึงสิทธิสวัสดิการและพัฒนาอาชีพ จึงเกิด “พิษณุโลกโมเดล”

“สิทธิและสวัสดิภาพของคนพิการและการเข้าถึง”

“สิทธิและสวัสดิภาพของคนพิการและการเข้าถึง”

          สิทธิสวัสดิการของคนพิการ คือ สิ่งที่คนพิการต้องการและได้รับการตอบสนองตรงตามความต้องการ เพราะแต่ละคนมีความต้องการไม่เหมือนกัน ควรได้รับการตอบสนองตรงตามความต้องการ สิทธิคนพิการมีมากมายไม่จำเป็นต้องรู้ทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องได้ทั้งหมด แต่ถ้าเป็นกลุ่มคนที่ทำงานระดับนโยบายหรือเป็นผู้นำ เป็นตัวแทนสมาคมต่างๆ ต้องรู้หมดเพื่อนำไปถ่ายทอดให้เพื่อนๆ คนพิการได้ ถ้าเป็นคนพิการที่อยู่ชายขอบจะสนใจเฉพาะในส่วนที่ต้องการหรือยังขาดอยู่ เช่น ต้องการกายอุปกรณ์ ต้องการมีงานทำ ต้องการเบี้ยความพิการ ต้องการสิทธิสวัสดิการในการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพเชิงป้องกัน เป็นต้น 

“สตรีพิการและคนพิการกับการเมืองไทย”

สตรีพิการและคนพิการกับการเมืองไทย

          ดร.อรุณี เล่าว่า มีความคิดอยากเป็นนักการเมืองตั้งแต่ศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ โรงเรียนหอวังแล้ว ต่อมาทางสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทยส่งชื่อไปเป็นตัวแทนในการเลือกตั้งติดสำรองลำดับที่ 49 แต่ไม่ได้รับการคัดเลือก เพราะในขั้นตอนสุดท้ายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นคนเลือกและตัดสิน อยากให้มีระบบสนับสนุน เช่น เรื่องโควตา ในความเป็นจริงมันได้ เหมือนการจ้างงานคนพิการ ไม่ได้กีดกัน แต่ไม่มีงานที่เหมาะให้คนพิการทำได้ หรือสถานที่ไม่เอื้ออำนวย แต่พอมีโควตาปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทำให้คนพิการมีงานทำมากขึ้น เพราะมีกฎหมายบังคับ เรื่องที่จอดรถ เรื่องห้องน้ำ เรื่องสิ่งอำนวยความสะดวก ถ้าให้เอาใจมาทำไม

หน้า

^ กลับสู่เนื้อหาหลัก