ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

แนวทางในการทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ตอนที่ 1 (27/01/2011)

โดย มาร์ซี แมคกาฮี-โคแวค (2002)

บทความนี้ประกอบด้วย

  • บทนำ
  • IEP หรือแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลคืออะไร
  • ฉันจะพัฒนาการทำ IEP ของตนเองได้อย่างไร
  • ก่อนการประชุม
  • การเขียน IEP
  • เตรียมพร้อมสำหรับการประชุม
  • การมีส่วนร่วม
  • หลังการประชุม

หมายเหตุบรรณาธิการ: บทความนี้ถูกตีพิมพ์ก่อนการอนุมัติพระราชบัญญัติการศึกษาเพื่อคนพิการในปี ค.ศ. 2004 ในสหรัฐอเมริกา  กฎหมายส่วนใหญ่จะคงเหมือนเดิม มีการเปลี่ยนแปลงบ้างในเรื่องของภาษาและกระบวนการ  บทความนี้ยังคงมีข้อมูลที่มีคุณค่าและยังคงใช้ได้กับกฎหมายปัจจุบัน

บทนำ
ขอต้อนรับสู่ IEP ของคุณ!!   แนวทางนี้จะบอกคุณว่า

  • IEP คืออะไร
  • ทำไมคุณจำเป็นต้องเป็นส่วนหนึ่งในทีม IEP
  • จะช่วยเหลือในการเขียน IEP ของคุณอย่างไร
  • และอื่นๆ อีกมากมาย

การเป็นส่วนหนึ่งในทีมเขียน IEP เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นและเรื่องสำคัญที่จะต้องทำ   มันเป็นเรื่องการวางแผนการศึกษาของคุณ

IEP คืออะไร
IEP ย่อมาจาก แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program) IEP เป็นเอกสารที่เขียนขึ้นเพื่ออธิบายแผนการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความ บกพร่อง  เหนือสิ่งอื่นใด  IEP ของคุณจะพูดถึงความบกพร่องของคุณ  ทักษะอะไรที่คุณจำเป็นต้องใช้ในการเรียนรู้  คุณจะทำอะไรในการเรียนปีนี้  บริการช่วยเหลืออะไรบ้างที่โรงเรียนจะช่วยคุณ  และการเรียนรู้ของคุณจะเกิดขึ้นที่ใดบ้าง
ทำไมนักเรียนที่มีความบกพร่องจึงต้องการ IEP
ประการแรกคือ มันเป็นกฎหมาย  พระราชบัญญัติการศึกษาเพื่อคนพิการต้องการให้นักเรียนแต่ละคนที่มีความ บกพร่องซึ่งได้รับบริการการศึกษาพิเศษได้มี IEP ซึ่งเป็นแผนการศึกษาเฉพาะสำหรับเขาและเธอเท่านั้น

ประการที่สอง IEP ช่วยโรงเรียนให้บรรลุความต้องการพิเศษ  มันช่วยคุณวางแผนเป้าหมายทางการศึกษาสำหรับตัวคุณเอง  นั่นคือเหตุผลว่าทำไมมันถูกเรียกว่า IEP เพราะว่ามันเป็นแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล

อะไรคือจุดประสงค์ของ IEP
จุดประสงค์ของ IEP คือการทำให้แน่ใจว่าทุกๆ คน คุณ ครอบครัวของคุณ  ทีมงานที่โรงเรียนของคุณรู้ว่า  โปรแกรมการศึกษาของคุณจะเป็นอย่างไรในปีนี้

IEP พัฒนาขึ้นที่ไหน
IEP ถูกพัฒนาขึ้นระหว่างการประชุม IEP  บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของคุณจะพบปะกันเพื่อถกเถียงและพัฒนาเป้าหมาย IEP ของคุณสำหรับปีต่อไป

ใครมาที่การประชุม IEP บ้าง
มีบุคคลที่แน่นอนที่จะช่วยคุณเขียน IEP  เราลงบัญชีไว้ข้างล่างนี้  บางคนต้องมาประชุมตามกฎหมาย  คนอื่นๆ เช่นคุณหรือคุณพ่อคุณแม่ของคุณ ต้องถูกเชิญให้เข้าร่วมในการประชุม  มันเป็นทางเลือกที่จะเข้าร่วมหรือไม่ก็ได้  บุคคลทั้งหมดนี้จะทำงานด้วยกันเป็นทีมเพื่อเขียน IEP ของคุณ  ใครคือคนที่คุณจะพบในการประชุมบ้าง

  • ตัวคุณ
  • คุณพ่อคุณแม่ของคุณ
  • อย่างน้อยที่สุดต้องมีครูการศึกษาที่คุณเข้าเรียนโดยปกติ ถ้าคุณเข้าเรียนในสถานศึกษาตามปกติ
  • บุคคลซึ่งสามารถพูดคุยเกี่ยวกับผลการประเมินของคุณ  และผลนั้นหมายความว่าอย่างไร  โดยเฉพาะเรื่องการสอนประเภทใดที่คุณต้องการ
  • บุคคลจากระบบโรงเรียนซึ่งรู้เกี่ยวกับบริการการศึกษาพิเศษและการให้การ ศึกษานักเรียนที่มีความบกพร่อง  และบุคคลที่สามารถพูดคุยเรื่องแหล่งทรัพยากรที่โรงเรียนมี  บุคคลนี้อาจจะเป็นคุณครูใหญ่  ที่ปรึกษาของโรงเรียนหรือใครบางคนจากระบบโรงเรียน
  • บุคคลจากหน่วยงานบริการช่วงเปลี่ยนผ่าน (เช่น การฟื้นฟูด้านอาชีพ) ถ้าคุณกำลังที่จะพูดคุยเรื่องสิ่งที่คุณวางแผนจะทำหลังจากจบมัธยมศึกษาตอน ปลายแล้ว  และสิ่งที่คุณจำเป็นต้องทำเดี๋ยวนี้เพื่อเป็นการเตรียมพร้อม
  • บุคคลซึ่งรู้จักจุดแข็งและความต้องการของคุณเป็นอย่างดีและสามารถช่วยวางแผนโปรแกรมการศึกษาของคุณได้

การประชุม IEP ควรจัดบ่อยแค่ไหน

ตามกฎหมายต้องการให้มีการทบทวน IEP เมื่อจำเป็น  อาจจะทบทวนอย่างน้อยปีละครั้ง  ซึ่งหมายความว่า อย่างน้อยที่สุด มีการเข้าร่วมประชุม IEP หนึ่งครั้งในแต่ละปี  อย่างไรก็ตาม คุณ คุณพ่อคุณแม่ของคุณหรือโรงเรียนสามารถร้องขอให้มีการประชุม IEP เพิ่มขึ้น  ถ้าใครคนใดคนหนึ่งคิดว่า มันจำเป็นที่จะดู IEP อีกครั้งหนึ่ง

การประชุม IEP กินเวลานานเท่าไร
ประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง

ทำไมฉันควรจะมีส่วนร่วมในการประชุม IEP
มันเป็นโปรแกรมการศึกษาของคุณที่ทุกๆ คนจะถกเถียงกันในการประชุม  ความคิดของคุณเป็นส่วนสำคัญในการถกเถียง

ฉันควรจะทำอะไรถ้าฉันต้องการจะช่วยพัฒนา IEP ของตนเอง
มี 5 ขั้นตอนพื้นฐานดังนี้

  1. คุยกับคุณพ่อคุณแม่และคุณครูของคุณ
  2. ทบทวนดู IEP ของปีที่แล้ว
  3. คิดเกี่ยวกับจุดแข็งและความต้องการในโรงเรียน
  4. เขียนเป้าหมายของคุณสำหรับปีการศึกษานี้
  5. ฝึกฝนสิ่งที่ต้องการจะพูดในการประชุมก่อน

(ติดตามตอนต่อไป)

แปลและเรียบเรียงจาก A Student’s Guide to the IEP ของ Marcy McGahee-Kovac
โดย พรรษชล ศรีอิสราพร

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181