ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

ธรรมชาติของแอลดี

The Nature of LD โดย ดร. เชลดอน เอช โฮโรวิทซ์ (Dr. Sheldon H. Horowitz) Director of Professional Services, National Centre for Learning Disabilities

ลักษณะ เด่นอย่างหนึ่งของแอลดี คือ การแสดงศักยภาพที่ไม่แน่นอน การศึกษาวิจัยกับเด็กวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ต่าง บ่งบอกว่า บางครั้งการแสดงศักยภาพที่ไม่แน่นอนและทำให้ภาพพจน์ที่แสดงออกมา ของแต่ละคนดูน่าสับสน ทั้งๆ ที่ดูน่าจะสามารถทำหลายๆ สิ่งได้ดี ขณะที่พวกเขายังต้องดิ้นรนพยายามแสดงความสามารถในงานของตนอย่างมาก ความไม่ สอดคล้องกันระหว่างความคาดหวังในความสามารถและผลที่ออกมาสามารถสร้างความผิด หวังและความเสียใจได้ ซึ่งส่งผลไปถึงอารมณ์และความประพฤติที่รบกวนการทำ หน้าที่ของแต่ละคนในแต่ละวัน ทั้งที่โรงเรียน ที่บ้านและในสังคม
ดร. แซลลี่และ ดร. เบนเนท เชย์วิทซ์ แห่งมหาวิทยาลัยเยลได้เปรียบเทียบความไม่สอดคล้องกันว่า เป็น “เกาะที่อ่อนแอในทะเลที่เข้มแข็ง” ซึ่งเป็นสิ่งที่มองเห็นเหตุผล ได้ ตัวอย่างเช่น

  • ผู้ ที่เป็นแอลดีบางคนสามารถจดจำรายละเอียดในการมองเห็นได้แม้จะดูคลุมเครือมาก ก็ตาม นอกจากนั้น ยังสามารถท่องจำบทกวียาวๆ ที่เกี่ยวพันกับบทเพลงได้ด้วย แต่กลับพบความลำบากในการจดจำคำศัพท์เฉพาะใน การสนทนาธรรมดา ไม่สามารถเข้าใจบทบรรยายที่เขียนหรือพูดได้ รวมทั้งการ เขียนบรรยายธรรมดาที่ถูกหลักไวยากรณ์
  • เด็กที่เป็นแอลดีอาจสามารถวาดรูปได้ดี แต่ต้องดิ้นรนอย่างมากกับการเขียนลายมือ
  • เด็กบางคนอาจแสดงให้เห็นถึงความสามารถพิเศษในการวิ่งและกระโดด แต่กลับมีปัญหาในการเลี้ยงลูกบอลหรือสวิงไม้เทนนิสให้เชี่ยวชาญ
  • บางคนอ่านหนังสือได้ช้ามาก แม้จะมีความมานะพยายามอย่างมากก็ตาม แต่กลับเรียนเลขได้ดีเป็นปกติ
  • บ่อย ครั้งทีเดียวที่คนที่เป็นแอลดีเข้าใจหัวข้อดีพอที่จะตอบคำถามและเข้าร่วมการ อภิปรายได้เมื่อมีการนำเสนอข้อมูลครั้งแรก แต่กลับต้องขมขื่นในการทำข้อสอบ หรือในการอภิปรายในหัวข้อเดียวกันในสัปดาห์ต่อมา

ความคับข้องใจที่เพิ่มขึ้น
ความ ไม่แน่นอนเหล่านี้ รวมทั้งการท้าทายในการเรียนรู้กลายเป็นเรื่องที่ทำให้ ครูและพ่อแม่คับข้องใจ และสิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กก็คือ การทำลายความ ภาคภูมิใจในตนเองของเด็กแอลดี ผู้เขียนไม่อยากได้ยินเด็กๆ บอกว่า พวกเขารู้สึกไร้ค่าหรือถูกเรียกว่า งี่เง่า โดยเพื่อนๆ หรือแม้แต่ผู้ใหญ่ทั้งหลาย การถูกทำร้ายความรู้สึกที่พวกเขาพบเจอ เมื่อ พวกเขาไม่ประสบผลสำเร็จตามความคาดหวังของตนเอง ส่งผลเป็นความรู้สึกโดด เดี่ยวและสูญเสียความสนใจในการเรียนรู้ไป การปวดท้อง ปวดหัว และความ รู้สึกกระวนกระวาย ตื่นเต้น เป็นไข้ เวียนหัวเหล่านี้ เป็นอาการของเด็กๆ ที่พบบ่อยๆ เมื่อบังคับควบคุมตนเองไม่ได้ และไม่สามารถวางแผนหรือหากลวิธีที่จะประสบผลสำเร็จในโรงเรียน
ความ ล้มเหลวที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ทั้งที่ได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดีจากคุณครูและคุณพ่อคุณแม่ที่ตั้งใจ ช่วย และทั้งๆ ที่พวกเด็กๆ ก็ทำงานหนัก มีผลให้เกิดสภาพที่เรียกว่า “การรับรู้สภาพที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้” หลัง จากความผิดหวังเกิดขึ้นซ้ำๆ และไม่เห็นทางช่วยเหลือได้ เด็กเหล่านี้ก็จะเก็บกดตนเองในบทบาทจำอดจำ ทน อันมีผลให้พวกเขาตอกย้ำความเชื่อว่า ไม่มีอะไรที่จะทำให้สถานการณ์ดี ขึ้นได้ เด็กเหล่านี้จะพูดให้ได้ยินเสมอว่า ความสำเร็จของเขาเกิดขึ้นด้วย โชคมากกว่าสติปัญญาและการทำงานหนัก และไม่มีสิ่งใดที่พวกเขาจะทำได้เพื่อ ให้ได้เกรดที่ดีขึ้น หรือเท่าเพื่อนๆ และได้รับความเข้าใจหรือเห็นอกเห็นใจจากบรรดาครูและผู้ใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อ เขาและคนอื่นๆในสังคมภายในโรงเรียน
ช่วงวัยรุ่น
เมื่อ เด็กๆ เข้าสู่ช่วงกลางปีการศึกษา พวกเขาจะรู้สึกเปราะบางต่อการท้าทายทางด้านพฤติกรรมของตนเอง จึงทำให้เกิด การต่อสู้ดิ้นรนที่จะเรียนรู้ นักเรียนบางคนจะไม่เข้าชั้นเรียนเพราะคิดว่า ดีกว่าการต้องเผชิญหน้ากับครูและเพื่อนนักเรียน ซึ่งพวกเขารับรู้ว่า ไม่คุ้มที่จะลงทุนเพื่อความสำเร็จและไม่สามารถทำตามที่ใครๆ คาดหวังจากเขาได้
อัตรา การออกจากโรงเรียนของเด็กแอลดีมีสูงกว่าเพื่อนวัยเดียวกันที่ไม่มีความ บกพร่องหลายเท่านัก การพยายามทำให้เด็กแอลดีเรียนได้อย่างประสบผลสำเร็จและ มีคุณภาพสูง พร้อมด้วยสังคมที่ไม่เคร่งเครียดเกินไปกับเพื่อนๆ วันเดียวกัน จะทำให้อัตราการหนีเรียนและการออกจากโรงเรียนลดลงอย่างมาก
สัญญาณเตือน
สำหรับ นักเรียนแอลดีแล้ว ปัญหาเกรดต่ำ การบ่นเรื่องเจ็บป่วยและการขาด โรงเรียน เป็นสัญญาณเตือนที่ชัดเจน และถือเป็นเสียงร้องขอความช่วยเหลือ
โชคร้ายที่นักเรียนเหล่านี้มักพบความยุ่งยากอยู่บ่อยๆ ซึ่งมีผลให้ถูกย้ายชั้น เรียนหรือแม้แต่ถูกไล่ออกจากโรงเรียน ซึ่งเป็นเรื่องที่ครูเปลี่ยนความสนใจ จากการดิ้นรนกับการเรียนของนักเรียนแอลดีไปสู่เหตุผลทางความประพฤติหรือทาง สังคมของนักเรียนแอลดีแทน
นักเรียนแอลดีมักจะบ่นเรื่องที่โรงเรียน โดยการบ่นเหล่านี้บ่งบอกถึงปัญหาทางความประพฤติต่างๆ กำลังเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น

  • การตำหนิครูว่า “ครูไม่ยุติธรรม และตามจิกฉันเรื่อย ฉันจะไม่ทำงานอะไรอีก” หรือ “มันเป็นความผิดของครูที่ทำให้ฉันสอบได้ แย่ เพราะครูไม่เตือนฉันว่า วันนี้เป็นวันสอบ และฉันใช้วิธีเดาตลอดเลย”
  • หา ข้อแก้ตัวกับความประพฤติแย่ๆ เพื่อจะซ่อนความไม่มั่นคงในตนเองที่ต้องดิ้นรนที่จะเรียนรู้ “ที่โรงอาหาร คนแน่น ไม่มีขนมเหลืออีกด้วย ฉันเลยไม่กินแล้ว ไม่เข้าห้องเรียนด้วย ถึงยังไง ฉันก็ไม่ได้เรียนรู้อะไรอยู่ดี”
  • แสดง ทัศนคติว่า “ฉันยอมแพ้” “โรงเรียนน่าเบื่อ บทเรียนไม่นาสนใจ งานที่ให้ทำ ถ้าไม่ง่ายก็ยากเกินไป ยังไงก็ตาม ครูก็ไม่เคยตรวจการบ้าน ยกเว้นแต่ครูจะรู้ว่า ฉันไม่ได้ทำ”
  • ทำตัวเหินห่าง และปฏิเสธที่จะสื่อสารหรือหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า “วันนี้ที่โรงเรียนเป็นไงบ้าง” “ฉันไม่อยากจะพูดถึง”

องค์ประกอบอื่นๆ ที่เสี่ยงของการเป็นแอลดี
มีองค์ประกอบอื่นๆ อีกมากมายที่ต้องพิจารณา เมื่อพยายามจะทำความ เข้าใจว่า ประเด็นแอลดีก่อให้เกิดความประพฤติที่ไม่เหมาะสม
ความคาดหวังของพ่อแม่และการสื่อสารระหว่างบุคคลที่บ้านกับที่โรงเรียนเป็นเรื่อง สำคัญมาก เนื่องจากแรงกดดันภายในครองครัวสามารถก่อให้เกิดผลกระทบที่สำคัญต่อความ ประพฤติที่ โรงเรียน
เรื่อง สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ไม่ว่าเด็กจะเป็นหรืออยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะเป็นภาวะอย่างอื่นด้วย เช่น ภาวะสมาธิสั้นหรือ Hyperactive หรือมีภาวะทางจิตร่วมด้วย ทุกอย่างมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ พฤติกรรมและ ความสนใจของเด็ก พัฒนาการทางอารมณ์และสังคมเป็นเรื่องที่ควรคำนึงถึงเป็น อย่างมาก ผู้ที่เป็นแอลดีแต่ละคนต้องเผชิญกับความคับข้องใจในเรื่องเหล่า นี้สูง ไม่รู้วิธีที่จะขอความช่วยเหลือ เงอะงะในการเข้าร่วมสังคมกับ เพื่อนรุ่นเดียวกัน ไม่เข้าใจนัยทางสังคม ไม่รู้วิธีที่จะเผชิญกับการยั่วเย้า ไม่รู้ว่าเมื่อใดจึงจะเหมาะสมกับ พฤติกรรมเกี้ยวพา และไม่แน่ใจกับวิธีการจัดการกับความกดดันภายในกลุ่มอย่าง เหมาะสม

แปลและเรียบเรียงโดย พรรษชล ศรีอิสราพร

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก