ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

การแสวงหาเพื่อนและการจูงใจผู้คน: การสอนทักษะเรื่องปฏิกิริยาทางสังคม

โดย เดล เอส บราวน์ (1987)

จอห์น เพิ่งจบการศึกษาจากโรงเรียนในสาขาปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ได้เข้าสอบสัมภาษณ์ งานเป็นจำนวนมาก  ทั้งๆที่เขาจบในสาขาที่มีความต้องการสูง  เขาก็ถูกปฏิเสธครั้งแล้วครั้งเล่า

เขาบอกฉันว่า เขาไปรับการสัมภาษณ์สายอยู่เนืองๆ  ดังนั้นเราจึงเริ่มต้นที่จะทำอย่างมียุทธศาสตร์เพื่อให้ไปทันเวลา มีใครบางคนที่จะเตือนเขาว่าเมื่อไรที่เขาต้องออกจากบ้านแล้ว  การรู้เส้นทางไปสัมภาษณ์ล่วงหน้าและการไปถึงแต่เนิ่นๆ

หลังการ สัมภาษณ์ที่สำคัญครั้งหนึ่ง  ฉันโทรศัพท์เพื่อถามเขาว่า เป็นอย่างไรบ้าง  “ไปได้ดีทีเดียว” เขาอุทาน “ผมไปตรงเวลา แต่คุณคงไม่เชื่อว่า เกิดอะไรขึ้น ผู้จัดการมาสาย ผมเลยบอกเขาว่า เฮ้ คุณควรจะมาสัมภาษณ์งานตรงเวลานะ”  

ไม่ จำเป็นต้องกล่าวเลยว่า จอห์นไม่ได้งาน เขาใช้ความพยายามอย่างมากที่จะไปตรงเวลา  ภายใต้สถานการณ์นั้น  บางทีความโกรธของเขาก็ไม่สามารถจะเข้าใจได้  อย่างไรก็ตาม เขาไม่ควรจะแสดงออกมา และเขาคงจะไม่เสียความรู้สึกถ้าฉันจำไว้ว่าจะต้องสอนเขาว่า ผู้สมัครต้องตรงเวลาแต่ผู้สัมภาษณ์มาสายเสมอ

การที่จอห์นถูกปฏิเสธ อย่างสม่ำเสมอในตลาดงานเป็นเส้นคู่ขนานไปกับการนัดหมายและการผูกมิตร  ปราศจากทักษะปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่จำเป็น ชีวิตของจอห์นก็มุ่งสู่ความโดดเดี่ยวและการตกงาน

คุณพ่อคุณแม่ที่มี ลูกบกพร่องทางการเรียนรู้ส่วนมากจะสอดคล้องกับเรื่องของจอห์นและตระหนักถึง ความสำคัญของการสอนทักษะทางสังคม  แม้กระนั้นก็ตาม ในปัจจุบันนี้มันยากมากกว่าแต่ก่อนที่จะทำดังนั้น  ประการแรก เรื่องทางเศรษฐกิจที่มักทำให้พ่อแม่ทั้งสองคนจำเป็นต้องใช้เวลาทำงานยาวนาน ขึ้นเพื่อจะรักษามาตรฐานการดำรงชีวิต  โชคร้าย ที่นั่นหมายถึงเวลาที่น้อยลงสำหรับกิจกรรมในครอบครัว

กฎทางสังคม กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน  ความหยาบคายดูเหมือนไม่อาจจะควบคุมไว้ได้ การนัดหมายเป็นเรื่องสับสนมากจนกระทั่งคนเรามาถึงนาทีที่พรั่นพรึง  เมื่อบริกรนำบิลล์มา และถึงจุดที่ตัดสินใจว่าใครจะจ่าย  ความคลุมเครือในวันนี้เป็นเรื่องน่าสับสนกับทุกๆคนและยากเป็นพิเศษสำหรับ บุคคลที่บกพร่องทางการเรียนรู้

ลองดูสถานการณ์นี้  พ่อแม่สามารถช่วยเหลือได้อย่างไร กลุ่มสมาคมผู้ใหญ่และเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ (ACLD – Adults and Children with Learning and Developmental Disabilities) จะสามารถช่วยเหลือครอบครัวสมาชิกอย่างไร  นี่เป็นความคิดบางอย่างซึ่งอาจจะช่วยเหลือได้แม้ว่ามันสามารถพูดได้ง่ายกว่า ทำก็ตาม

  1. พัฒนาเครือข่ายสังคมครอบครัวให้แข็งแรงและพยายามที่จะให้ลูกของคุณเผชิญกับ ผู้คนมากๆเท่าที่จะทำได้  ยิ่งลูกของคุณเผชิญผู้คนมากเท่าไร  เป็นไปได้มากขึ้นที่เขาจะพบคนที่จะชอบเขาและเต็มใจที่จะยอมรับเขาและปัญหา โดยเฉพาะของเขา
  2. ปฏิบัติต่อลูกของคุณด้วยการเคารพเขาและมั่นใจว่าคนอื่นปฏิบัติต่อเขาดัง นั้นด้วยเหมือนกัน  บ่อยๆที่แต่ละคนอาจพูดกับบุคคลที่พิการด้วยเสียงดังและสูง  ใช้ภาษาท่าทางที่ดูเหนือกว่าและเย่อหยิ่งในศักดิ์ศรี  บุคคลที่บกพร่องทางการเรียนรู้บางคนอาจเลียนแบบรูปแบบการพูดเหล่านี้ ทำให้เกิดผลที่เลวร้าย  ถ้าลูกของคุณได้รับการปฏิบัติด้วยความเคารพ  เขาก็จะปฏิบัติต่อคนอื่นด้วยความเคารพเช่นกัน
  3. สนับสนุนให้สังเกต  การสามารถที่จะสังเกตสิ่งแวดล้อมอย่างถี่ถ้วนเป็นเงื่อนไขจำเป็นอันดับแรก ที่จะรับรู้สัญญาณที่ไม่ใช่คำพูด  บุคคลที่มีปัญหาการรับรู้ทางประสาทสัมผัสจะมีความลำบากต่อการสังเกต  หลายคนพบโลกภายในของพวกเขามีความมั่นคงมากกว่าและชอบที่จะฝันกลางวันแทนที่ จะอยู่กับการระแวดระวังสิ่งแวดล้อม   วิธีการที่จะสนับสนุนให้สังเกตรวมไปถึง
    • เรียกความสนใจของบุคคลที่เป็น LD หรือบกพร่องทางการเรียนรู้ เมื่อเขามีท่าที จะ “ใจลอย” เช่น  “มองไปที่ต้นไม้”   อาจจะถามเขาว่า “ลูกได้ยินเสียงนกร้องไหม”
    • สนับสนุนปฏิกิริยาตอบโต้ต่อสิ่งแวดล้อม เช่น “ลูกชอบดอกไม้นี่ไหม  ดอกไม้ ดอกไหนที่ลูกชอบมากที่สุด”  “ดูคนที่กำลังสร้างบ้านพวกนั้นซิ  พวกเขากำลังทำอะไร  ลูกคิดว่า งานของพวกเขาอันตรายไหม ลูกอยากทำบ้างไหม ลูกคิดว่า เขากำลังผสมอะไรในถังนั่น”
    • ถามลูกของคุณในสิ่งที่เขาเห็น  อาจถามเขาว่า “อะไรคือสิ่งที่ลูกเห็นแล้วสนใจ มากที่สุดในการขึ้นรถเมล์” “ลูกสังเกตเห็นอะไรตอนที่เดินไปโรงเรียนวันนี้” “เขาสร้างศูนย์การค้าเสร็จแล้วหรือยัง”
  4. สนับสนุนการสังเกตพฤติกรรมที่ไม่ใช่คำพูด  ลองแสดงอารมณ์แล้ว ให้เด็กๆทายว่า เป็นความรู้สึกอะไร  ลองให้เขาทายอารมณ์ของสมาชิกในครอบครัว  หรี่เสียงโทรทัศน์ลงแล้วให้เขาทายภาษาท่าทางของตัวละคร
  5. แสดงบทบาทสถานการณ์ทางสังคมที่ยุ่งยาก  ให้ลูกของคุณฝึกฝนการขอร้องครูให้ขยายเวลาการทำงานหรือการคุยกับนายจ้าง เพื่อสัมภาษณ์งาน  คุณอาจเล่นเป็นครูหรือนายจ้างแล้วให้ผลตอบกลับกับเด็ก
  6. สร้างบทสนทนาที่เป็นเรื่องราวหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง  นักเรียนส่วนใหญ่ซึ่งได้ชื่อว่าบกพร่องทางการเรียนรู้ในระบบโรงเรียนจะคุ้น เคยกับบทสนทนาที่เป็นคำถาม คำตอบตามแบบฉบับ เช่น “เป็นอย่างไรบ้างวันนี้”

    “ ดีค่ะ/ครับ ”
    “ เธอทำอะไรบ้าง ”
    “ หนู/ผมทำแฮมเบอเกอร์ค่ะ/ครับ ”
    “ เธอทำอย่างอื่นอีกหรือเปล่า ”
    “ ฝากเงินค่ะ/ครับ ”
    บทสนทนาแบบนี้  ผู้ถามคำถามถามคำถามรุกทางเดียวทั้งหมด  บางครั้ง นี่เป็น เพราะว่าบุคคลที่บกพร่องทางการเรียนรู้ไม่ต้องการคุยหรือมีความบกพร่องทางด้าน ภาษา แต่สำหรับบุคคลที่เป็นแอลดีส่วนใหญ่ มันเป็นแบบของบทสนทนาแบบเดียว เท่านั้นที่เขารู้จักวิธีคุย  คุณพ่อคุณแม่และมืออาชีพทั้งหลายควรจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบ การสนทนาอย่างใช้ความคิดมากขึ้นไปสู่รูปแบบการสนทนาแบบมีหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง โดยการ

    • พูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์และกิจกรรมของคุณ โดยคาดหวังว่าลูกของคุณจะฟังและโต้ตอบ
    • โต้ตอบด้วยคำพูดมากกว่าคำถาม เช่น “แตกต่างกันทีเดียวระหว่างทำแฮมเบอเกอร์ให้คนห้าสิบคนกับให้ครอบครัว”
    • แสดงทัศนะของคุณ  เมื่อคุณและลูกของคุณมีความเห็นขัดแย้งกัน  สนับสนุนให้ลูกคุณปกป้องทัศนะของตนเองอย่างเหมาะสม
  7. สนับสนุนให้ลูกของคุณร่วมกลุ่มสนทนา  เด็ก LD ส่วนใหญ่ถูกครอบครัวละเลยและถูกแย่งบทสนทนาไป  สอนกฎการสนทนาให้กับเขาว่า คุณมองบุคคลเป็นกลุ่มและพวกเขาจะมองหันกลับมาก่อนที่คุณจะพูด  ถ้าลูกของคุณดูเป็นคนเงียบ  ถามความคิดของเขาและช่วยเขาให้เข้าสู่บทสนทนาอย่างเหมาะสม เมื่อเขามีอะไรบางอย่างที่จะพูด  ถ้าเขาพูดอยู่คนเดียว  อธิบายว่า คนทั่วไปมักจะโกรธคนที่พูดมากจนเกินไป เขาอาจไม่ได้สังเกตการชำเลืองที่ซ่อนความโกรธอยู่ หรือความพยายามที่จะเพิกเฉยเขาไป  แล้วสอนกลยุทธ์การรับมือ  เช่น
    • มองหน้าผู้คนที่ท่านพูดด้วย
    • นับเวลาที่ท่านพูดและจำกัดมัน
    • เรียนรู้สัญญาณจากคนอื่นเมื่อพวกเขาต้องการที่จะขัดจังหวะคุณ
  8. เด็กที่บกพร่องทางภาษาต้องการที่จะเรียนรู้ทักษะทางสังคมเป็นการเฉพาะ เช่น
    • รู้จักฟัง
    • ทำท่าทีสงสัยถ้าไม่เข้าใจ ผู้พูดจะได้พูดซ้ำเองโดยอัตโนมัติ
    • รักษาการประสานสายตาในขณะที่พวกเขาพูด และพัฒนาภาษาท่าทางเพื่อว่าเขาสามารถรักษาเวที และไม่ยอมให้ขัดจังหวะ เพื่อพูดให้จบความ
    • จดจำบทที่จะต้องพูดเกี่ยวกับตนเองให้คนอื่นฟังให้ได้ เช่น “ฉันทำงานเป็นแคชเชียร์ที่แมคโดนัลด์  ฉันสนุกกับงานมากและอยู่ที่นี่มาสามเดือนแล้ว  ลูกค้าส่วนใหญ่ดีมาก  แต่ฉันก็กำลังมองหางานอื่นที่จ่ายดีกว่านี้”  บุคคลที่บกพร่องทางการเรียนรู้กล่าวเช่นนี้เพื่อตอบคำถามว่า  “คุณทำอะไร” บทที่จดจำมานี้จะช่วยเริ่มต้นบทสนทนา  คำพูดที่จดจำมาหลายๆอย่างกับเกร็ดประวัติตนเองที่จดจำมาจะช่วยในการคุยกัน อย่างมากทีเดียว
  9. เด็กทุกคนโดยเฉพาะคนที่บกพร่องทางภาษาต้องการงานอดิเรกและความสนใจต่างๆ เพื่อพวกเขาจะได้มีสิ่งที่พูดคุยถึง  ชายหนุ่มที่บกพร่องทางการเรียนรู้คนหนึ่งซึ่งพูดคุยน้อยมากมีความสัมพันธ์ อันดีกับบุคคลอื่นในชมรมแสตมป์  บุคคลที่บกพร่องทางการเรียนรู้อีกมากทีเดียวมีบทบาทเป็นผู้นำในกลุ่มผู้ใช้ คอมพิวเตอร์

พ่อแม่ส่วนมากอ่านคำแนะนำเหล่านี้แล้วเกิดคำถามว่า  พ่อแม่เป็นบุคคลที่ดีที่สุดที่จะดำเนินการฝึกทักษะทางสังคมหรือไม่  โดยเฉพาะเวลาหลังจากที่เด็กกลายเป็นวัยรุ่นไปแล้ว  ในความคิดเห็นของฉัน ความเกี่ยวข้องกับผู้ใหญ่คนอื่นๆ เป็นเรื่องสำคัญ  ทั้งนี้ทั้งนั้น การเข้าสังคมควรเกิดขึ้นในชุมชนกับที่บ้าน

กลุ่มสมาคมผู้ใหญ่และเด็ก ที่บกพร่องทางการเรียนรู้ (ACLD – Adults and Children with Learning and Developmental Disabilities) สามารถสร้างแหล่งทรัพยากรสำหรับเยาวชนและผู้ใหญ่ที่บกพร่องทางการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมให้ดีขึ้น  นี่เป็นรูปแบบที่เป็นไปได้บางอย่าง

  1. แผนกเยาวชนและผู้ใหญ่  ปกตินำโดยเยาวชนและผู้ใหญ่ที่บกพร่องทางการเรียนรู้  กลุ่มเหล่านี้ปฏิบัติตนในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสมาคมและสามารถสนับสนุนการ เข้าร่วมสังคมกัน  ผู้ใหญ่ที่บกพร่องทางการเรียนรู้จะเกี่ยวพันกับความพยายามในการสนับสนุนส่ง เสริมตนเองและบ่อยทีเดียวจะเกี่ยวกับการวางแผนการประชุมระดับมลรัฐ
  2. ชมรมวัยรุ่น  ปกติอยู่ภายใต้การนำของพ่อแม่อาสาสมัครของสมาคม  กลุ่มวัยรุ่นเหล่านี้จะเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมทางสังคม เช่น โบว์ลิ่ง  ปิคนิค  ภาพยนตร์ และปาร์ตี้
  3. ชั้นเรียนทักษะทางสังคม  กลุ่มสมาคม ACLD อาจต้องการที่จะพิจารณาการจ้างมืออาชีพมาสอนทักษะทางสังคมให้กับนักเรียน หรือแม้แต่จะดำเนินการเรื่องกลุ่มที่ปรึกษา
แปลและเรียบเรียงจาก Finding Friends and Persuading People: Teaching the Skills of Social Interaction by Dales S. Brown
โดย พรรษชล ศรีอิสราพร

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก