ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

แนวทางในการทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ตอนที่ 3 (09/02/2011)

โดย มาร์ซี แมคกาฮี-โคแวค (2002)

การเตรียมพร้อมสำหรับการประชุม IEP

  1. ให้พูดคุยกับครูการศึกษาพิเศษหรือครูการศึกษาประจำเกี่ยวกับการกำหนด เวลา วันที่ และสถานที่สำหรับการประชุม IEP  ทำบัญชีรายชื่อว่าใครควรจะอยู่ร่วมการประชุมบ้าง
  2. ทันทีที่กำหนดการประชุมแล้ว  ให้ส่งคำเชิญถึงทุกๆคนในบัญชีรายชื่อดังตัวอย่างต่อไปนี้

บัตรเชิญ
กรุณามาร่วมการประชุม IEP และร่วมแสดงความคิดเห็น

วัน:   พุธที่ 23 ตุลาคม
เวลา:  14.30 น.
สถานที่:  ห้องประชุม 4

ลงชื่อของคุณ

ป.ล. ถ้าท่านไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมได้  กรุณาแจ้งเวลาที่ท่านสะดวกจะ
พูดคุยเกี่ยวกับ IEP ได้  ขอขอบพระคุณอย่างสูง

3.   การเตรียมพร้อมสำหรับการประชุม IEP ของคุณนั้น เป็นความคิดที่ดีที่จะคิดไว้ก่อนว่าท่านต้องการจะพูดอะไร  ที่การประชุม  คุณต้องสามารถที่จะ

  • บรรยายความบกพร่องของคุณ
  • คุยเกี่ยวกับจุดแข็งและความต้องการของคุณ
  • บรรยายถึงสไตล์การเรียนรู้ของคุณ (คุณเรียนรู้วิธีไหนดีที่สุดและอะไรที่เหมาะกับการเรียนรู้ของคุณ)
  • บอกสมาชิกในที่ประชุมว่าการชดเชยในห้องเรียนแบบใดที่คุณต้องการและทำไม คุณถึงต้องการมัน  อธิบายว่า การรักษาทางการแพทย์อะไรที่คุณทำอยู่หรือคุณมีความต้องการทางการแพทย์อย่าง ไร (ถ้าคุณอยากจะแบ่งปันข้อมูล)
  • ทำบัญชีเป้าหมายและวัตถุประสงค์/จุดมาตรฐานทางการศึกษาของคุณ  คุยเกี่ยวกับแผนการเปลี่ยนผ่านสำหรับอนาคต

4.    เป็นความคิดที่ดีด้วยเหมือนกันที่จะฝึกฝนสิ่งที่ท่านต้องการจะพูด  ฝึกกับคุณพ่อคุณแม่  เพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือกับครู  (คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องรู้เป้าหมายของคุณก่อนการประชุม เพื่อให้ท่านช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของคุณ)
5.    หนึ่งสัปดาห์ก่อนการประชุม IEP คุณอาจประสงค์จะส่งคำเตือนไปยังบุคคลที่จะมาเข้าร่วม  คุณพ่อคุณแม่ของคุณ  ครู  ครูใหญ่ และคนอื่นๆ ที่ได้รับการเชิญ  อาจเป็นบันทึกง่ายๆ ดังต่อไปนี้

เพื่อเตือนความจำของคุณ...
ผมรอคุณที่การประชุม IEP

วันพุธที่ 23 ตุลาคม
14.30 น. ห้องประชุม 4

ลงชื่อของคุณ

การมีส่วนร่วมในการประชุม IEP
1.  ทำให้แน่ใจว่าทุกๆ คนรู้จักกันและกัน  คุณอาจต้องการที่จะแนะนำพวกเขาหรือให้พวกเขาแนะนำตนเอง
2.  พูดเสียงดังและรักษาการประสานตากับคนอื่นไว้
3.  พูดเกี่ยวกับสิ่งที่คุณฝึกฝนมา  รวมทั้งเรื่อง

  • การบกพร่องของคุณ
  • จุดแข็งและความต้องการของท่านในแต่ละวิชา และสไตล์การเรียนรู้ของคุณ
  • การชดเชยในห้องเรียนแบบใดที่คุณต้องการและทำไมคุณถึงต้องการมัน
  • เป้าหมายและวัตถุประสงค์สำหรับปีต่อไป
  • แผนการเปลี่ยนผ่านสำหรับอนาคต

4.  ขอความเห็นและคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาใน IEP  ให้แน่ใจว่าทุกๆ คนมีโอกาสที่จะพูดและแบ่งปันความคิดเห็น
5.  ฟังความคิดและคำแนะนำจากสมาชิกในทีม IEP คนอื่นๆ  ถ้าคุณไม่เข้าใจอะไร ให้ขอคำอธิบาย
6.  แบ่งปันความรู้สึกเกี่ยวกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่คนอื่นๆ แนะนำ  พยายามให้เห็นพ้องต้องกันเกี่ยวกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์อะไรที่สำคัญที่ จะจดลงบน IEP (ถ้าคุณไม่สามารถทำเสร็จในเวลาที่มี  ให้จัดวันเวลานัดพบกันอีกครั้ง)
7.  เขียนทุกสิ่งที่ได้ตกลงกันลงไป หรือมีคนช่วยเขียนให้  ดังนั้น IEP ที่สำเร็จสุดท้ายจะถูกเขียนขึ้น
8.  เมื่อการประชุมสิ้นสุด  ให้ขอบคุณทุกคนที่เข้าร่วม

หลังการประชุม IEP

  1. ขอสำเนาเอกสาร IEP ฉบับสำเร็จสุดท้าย  อ่านทบทวนเพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจสิ่งที่เขียนไว้
  2. เก็บสำเนา IEP ไว้เพื่อว่าคุณสามารถดูทบทวนเมื่อใดก็ตามที่คุณต้องการ
  3. ทำงานให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์/จุดมาตรฐานใน IEP
  4. ทบทวน IEP ของคุณโดยตลอดปี  ถ้ามีบางสิ่งบางอย่างที่จำเป็นต้องเปลี่ยน  ตัวอย่างเช่น  คุณบรรลุเป้าหมายในชั้นเรียนแล้วต้องการเขียนเป้าหมายใหม่  หรือคุณต้องการความช่วยเหลือมากขึ้นกับวิชาใดวิชาหนึ่ง  ให้ร้องขอจากครูการศึกษาพิเศษ  ครูการศึกษาประจำ  หรือคุณพ่อคุณแม่ให้กำหนดการประชุม IEP ครั้งใหม่อีกครั้ง

(จบ)

แปลและเรียบเรียงจาก A Student’s Guide to the IEP ของ Marcy McGahee-Kovac
โดย พรรษชล ศรีอิสราพร

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก