ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

คุณจะทำอย่างไร ถ้าสงสัยว่าลูกของคุณมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ตอนที่ 1 (09/03/2011)

โดย แลร์รี่ บี ซิลเวอร์ M.D. และ รูธ บี สโพแดค Ph.D.(2007)

ลูกชายหรือลูกสาวของคุณกำลังดิ้นรนอยู่ในโรงเรียน เขาไม่เก่งในทักษะทางวิชาการอย่างที่คาดหวัง  เธอมีความยุ่งยากในการทำงานให้เสร็จอย่างถี่ถ้วนและทันเวลา  บางทีลูกของคุณไม่ใช้ความพยายามในโรงเรียนอีกต่อไปแล้ว  บางทีปฏิเสธที่จะทำการบ้านหรือซ่อนการบ้านไว้ หรือบางทีเขาทำการรบกวนชั้นเรียนหรือตกไปอยู่ในสถานการณ์ลำบากนอกชั้นเรียน  นักเรียนระดับไฮสคูลของคุณอาจจะโดดเรียน  คุณสงสัยว่า เป็นปัญหาแอลดี (LD ย่อมาจาก Learning Disability) หรืออาการบกพร่องทางการเรียนรู้หรือไม่ที่ปรากฏออกมาเป็นความคับข้องใจและ ความล้มเหลว  คุณจะทราบได้อย่างไรว่าคุณถูก
ประการแรก  สิ่งที่คุณไม่ควรทำคือ  อย่าคิดง่ายๆ โดยการตำหนิติเตียนเด็กคนนั้นที่เป็นเหยื่อหรือยอมให้คุณครูทำอย่างนั้น  “เขาสามารถทำได้ดีกว่านี้ถ้าเขาพยายาม”  “เธอเพียงแต่ไม่ขยันมากพอเท่านั้น”  “ถ้าเขาใส่ใจมากกว่านี้ เขาจะพบความลำบากน้อยกว่านี้” เด็กๆ ต้องการจะเอาใจคุณพ่อคุณแม่และคุณครูของเขา  พวกเขาต้องการจะเรียนรู้และประสบความสำเร็จ  ก่อนที่คุณจะตำหนิเขาจากปัญหาที่เขาเผชิญหรือยอมให้คุณครูทำอย่างนั้น  ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า  อาจจะมีเหตุผลให้เขาไม่ประสบความสำเร็จหรือไม่
ขณะนี้มีสองรูปแบบที่ใช้กันในระบบโรงเรียนรัฐบาลเพื่อทำให้ชัดแจ้งว่านัก เรียนอาจจะเป็น แอลดี (LD)  ตั้งแต่การรับรู้เรื่องความคิดรวบยอดของการบกพร่องทางการเรียนรู้ในช่วง ทศวรรษ 1970  การวินิจฉัยเบื้องต้นเป็นไปในรูปแบบการทดสอบที่เป็นทางการ  ถ้าจำกัดกรอบเบื้องต้นในประเด็นการศึกษา การประเมินจะเรียกว่า การประเมินทาง  “สุขภาพจิตศึกษา (psycho-educational)”  ถ้าจำกัดกรอบในประเด็นการศึกษากับงานทางสมองที่มีพิสัยกว้าง  การประเมินจะถูกเรียกว่า การประเมินทาง “จิตวิทยากับสมอง (neuro-psychological) (การศึกษาโครงสร้างและหน้าที่ของสมองที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางจิตวิทยา และพฤติกรรมที่เฉพาะเจาะจง-wikipedia)”  การประเมินทั้งสองจะช่วยให้ทราบชัดแจ้งว่า บุคคลนั้นเป็นแอลดีหรือไม่
การทบทวนครั้งล่าสุดของพระราชบัญญัติการศึกษาเพื่อคนพิการ (Individuals with Disabilities Education Act -IDEA) กฎหมายของสหรัฐอเมริกาที่ควบคุมเรื่องการศึกษาพิเศษได้เสนออีกวิธีการหนึ่ง สำหรับการประเมินที่เรียกว่า “การตอบสนองต่อการช่วยเหลือ (Response to Intervention-RTI)”  ปัจจุบันมันถูกออกแบบเบื้องต้นสำหรับระดับเด็กประถมศึกษา  การตอบสนองต่อการช่วยเหลือมี 3 ขั้นตอนด้วยกัน  ถ้านักเรียนกำลังดิ้นรนในทางวิชาการ  ขั้นตอนแรกสำหรับคุณครูประจำชั้นเรียนที่จะลองวิธีการเพิ่มเติมในการช่วยนัก เรียนให้เชี่ยวชาญในวัสดุการเรียนที่คาดหวัง  ถ้านักเรียนยังไม่มีความก้าวหน้า  ระดับการช่วยเหลือระดับที่สองจะถูกใช้  ครูที่สอนเสริม (support teacher) ที่ได้รับการฝึกฝนพิเศษในการระบุปัญหาการเรียนรู้จะช่วยคุณครูประจำชั้น เรียนและสอนเป็นการส่วนตัวกับนักเรียน  ถ้านักเรียนยังไม่ก้าวหน้า โปรแกรมที่สามหรือ IEP-Individualized Educational Program หรือแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจะถูกเขียนขึ้นและนักเรียนจะต้องได้รับการศึกษา พิเศษ  ในทางความคิดการประเมินเช่นการทดสอบทางสุขภาพจิต (psycho-educational) จะถูกดำเนินการเพื่อชี้ชัดถึงเหตุผลในเรื่องความยุ่งยากก่อนตัดสินว่า เด็กจะต้องการโปรแกรมใดหรือบริการช่วยเหลืออื่นใด  ตัวอย่างเช่น  ความยุ่งยากที่มีผลมาจากแอลดีเป็นการเฉพาะ  ระดับสติปัญญา  ประเด็นสองภาษา  อาการที่มีความล่าช้าในพัฒนาการด้านการสื่อสารและทักษะทางสังคม (Pervasive Developmental Disorder)  ปัญหาทางอารมณ์หรือสาเหตุอื่นๆ ที่อาจต้องการการช่วยเหลือที่แตกต่างไป  ขึ้นอยู่กับผลการทดสอบ  แผนการศึกษาเฉพาะบุคคลหรือ IEP จะถูกตระเตรียมและเด็กคนนั้นจะได้รับบริการการศึกษาพิเศษที่จำเป็น

แล้วคุณจะทำอย่างไร
ถ้าคุณกังวลเกี่ยวกับผลการปฏิบัติของลูกของคุณใน โรงเรียน  ให้พบกับคุณครูใหญ่ (ถ้าลูกชายหรือลูกสาวของคุณเรียนอยู่ในโรงเรียนราษฎร์ ให้พูดคุยปัญหากับคุณครูใหญ่ของโรงเรียนนั้น  หรือคุณครูใหญ่ของโรงเรียนรัฐบาลที่ลูกของคุณเรียนอยู่  ในฐานะผู้จ่ายภาษี  คุณสมควรจะได้รับความช่วยเหลือจากโรงเรียนรัฐบาล) อธิบายความกังวลของคุณ  คุณครูใหญ่โรงเรียนรัฐบาลควรจะเรียกประชุมกับคุณครูประจำชั้นเรียนและครูการ ศึกษาพิเศษมืออาชีพที่เกี่ยวข้องที่จะพูดคุยเรื่องนักเรียนคนนั้นๆ  ถ้ามีความตกลงทั่วไปว่า อาจจะเป็นปัญหา  อาจจะเริ่มต้นด้วยการร้องขอการทดสอบสุขภาพจิตศึกษา (psycho-educational)  หรือรูปแบบการตอบสนองต่อการช่วยเหลือ หรือ Response to Intervention-RTI จะถูกนำมาใช้
ถ้าคุณครูใหญ่ ครูประจำชั้นหรือครูการศึกษาพิเศษไม่เห็นด้วยกับความกังวลของคุณ  ให้ร้องขอข้อมูลจากการการอุทธรณ์การตัดสินใจครั้งนี้  หรือมิฉะนั้น คุณสามารถจะทำการศึกษาโดยส่วนตัว  ผลของการประเมินของเอกชนอาจสนับสนุนความกังวลของคุณ  การศึกษาครั้งนี้ควรจะให้ผลกับคุณครูใหญ่และร้องขอการประชุมอีกครั้งหนึ่ง
อะไรคือการประเมินสุขภาพจิตศึกษา (Psycho-Educational Evaluation)
การ ศึกษาเรื่องสุขภาพจิตศึกษาประกอบไปด้วยการทดสอบที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับความ สามารถโดยทั่วไปของลูกของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสไตล์การเรียนรู้  ความสามารถในกระบวนการรับรู้ข้อมูลและทักษะทางวิชาการ  ส่วนสำคัญของการประเมินนี้คือ การทดสอบ IQ ซึ่งจะช่วยให้รู้ชัดแจ้งในจุดแข็งและจุดอ่อนของนักเรียน  มันให้ข้อมูลถึงความสามารถของนักเรียนที่จะรับรู้กระบวนการกับข้อมูลทางภาษา และทางการเห็นที่ปรากฎร่วมกับศักยภาพทางสติปัญญาโดยรวมของเขาหรือเธอ  จะเป็นข้อมูลเพิ่มเติมที่ได้รับการพินิจพิจารณาเกี่ยวโยงไปถึงความสามารถใน การเรียงลำดับ  ประเด็นความจำสั้น-ยาว  ความสามารถในการใช้ภาษา  และความเร็วของกระบวนการรับรู้  การทดสอบ IQ ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคือ WISC หรือ Wechsler Intelligence Scale for Children  ยังมีเวอร์ชั่นสำหรับก่อนวัยเรียนชื่อว่า  “Wechsler Preschool and Primary Scale of Intellgence  และสำหรับนักเรียนอายุเกิน 16  คือ “Wechsler  Adult  Intelligence Scale  เพิ่มเติมจากการทดสอบ IQ นี้  ผู้ประเมินอาจจะทำการทดสอบเฉพาะเจาะจงที่จะประเมินความสามารถทางการรับรู้ หรือสติปัญญาของนักเรียน  เป็นการทดสอบความจำและทักษะการเรียบเรียงตามแบบฉบับ
ส่วนอื่นๆ ของการประเมินสุขภาพจิตศึกษาจะประเมินทักษะทางวิชาการของนักเรียนเช่น การอ่าน  ภาษาที่เขียนและคณิตศาสตร์ มีการทดสอบแบบมาตรฐานหลายอย่างที่สามารถนำมาใช้เพื่อให้ได้ข้อมูล  การประเมินเหล่านี้รวมไปถึงงานย่อยๆ และสำหรับนักเรียนที่มีอายุหน่อย เป็นกิจกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้นประกอบกับความต้องการด้านเกรด (เช่น การอ่านหลายย่อหน้า  การเขียนเรียงความ) การประเมินอาจจะรวมการวัดอย่างไม่เป็นทางการแต่ควรจะเป็นการทดสอบแบบมาตรฐาน ด้วยเหมือนกันซึ่งให้คะแนนที่เป็นจริง (objective Scores) ซึ่งสามารถนำมาเปรียบเทียบกับความคาดหวังในระดับคะแนนกับศักยภาพทางสติปัญญา ของนักเรียน  การทดสอบควรจะให้มีการเปรียบเทียบของผลการปฏิบัติของนักเรียนภายใต้เวลาอัน จำกัดและเงื่อนไขไม่จำกัดเวลา
เพิ่มเติมจากข้อมูลในการทดสอบ  การประเมินรวมทั้งการสัมภาษณ์ทางการแพทย์กับแบบสอบถามและสเกลการจัดอันดับ ที่สมบูรณ์จากคุณพ่อคุณแม่ คุณครูและจากนักเรียนเอง  ข้อมูลเหล่านี้ช่วยแยกแยะประเด็นทางอารมณ์หรือการใส่ใจอาจจะมีผลจากความ บกพร่องในการเรียนรู้หรือไม่

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

แปลและเรียบเรียงจาก What Do You Do If You Suspect That Your Child Has A Learning Disability ? โดย Larry B. Silver, M.D. and Ruth B. Spodak, Ph.D. (2007)
โดย พรรษชล ศรีอิสราพร

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก