ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) กับแนวทางทางกฎหมายและการปฏิบัติสำหรับคุณพ่อคุณแม่ ตอนที่ 4

โดย ปีเตอร์ ดับบลิว ดี ไรท์และพาเมล่า แดร์ ไรท์ (2003)
กฎหมายและกฎข้อบังคับต่างๆ
การตัดสินทางกฎหมาย
เพื่อช่วยให้การศึกษาของคุณเกี่ยวกับ IEP ว่า ควรจะมีอะไรรวมอยู่ใน IEP บ้าง  เรารวบรวมจากกรณีที่เป็นจริง  แต่ละกรณีที่เลือกจะแสดงให้เห็นถึงจุดเฉพาะเกี่ยวกับ IEP หลังจากคุณอ่านบทนี้แล้ว คุณจะมีความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับกฎหมายและ IEP (ในสหรัฐอเมริกา) กรณีของฮอลล์กับคณะกรรมการการศึกษาของเมืองแวนซ์ เค้าน์ตี้

ในปี 1983 มี การตัดสินคดีที่ใช้ยึดเป็นแนวทางปฏิบัติที่มลรัฐนอร์ท แคโรไลนา  และต่อมาการตัดสินนี้ได้รับการรับรองโดยศาลอุทธรณ์

ในกรณีของฮอลล์กับคณะกรรมการการศึกษาในเมืองแวนซ์ เค้าน์ตี้ นั้น  ผู้พิพากษาดูปรีได้อธิบายถึงสถานการณ์ที่เจมส์ ฮอลล์ที่ยังเด็กเผชิญว่า


เจมส์ เอ ฮอลล์ ที่สี่ ได้รับความเดือดร้อนจากการบกพร่องทางการเรียนรู้ที่รุนแรงซึ่งรู้จักกันใน นามว่า ดิสเลกเซีย (Dyslexia) การบกพร่องทางระบบประสาทที่แสดงอาการบกพร่องทางการเรียนรู้ที่ผู้อ่าน หนังสือไม่สามารถแปลรหัสหรือเข้าใจสัญญลักษณ์จากหน้ากระดาษที่เขียนไว้  ที่ปรากฎปัจจุบันคือ ยังไม่มีการรักษาโรคดิสเลกเซีย (บกพร่องทางการอ่าน) นี้ นอกจากการต้องเรียนรู้ที่จะจัดการกับความบกพร่องและพัฒนาวิธีการทางเลือก ต่างๆในการไม่สับสนกับสัญญลักษณ์ต่างๆ


เริ่มต้นที่ระดับอนุบาล  เจมส์เข้าเรียนที่โรงเรียนรัฐบาลในเมืองแวนซ์ เค้าน์ตี้  มลรัฐแคโรไลนา เป็นเวลา 6 ปี


จากเริ่มต้น  เจมส์มีปัญหาทางวิชาการ เขตการศึกษาประเมินเขาและพบว่า  แม้เขาจะมีความสามารถทางสติปัญญาดี  ทักษะการอ่านของเขานั้นแย่มาก  มีช่องว่างอย่างมากระหว่างความสามารถของเจมส์และทักษะการอ่านของเขา  เขตการศึกษานำเสนอแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)ให้เจมส์ด้วยเวลา 30 นาทีของการสอนกลุ่มเล็กๆ เป็นจำนวนสองครั้งต่อสัปดาห์


คิดย้อนกลับไปที่การถกเถียงกันเรื่องผลประโยชน์ทางการศึกษา  คุณคิดอย่างไรกับแผนนี้  กับการสอนติวกลุ่มเล็กๆ ให้กับเจมส์เป็นเวลา 30 นาที สองครั้งต่อสัปดาห์  นี่จะเป็นการช่วยให้เจมส์ได้ผลประโยชน์ทางการศึกษาซึ่งเขาจะสามารถเรียนรู้ วิธีการอ่านได้อย่างแท้จริงแน่หรือ


ในการตัดสินพิจารณาของเขา  ผู้พิพากษาดูปรีเขียนว่า  แม้ว่าเจมส์จะได้รับการศึกษาพิเศษนั่นคือการสอนกลุ่มเล็กๆ สองครั้งต่อสัปดาห์ในโรงเรียนรัฐบาลแห่งนี้  ปัญหาทางวิชาการของเขาไม่ได้ดีขึ้น  และเขาพบปัญหามากขึ้น  ในการพิจารณา ผู้พิพากษาได้อภิปรายปัญหาเหล่านี้ว่า

เขาไม่เพียงแต่พัฒนา “อาการกลัวโรงเรียน” โดยการขาดโรงเรียนอยู่บ่อยๆ และไม่เชี่ยวชาญทักษะความสามารถพื้นฐานอีกด้วยเหมือนกัน เช่น  การแยกแยะห้องสุขาสำหรับผู้ชายและผู้หญิง  หรือความสามารถที่จะไปที่ร้านค้าเพื่อซื้ออะไรเล็กๆน้อยๆ ให้คุณแม่


ในเดือนพฤษภาคม  1980 ตอนจบเกรดสี่ของเจมส์  เจมส์ได้รับการทดสอบอีกครั้ง  คะแนนของการทดสอบครั้งนี้เปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 1978 ตามตารางข้างล่างนี้


  12/1/78 5/12/80
คณิตศาสตร์ 4.0 5.7
การจดจำในการอ่าน 2.6 2.6
ความเข้าใจในการอ่าน 2.2 2.7
การสะกด 2.5 3.2
ข้อมูลทั่วไป 5.3 7.0
ผลการทดสอบรวม 3.4 3.9

ดังนั้น ในสามภาคการศึกษาที่ดำเนินมาตามแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลหรือ IEP เจมส์ไม่ได้ดีขึ้นหรือดีขึ้นเพียงเล็กน้อยในการแก้ไขข้อบกพร่องเบื้องต้นและ กระนั้นก็ตามจำเป็นต้องทำให้ดีขึ้นทุกครึ่งปีการศึกษา  อย่างไรก็ตาม ระหว่างช่วงเวลานี้ เขาได้รับการส่งเสริมให้ขึ้นจากเกรดสามไปเกรดสี่  และจากเกรดสี่ไปเกรดห้า


ด้วยผลใหม่ในมือ  IEP ใหม่ได้รับการพัฒนาโดยใช้กระบวนการที่คล้ายคลึงกันตามแบบสามภาคการศึกษาที่ ผ่านมา  ในขั้นตอนนี้ เจมส์จำต้องทำการทดสอบอย่างน้อยที่สุดสามครั้งตลอดหลายปีที่ผ่านมา  ซึ่งผลระบุว่า เขามีสติปัญญาสูงโดยรวมกับมีทักษะทางคณิตศาสตร์ที่ดี  แต่ไม่สามารถจะอ่าน  กับการที่เจมส์ยังไม่สามารถอ่านแต่ผ่านเกรดระดับที่สองจนกระทั่งได้รับการ ส่งเสริมไปถึงเกรดที่ห้าด้วย IEP ที่เหมือนกันซึ่งถูกใช้มาโดยตลอดสามภาคการศึกษาที่ผ่านมา  คุณพ่อคุณแม่รู้สึกสิ้นหวัง และตกลงใจที่จะพาเจมส์เข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนในปีการศึกษา 1980-1981


การใช้การทดสอบที่เป็นจริง (objective tests) วัดผลประโยชน์ทางการศึกษา

หยุด: อ่านซ้ำข้อความย่อหน้าข้างบนอีกครั้ง!

ข้อความเหล่านี้นำมาจากการพิจารณาคดีของเจมส์  ท่านสามารถมองเห็นได้ว่า  ผู้พิพากษาดูปรีใช้ข้อมูลจากการทดสอบที่บรรลุผลทางการศึกษาเพื่อวัดผล ประโยชน์ทางการศึกษา  เขาเปรียบเทียบคะแนนของเจมส์ในวันที่ 1 ธันวาคม 1978  กับคะแนนวันที่ 12 พฤษภาคม 1980  หลังจาก 18 เดือนของการศึกษาพิเศษ  เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเหล่านี้  ผู้พิพากษาลงความเห็นว่า


...ในสามภาคการศึกษาที่ดำเนินมาตามแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลหรือ IEP เจมส์ไม่ได้ดีขึ้นหรือดีขึ้นเพียงเล็กน้อยในการแก้ไขข้อบกพร่องเบื้องต้นและ กระนั้นก็ตามก็จำเป็นต้องทำให้ดีขึ้นทุกครึ่งปีการศึกษา


คะแนนของเจมส์จากการทดสอบการบรรลุผลทางการศึกษาทำให้ผู้พิพากษาดูปรี พิสูจน์ว่า  เจมส์ก้าวหน้าเพียงเล็กน้อยในโปรแกรมของโรงเรียนรัฐบาล  แม้ว่าเขาจะ “ผ่าน” ก็ตาม  ความจริงแล้ว  แม้ว่าเจมส์จะผ่านจากเกรดสามไปเกรดสี่และเกรดห้า  ทักษะการอ่านของเขายังอยู่ในระดับเกรดสอง  การขึ้นชั้นเรียนจากเกรดหนึ่งไปเกรดหนึ่งไม่ได้หมายความว่า เจมส์ ฮอลล์ได้เรียนรู้วิธีอ่าน


ด้วยความสิ้นหวัง  คุณพ่อคุณแม่ของเจมส์ได้ให้เจมส์ลาออกจากโปรแกรมการเรียนที่โรงเรียนรัฐบาล และเข้าเรียนที่ใหม่ที่โรงเรียนโอ๊คแลนด์    โอ๊คแลนด็เป็นโรงเรียนการศึกษาพิเศษเล็กๆในมลรัฐเวอร์จิเนียซึ่งเชี่ยวชาญ เป็นพิเศษในให้การเยียวยาทางการศึกษากับเด็กๆ เช่นเจมส์  เด็กซึ่งมีอาการบกพร่องทางการเรียนรู้  หลังจากที่เจมส์เข้าเรียนที่โรงเรียนโอ๊คแลนด์เป็นเวลาสองสามเดือน  เขาถูกทดสอบอีกครั้ง  การทดสอบครั้งใหม่แสดงว่า  ทักษะการอ่านและการสะกดของเขาดีขึ้นมาอีกระดับชั้นหนึ่ง


ผู้พิพากษาดูปรีให้คุณพ่อคุณแม่ของเจมส์ได้รับค่าชดเชยสำหรับการศึกษาที่ โอ๊คแลนด์  เขาพบว่า IEP ที่พัฒนาโดยแวนซ์ เค้าน์ตี้ไม่ได้เอื้อการศึกษาที่เหมาะสมให้กับเจมส์  การศึกษาซึ่งเด็กคนนี้จะได้ประโยชน์  เขายังตัดสินด้วยอีกว่า เจมส์ได้รับการศึกษาที่เหมาะสมที่โรงเรียนโอ๊คแลนด์  การพิจารณาของผู้พิพากษาดูปรีสนับสนุนความจริงด้านไหน


หลังจากเจมส์ลงทะเบียบเรียนที่โอ๊คแลนด์  โปรแกรมการศึกษาของเขาก็เปลี่ยนไป  การทดสอบทางการศึกษาครั้งใหม่ในสองสามเดือนต่อมาแสดงว่า เจมส์กำลังเรียนรู้วิธีอ่าน  หลังจากเพียงแค่สองสามเดือนเทียบกับเขาก้าวหน้าได้มากกว่าหนึ่งปี  ผู้พิพากษาดูปรีอ้างอิงถึงคะแนนการศึกษาครั้งใหม่ในการพิจารณาของเขาว่า  เจมส์กำลังได้รับการศึกษาที่เหมาะสมที่โรงเรียนโอ๊คแลนด์


ถ้าลูกของคุณได้รับการศึกษาพิเศษ  ลูกของคุณก็ควรจะได้รับการทดสอบผลความสำเร็จทางการศึกษา  คุณได้รับสำเนาแฟ้มของลูกคุณที่สมบูรณ์หรือไม่  คุณได้รับทราบคะแนนทดสอบที่แท้จริงทั้งหมดไหม และคำบรรยายที่เขียนอธิบายเรื่องคะแนน  ถ้าคุณมีคะแนนการทดสอบที่แท้จริง  คุณจะสามารถทำได้อย่างที่ผู้พิพากษาดูปรีทำ


แรกทีเดียว  คุณจำเป็นต้องทำบัญชีการทดสอบของลูกคุณที่แตกต่างกันทั้งหมด (การทดสอบส่วนมากประกอบด้วยการทดสอบย่อยหลายๆ ครั้ง)  ให้ใช้ปากกาทำเครื่องหมายเน้นการทดสอบหรือการทดสอบย่อยทุกครั้งที่กระทำ มากกว่าหนึ่งครั้ง  ตัวอย่างของการทดสอบผลสำเร็จทางการศึกษาโดยทั่วไปคือ Woodcock-Johnson, Kaufman (KTEA), การทดสอบผลสำเร็จส่วนบุคคลของ Wechler (Wechler Individual Achievement Test - WIAT) และการทดสอบผลสำเร็จพิสัยกว้าง (Wide Range Achievement Test - WRAT) อย่างไรก็ตาม Wechler Intelligence Scale for Children หรือ WISC-III เป็นการทดสอบทางสติปัญญาที่ใช้กันทั่วไปมากที่สุด


ขั้นต่อไป ทำบัญชีการทดสอบที่ทำซ้ำ  การทดสอบหรือการทดสอบย่อยทุกครั้งที่ทำมากกว่าหนึ่งครั้ง  คุณควรจะทำเป็นตารางผลการทดสอบย่อยที่ยังเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน เช่นการทดสอบทักษะการอ่านหรือ ทักษะความเข้าใจในการอ่าน  ทักษะการคำนวณคณิตศาสตร์และอื่นๆ


คุณจำต้องเข้าใจว่า การทดสอบย่อยหรือคะแนนที่ประกอบกันขึ้นมาไม่จำเป็นต้องวัดสิ่งที่ดูเหมือนจะ วัด  ตัวอย่างเช่น  คะแนนการอ่านในการทดสอบผลสำเร็จพิสัยกว้าง หรือ Wide Range Achievement Test จะวัดความสามารถของเด็กคนนี้ในการจดจำหรือออกเสียงคำแต่ละคำจากเนื้อหาได้ อย่างแท้จริง  หลายคนกล่าวถึงว่า  มันเป็นการทดสอบ “การจดจำคำ”


ในการทดสอบผลสำเร็จแบบ Woodcock-Johnson การวัดการอ่านอาจจะวัดความสามารถของเด็กที่แท้จริงที่จะแยกแยะตัวอักษรและคำ เฉพาะเติมลงในช่องว่างที่คำอาจจะหายไปจากเนื้อหานั้น  คะแนนจะบอกว่า เป็นความเข้าใจในการอ่านเนื้อหานั้น  อาจวัดความสามารถของเด็กได้อย่างแท้จริงในการ “เดา” อย่างใช้สติปัญญา ว่าเนื้อหาในย่อหน้านั้นเกี่ยวกับอะไร  โดยการระลึกถึงคำบางคำในเนื้อหานั้นได้  เด็กคนนี้อาจจะไม่สามารถอ่านคำส่วนใหญ่เหล่านี้ได้


ในการทดสอบการอ่านออกเสียงของ Gray (Gray Oral Reading Test) เด็กอ่านแต่ละย่อหน้าออกมาเสียงดัง  ผู้ประเมินจะประเมินอัตราวัด  ความถูกต้องและความเข้าใจ  นี่เป็นการช่วยประเมินที่ถี่ถ้วนมากขึ้นและมีความหมายของความสามารถในการ อ่านที่แท้จริงของเด็ก  เป็นเรื่องสำคัญที่ คุณควรเข้าใจว่า  การทดสอบนั้นเกี่ยวกับอะไรและการทดสอบนั้นวัดอะไรอย่างแท้จริง


ขั้นต่อไป  คุณจำเป็นต้องทำชาร์ตแสดงความก้าวหน้า  โดยใช้คะแนนทดสอบย่อยที่ทำซ้ำๆ กัน  หลังจากที่คุณทำชาร์ตแสดงคะแนนการศึกษาของลูกคุณแล้ว  คุณจะมีความคิดที่ชัดเจนขึ้นมากว่า  ลูกของคุณได้ประโยชน์จากโปรแกรมการศึกษาพิเศษหรือไม่  หรือ IEP ได้ตระเตรียมให้การศึกษาที่เหมาะสมหรือไม่


(โปรดติดตามตอนต่อไป)




แปลและเรียบเรียงจาก Your Child’s IEP: Practical and Legal Guidance for Parents by Peter W.D. Wright and Pamela Darr Wright (2003) จาก http://www.ldonline.org
โดย พรรษชล ศรีอิสราพร

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก