ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

การสอนการจัดการเรื่องเวลาให้กับนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ 24/12/2010

โดย แพทริเซีย ดับบลิว นิวฮอลล์ (2008)

การจัดการเรื่องเวลาเป็นเรื่องท้าทายสำหรับทุกคน  นักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านภาษา  สมาธิสั้น และไฮเปอร์แอ็คทีฟ  บกพร่องทางการอ่าน (dyslexia) และที่มีความบกพร่องทางด้านอื่นๆ มักพบว่ายิ่งเป็นเรื่องท้าทายมากยิ่งขึ้นกว่านักเรียนคนอื่นๆ

ความคิดรวบยอดเรื่องเวลาสามารถเป็นเรื่องน่าท้าทายโดยเฉพาะ  ตัวอย่างเช่น  ความสามารถที่จะบอกเวลาจากนาฬิกาแตกต่างจากความเข้าใจเรื่องความคิดรวบยอด ของเวลา  นักเรียนจำนวนมากสามารถอ่านเวลาจากนาฬิกาได้โดยสมบูรณ์ดี  แต่เมื่อถูกถามให้ประมาณว่า การบ้านจะใช้เวลานานเท่าไร  พวกเขาแทบจะไม่สามารถให้คำตอบที่ถี่ถ้วนได้  ขณะที่บางคนประมาณเวลาที่ต้องการน้อยกว่ามากและทำให้พวกเขารู้สึกผิดหวังและ คับข้องใจ  อีกกลุ่มหนึ่งประเมินเวลาไว้มากมายและรู้สึกเหลืออดเหลือทนก่อนที่พวกเขาจะ เริ่มต้นเสียอีก  การพัฒนาความรู้สึกถึงความเร็วช้าในการทำงานของแต่ละคนเป็นเรื่องจำเป็น สำหรับนักเรียนที่จะเรียนรู้การจัดการเรื่องเวลา

นักเรียนซึ่งมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ต้องการองค์ประกอบอย่างมาก การทำการสอนให้ชัดแจ้งและขยายโอกาสที่จะฝึกฝนกลยุทธ์ต่างๆ จนกระทั่งพวกเขาพัฒนาทักษะที่ไม่ต้องพึ่งใคร  สิ่งต่างๆ เหล่านี้ต้องการเวลาโดยเฉพาะสำหรับนักเรียนและพ่อแม่และครูที่มีธุระยุ่ง เหยิง  ในวัฒนธรรมที่ก้าวไปอย่างรวดเร็วนี้  ทักษะการจัดการเรื่องเวลาอย่างมีประสิทธิภาพเป็นเรื่องจำเป็น  โชคดีอย่างยิ่ง ที่กลยุทธ์พื้นฐานบางอย่าง  - ถ้าฝึกโดยสม่ำเสมอแล้ว – สามารถช่วยเหลือนักเรียนให้จัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ  การจัดการเรื่องเวลาเป็นทักษะที่สำคัญมาก  ซึ่งสามารถจะทำให้ประสบความสำเร็จทางวิชาการหรือล้มเหลวได้บ่อยๆ

จุดเริ่มต้นของการสอนการจัดการเรื่องเวลาที่ดีคือ การวิเคราะห์งาน   มันแสดงถึงทักษะอย่างหนึ่งที่นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้พัฒนาด้วยการรับรู้แบบ สัมผัสตรงๆ  แม้กระนั้นก็ดี มันเป็นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาการจัดการเรื่องเวลาให้มีประสิทธิภาพ  คุณสามารถสนุกสนานได้มากกับเรื่องนี้  มันเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ด้วยเหมือนกันที่จะนำพ่อแม่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยการ ขอร้องพวกเขาให้ฝึกทักษะนี้กับลูกๆ ของเขาที่บ้าน  ขอให้นักเรียนของคุณกับคุณพ่อคุณแม่ลองคิดว่าจะใช้เวลาเท่าไรในการขี่ จักรยานไปบ้านเพื่อน  ในการทำปราสาททราย  ให้อาหารสัตว์เลี้ยงที่บ้าน หรือระบายสี  ทันทีที่พวกเขาเริ่มประมาณการได้  นักเรียนสามารถย้ายไปทำทักษะการจัดการเวลาในเรื่องที่ก้าวหน้ากว่านี้ได้  เมื่อพวกเขากลับไปที่ชั้นเรียน
การวิเคราะห์งานเป็นบางสิ่งบางอย่างที่นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้พัฒนาโดย การรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสโดยตรง  แม้กระนั้นก็ดี  มันเป็นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาการจัดการเรื่องเวลา  การวิเคราะห์งานเป็นกระบวนการของการวินิจฉัยว่า อะไรต้องทำให้เสร็จบ้างจากงานที่ได้รับมา  ไม่ว่าจะเป็นการบ้านหรือโครงการระยะยาว เช่น งานค้นคว้า   การที่จะประเมินเวลาอย่างถี่ถ้วน  นักเรียนต้องรู้ขั้นตอนที่ต้องการที่จะทำงานให้เสร็จ  บางครั้งนักเรียนไม่ได้ระลึกรู้เลยว่า  การบ้านชิ้นเดียวอาจจะมีสามส่วน  ตัวอย่างเช่น  การบ้านที่จะอ่านหนึ่งบท  และแยกแยะคำศัพท์สำหรับบททดสอบในวันต่อไป  งานนี้ต้องการให้นักเรียน (1) อ่าน (2) ค้นหาคำในพจนานุกรม (3) แยกแยะและจดจำข้อมูลที่จะปรากฏในบททดสอบ  เป็นไปได้ที่นักเรียนซึ่งไม่ได้ฝึกฝนการวิเคราะห์งานจะทำขั้นตอนแรกและขั้น ตอนที่สองได้สมบูรณ์  แล้วประมาณการว่าขั้นตอนที่สามจะเกิดขึ้นด้วยตัวของมันเอง  พวกเขาอาจจะทำบททดสอบได้แย่มาก  แม้ว่าพวกเขาจะได้ทำการบ้านแล้วจริงๆ

จุดประสงค์
จุดประสงค์ของใบงานการวิเคราะห์งานและการประเมินเวลาคือ การเพิ่มการรู้ตัวของนักเรียนในเรื่องขั้นตอนที่มีหลายขั้นตอนซึ่งเกี่ยว ข้องกันในงานชิ้นเดียว  และเพื่อที่จะพัฒนาการรับรู้ว่า จะใช้เวลาเท่าไร งานจึงจะสมบูรณ์ได้

ในทางความคิด คุณครูควรจะจัดสรรเวลาสำหรับชั้นเรียนไว้ล่วงหน้าหนึ่งสัปดาห์หรือประมาณ นั้นสำหรับให้นักเรียนทำงานกับใบงานการวิเคราะห์งานและประเมินเวลา  โดยเฉพาะสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา  ถ้าหาเวลาว่างในชั้นเรียนไม่ได้ คุณครูสามารถจะให้นักเรียนทำใบงานให้เสร็จที่บ้านและสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครองให้มีส่วนร่วมด้วย

อุปกรณ์ที่ต้องการ
-          เครื่องจับเวลาในครัวที่มีกระดิ่ง
-          นาฬิกาจับเวลา
-           ใบงานการวิเคราะห์งานและการประเมินเวลา

ขั้นตอน
เริ่มแรกให้คุณครูแสดงวิธีใช้นาฬิกาจับเวลา  แล้วให้นักเรียนตั้งนาฬิกาจับเวลาไว้ที่ 0:00

การเลือกและวิเคราะห์งาน
นักเรียนควรจะเริ่มต้นด้วยงานพื้นฐาน  เช่น การทำเตียงในตอนเช้า  นักเรียนจดขั้นตอนทั้งหมดที่จะทำให้งานสมบูรณ์โดยเรียงตามลำดับให้ถูกต้อง

แล้วคุณครูให้นักเรียนประเมินเวลาที่พวกเขาคิดว่าจะใช้เพื่อทำงานให้ เสร็จสมบูรณ์  บันทึกไว้ว่า นักเรียนจะมีความคิดที่เหมาะสมถ้างานนี้กลายเป็นกิจวัตร

เมื่อพวกเขากลับไปที่ห้องเรียน  ก้าวต่อไปสำหรับนักเรียนคืองานวิชาการที่เป็นรูปธรรม  เช่น การบ้าน หรือ การอ่านหนังสือเป็นบทๆ โดยทั่วไปพวกเขาต้องการคำแนะนำที่จุดนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการทำอะไรที่สั้นๆ ง่ายๆ เกินไป ตัวอย่างเช่น การบ้านให้อ่านส่วนแรกของบทที่ 6 ในหนังสือสังคมศึกษา  นักเรียนอาจจะเขียนง่ายๆ แค่ขั้นตอนเดียวคือ อ่าน  บนใบงานของพวกเขา  ถ้าไม่ชี้ให้ชัดแจ้งว่าต้องแตกงานเป็นขั้นตอนย่อยๆ

เมื่อนักเรียนเริ่มเข้าใจความซับซ้อนของงานง่ายๆ ที่เป็นรูปธรรม  คุณครูสามารถจะขยายการวิเคราะห์งานให้เป็นงานที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เช่น การเขียนงานค้นคว้า  และการเตรียมตัวสำหรับการสอบครั้งสุดท้าย

การทดสอบการประเมินเวลาของนักเรียน
ทันทีที่วิเคราะห์งานได้และประเมินเวลาแล้ว  นักเรียนเตรียมตัวที่จะทำงานให้เสร็จและเริ่มนาฬิกาจับเวลา  เมื่องานสมบูรณ์  ให้หยุดเวลาและบันทึกเวลาที่แท้จริงบนใบงาน  (นักเรียนควรจะหยุดเวลาถ้าพวกเขาถูกขัดจังหวะหรือจำเป็นต้องหยุดมากกว่า หนึ่งนาที  เพื่อว่าเวลาที่แท้จริงของพวกเขาจะได้ถี่ถ้วน) สุดท้าย  ให้นักเรียนคำนวณว่า  พวกเขาประเมินเวลามากกว่าหรือน้อยกว่าเวลาทำงานจริงเท่าไร

อย่างที่กล่าว  นักเรียนควรจะใช้ใบงานการวิเคราะห์งานและการประเมินเวลาในเวลาหนึ่งสัปดาห์ หรือมากว่านั้น  พวกเขาเรียนรู้เร็วที่จะดูเวลาที่แท้จริงในวันก่อนๆ เพื่อประเมินเวลาทำงานในปัจจุบัน  กิจกรรมนี้จะช่วยเหลือคุณครูได้มากเช่นเดียวกับนักเรียน  เนื่องจากมันช่วยบอกความแตกต่างของเวลาในการทำงานให้เสร็จสมบูรณ์ภายในชั้น เรียน

ความเชี่ยวชาญในกิจวัตร
การประเมินอย่างถี่ถ้วนว่าจะใช้เวลามากเท่าไรที่จะทำงานให้เสร็จสมบูรณ์ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการวางแผนในระยะยาว  เมื่อนักเรียนทำใบงานการวิเคราะห์งานและการประเมินเวลาได้สมบูรณ์ในช่วงเวลา หนึ่งแล้ว  พวกเขาเรียนรู้ว่า  เวลาที่ใช้จริงจะแตกต่างไปตามความยาวและความซับซ้อนของงานที่ได้รับมอบหมาย  ระดับของสมาธิ  และองค์ประกอบอื่นๆ เช่น ความอ่อนเพลีย  แรงกระตุ้นและความสนใจ  พวกเขายังได้เรียนรู้ด้วยว่า งานประเภทไหนเร็วและง่าย  และประเภทไหนต้องการเวลาและความพยายามมากขึ้น  นักเรียนจะทำได้ดีทีเดียวเมื่อพวกเขาฝึกฝนได้เพียงพอ

หลังจากทำงานประจำวันที่เข้มข้นมาบ้างแล้วในเรื่องการวิเคราะห์งานและการ ประเมินเวลา  คุณครูสามารถจะให้นักเรียนแกะรอยเวลาที่ใช้จริงและเวลาที่ประเมินไว้เพื่อทำ งานให้เสร็จได้  การใช้เวลาที่จะสอนนักเรียนถึงวิธีวิเคราะห์งานและประเมินเวลา  แล้วฝึกฝนไปกับพวกเขา ช่วยนักเรียนให้พัฒนาทักษะการเรียนอันมีค่า ซึ่งจะช่วยจัดการงานในชั้นเรียนการบ้านได้อย่างมั่นใจและมีประสิทธิภาพมาก ขึ้น  การจัดการเรื่องเวลาถือเป็นทักษะอันหนึ่งด้วยเหมือนกันที่จะช่วยเพิ่มพูน ชีวิตของนักเรียนภายนอกชั้นเรียน  พวกเขาอาจจะพบว่า พวกเขามีความกังวลที่น้อยลงเกี่ยวกับงานของเขา  มีเวลาว่างมากขึ้น  และเพิ่มความภาคภูมิใจในทักษะซึ่งจะช่วยเหลือเขาได้ดีโดยตลอดชีวิตของพวกเขา

แปลและเรียบเรียงจาก Teaching Time Management to Students with Learning Disabilities ซึ่งเรียบเรียงจาก Study Skills: Research-Based Teaching Strategies โดย Newhall, P. W. (2008)
แปลและเรียบเรียงโดย พรรษชล ศรีอิสราพร

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181