ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

การตั้งเป้าหมายสำหรับเด็กๆ ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้: บทบาทของคุณเป็นเรื่องสำคัญ 24/11/2010

โดย เดล เอส บราวน์ (2008)

ผู้คนส่วนใหญ่มักตั้งเป้าหมายกันในเดือนมกราคม  ช่วงวันพักผ่อนสิ้นสุดแล้ว  ก็กลับไปเรียนหนังสือ  กลับไปทำงาน และกลับไปสู่กิจวัตรประจำวันของครอบครัว  คุณครูวางแผนการสอนในชั้นเรียนสำหรับปีต่อไป  ขณะที่คุณพ่อคุณแม่คิดถึงเกี่ยวกับครอบครัวของตนและสิ่งที่พวกเขาต้องการ สำหรับสมาชิกในครอบครัวแต่ละคน  นายจ้างเตรียมแผนงานและเป้าหมายประจำปี

เด็กๆ ควรจะได้รับการสนับสนุนให้ตั้งเป้าหมายสำหรับการเติบโตทางการเรียนรู้ของแต่ ละคนและอนาคตของตน  เมื่อเด็กๆ เรียนรู้ที่จะตั้งเป้าหมายและไปให้ถึงเป้าหมาย  พวกเขาสามารถวาดภาพอนาคตของตนเอง  สร้างทางเลือกที่ดีและทำให้ความฝันของเขากลายเป็นจริง  ฟรอสติจ เซ็นเตอร์ได้ทำการวิจัยเป็นเวลา 20 ปีในเรื่องอะไรที่ทำให้ผู้คนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้กลายเป็นผู้ใหญ่ ที่ประสบผลสำเร็จ  การตั้งเป้าหมายเป็นหนึ่งในคุณลักษณะ 6 อย่างที่ประสบความสำเร็จ

เป็นเรื่องไม่ค่อยดีนักที่เด็กๆ ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ส่วนมากและเด็กๆ สมาธิสั้นพบว่า การตั้งเป้าหมายเป็นเรื่องยากที่จะทำ  พวกเขามักจะมีความบกพร่องในด้านการปฏิบัติและการทำหน้าที่  การบกพร่องในการเชื่อมต่อของสมองทำให้เป็นเรื่องยากที่จะวางแผนล่วงหน้า  จะเริ่มต้นหรือหยุดในสิ่งที่เขาปรารถนาที่จะทำ  และตรวจสอบความประพฤติของพวกเขาเอง  เด็กๆ บางคนมีจิตใจไขว้เขวจากเป้าหมายที่เขาตั้งขึ้น  มีความกังวลที่ซับซ้อนขึ้นคือ ระบบโรงเรียนและสังคมตั้งเป้าหมายไว้สำหรับพวกเขา  เช่น การได้คะแนนที่ดีและแสดงผลการเรียนที่ดีในการทดสอบมาตรฐาน  ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายพวกเขาเนื่องจากความบกพร่อง  เมื่อพวกเขาไม่ได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสม  พวกเขาจะรู้สึกท้อแท้และหมดความมั่นใจในตนเอง

ต่อไปนี้คือวิถีทางที่จะช่วยเด็กๆ ของคุณ บรรดานักเรียนและผู้ที่บกพร่องทางการเรียนรู้ให้ตั้งเป้าหมายของตนเองและไป ให้ถึงเป้าหมายนั้นๆ

ถามเขาเกี่ยวกับความฝันและความต้องการของเขา
ให้ฟังพวกเขา  ถามคำถามปลายเปิดเพื่อตอบโต้กับความคิดของพวกเขา  ถ้าความคิดนั้นดูแปลก พิลึกพิลั่น หรือเป็นจริงไปไม่ได้  อย่าไปบีบคั้นเขา  เพียงแค่ช่วยปรับให้เข้าที่เข้าทาง  ตัวอย่างเช่น สมมุติว่า คุณมีนักเรียนซึ่งล้มเหลวในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ทุกครั้งที่เขาพยายามและขาด ความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์  เขาบอกคุณว่าเขาอยากที่จะเป็นหมอ  คุณคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้  ในกรณีนี้คุณอาจจะพูดคุยเกี่ยวกับวิธีการมากมายที่พวกเขาสามารถจะรักษาคน อื่นๆ –การเป็นผู้ช่วยแพทย์  พยาบาล  โค้ช หรือนักโภชนาการ  ความปรารถนาที่จะเป็นหมอสามารถจะช่วยให้เขาตัดสินใจแน่วแน่ที่จะเรียน คณิตศาสตร์ให้ดี
สนับสนุนเขาให้ตั้งเป้าหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความปรารถนาของพวกเขา
ความปรารถนาของเขาเองจะเป็นการจุดชนวนแรงจูงใจ  แจ็ค  ฮอร์นเนอร์  นักวิชาการว่าด้วยสิ่งมีชีวิตสมัยโบราณรู้สึกหลงใหลในไดโนเสาร์  ในอัตตชีวประวัติของเขา  เขาพูดถึงการไม่ประสบความสำเร็จในวิชาเรียนที่โรงเรียน  แต่กลับเป็นเลิศในโครงงานทางวิทยาศาสตร์  “เป้าหมายในชีวิตของผมเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ”  เขาอธิบายในอัตตชีวประวัติที่แสดงถึงความฉลาดของเขา “ผมต้องการเป็นนักวิชาการไดโนเสาร์”  เขาบรรลุเป้าหมายของเขา  ในวัยผู้ใหญ่นี้เขาค้นพบไดโนเสาร์พันธุ์ไทรันโนเซารัส เร็กซ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับผู้กำกับ ภาพยนตร์สตีเวน สปีลเบอร์กในภาพยนตร์เรื่อง “เจอราสสิก ปาร์ค”
ช่วยเหลือเขาให้เอาชนะความบกพร่องของตนเองขณะที่พวกเขาเดินสู่เป้าหมาย
แจ็คเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมที่เป็นสมาธิสั้นและสามารถเขียนเรียงความ ชนะการประกวดเรียงความเอาชนะอุปสรรคเมื่อ 2007 เรียงความนี้บรรยายเทคนิคเฉพาะต่างๆ ที่ใช้ให้บรรลุเป้าหมายทางวิชาการ  เขาใช้นิตยสารฉบับหนึ่งเป็นการบ้าน  เขายังท้าทายตัวเองด้วยการกำหนดเส้นตายในช่วงสั้นๆ  เช่น การเล่นเกมทดสอบในเวลาเฉพาะ  เป้าหมายควรจะชาญฉลาด ( SMART) นั่นคือ  เฉพาะเจาะจง (Specific)  สามารถวัดได้ (Measurable) บรรลุได้( Achievable) เป็นจริงได้(Realistic) อยู่ในขอบข่ายของเวลา (Time-bound)  ถ้าคุณตั้งเป้าหมายของคุณเอง  ลองพูดคุยว่าคุณจะตั้งเป้าหมายอย่างไร  และคุณจะทำอย่างไรให้บรรลุเป้าหมายนั้น

สอนและสร้างแบบอย่างความมุมานะบากบั่น
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้มักพบอุปสรรคซึ่งคนอื่นๆ ไม่พบ ซึ่งหมายความว่า ความมุมานะบากบั่นเป็นความสำคัญโดยเฉพาะ  ความมุมานะเป็นหนึ่งในคุณลักษณะที่ประสบความสำเร็จ 6 อย่างที่ถูกกล่าวถึงโดยฟร็อสทิจ เซ็นเตอร์

จิม โจนส์เรียนรู้ที่จะหมุนลูกบาสเกตบอลบนนิ้วของเขาและเล่นกลอื่นๆ บางอย่างที่เด็กคนอื่นๆ คิดว่า เก่ง  นี่เป็นการจุดไฟให้เขา  และในด้านบวกของการบกพร่องทางการเรียนรู้ เขากล่าวว่า “ผมฝึกฝนมากมาย  ผมทำผิวหนังที่นิ้วชี้ถลอกปอกเปิกและเลือดออก เมื่อเรียนอยู่เกรดแปด  ผมหมุนลูกบาสเกตบอลได้สองลูก  ในเกรดเก้าผมหมุนได้สาม  และในเกรดสิบผมสามารถหมุนบาสเกตบอลได้ห้าลูก  ผมถูกขอร้องให้แสดงทักษะให้ดูในกลุ่มเล็กๆ หลายกลุ่ม  วันหนึ่งผมได้รับโทรศัพท์  ผู้ชายคนนั้นถามว่า ผมอยากจะแสดงในช่วงครึ่งเวลาสำหรับคลีฟแลนด์ คาวาลเลียรส์ NBA เกมหรือไม่” ที่อายุ 16 ปีเขาได้แสดงไป 10 ครั้ง  ปัจจุบันเขากลายเป็นนักพูดที่สร้างแรงจูงใจที่มีชื่อเสียงบรรยายประสบการณ์ ของเขาในฐานะเป็นผู้ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน

สอนเด็กๆ ให้รู้จักจัดการกับการประสบอุปสรรคและความล้มเหลว
บอกพวกเขาว่าความผิดพลาดเป็นโอกาสที่จะเรียนรู้และถนนสู่ความสำเร็จนั้น มักจะพบกับทางโค้งและวกวน  สิ่งที่สำคัญคือการพยายามอีก  ในหนังสือ การประสบความสำเร็จในชีวิตของนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้: คู่มือพ่อแม่ อธิบายว่า  บุคคลมากมายที่บกพร่องทางการเรียนรู้จะแสดงความมุมานะบากบั่นที่ยิ่งใหญ่และ ยังคงรักษาการเดินทางตามทางเลือกนั้นทั้งๆ ที่พบความยากลำบาก พวกเขามักจะบรรยายถึงตัวเองว่า “ผมไม่ใช่คนที่ยอมแพ้หรือเลิกง่ายๆ” อย่างไรก็ตามแต่ละคนที่ประสบความสำเร็จจะแสดงความสามารถที่เด่นๆ-และรู้ว่า เมื่อไรที่ควรจะยอมแพ้

บุคคลที่บกพร่องทางการเรียนรู้ที่ประสบความสำเร็จจะพบหนทางใหม่ๆ ไปสู่การบรรลุเป้าหมาย  หนทางซึ่งมักจะโดดเด่นไม่ใช่ปกติธรรมดา  ตัวอย่างเช่น แจ็ค ฮอร์นเนอร์ต้องการทำงานในพิพิธภัณฑ์  แต่เขาไม่มีปริญญา  ขณะที่เขาทำงานเป็นคนขับรถบรรทุก  เขาเขียนจดหมายถึงทุกๆพิพิธภัณฑ์ ในโลกซึ่งพูดภาษาอังกฤษเพื่อถามหางานว่า มีงานเปิดรับตั้งแต่ระดับช่างเทคนิคจนถึงผู้จัดการหรือไม่  เขาได้รับการตอบกลับมา 3 แห่งและได้รับเลือกให้เข้าทำงานที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติของมหาวิ ทยาลัยปรินซ์ตัน ซึ่งเขาทำงานอยู่ 7 ปี

นี่เป็นหนทางเฉพาะบางอย่างซึ่งคุณสามารถสนับสนุนเด็กหรือนักเรียนของคุณให้ตั้งเป้าหมายและยืนยันที่จะทำให้สำเร็จตามนั้น

  • ให้สังเกตเมื่อพวกเขากำลังเดินไปสู่เป้าหมายของเขาและให้การชมเชยเขา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยเตรียมพร้อมให้เขาสู่เป้าหมายที่เขาเลือก
  • เชื่อมโยงงานที่โรงเรียนของพวกเขาให้เหมาะกับเป้าหมายที่พวกเขาต้องการสำหรับตนเอง
  • ชมเชยกระบวนการทำงานของเขาร่วมกับผลงานที่เกิดขึ้น  พวกเขาสมควรได้รับการยกย่องสำหรับความบากบั่น  โดยเฉพาะเมื่อผลไม่เข้าเป้า  ตัวอย่างเช่น  เด็กหรือนักเรียนของคุณยังคงฝึกฝนเรื่องปัจจัยเสียงอยู่ เป็นเวลานานแล้วที่เด็กคนอื่นๆ เรียนรู้แล้ว  ให้สังเกตและสนับสนุนความพยายามของเขาแม้ว่าเขาจะยังเรียนอยู่ล้าหลัง
  • เมื่อพวกเขาประสบความสำเร็จ  ให้ถามว่า  “เธอทำได้อย่างไร”  ฟังสิ่งที่เขาบอกคุณอย่างตั้งใจ  ให้พวกเขาได้พูดถึงความสำเร็จของตนเอง  นี่จะช่วยให้เขาเข้าใจว่าอะไรที่ได้ผลสำหรับเขา  มันจะสอนเขาให้ไว้วางใจบนความเชื่อมั่นของตนเองมากกว่าที่จะรอคอยให้คนที่มี อำนาจกว่ามาชมเชยเขา  สอนเขาให้ชมเชยตนเอง  ให้แรงเสริมทางบวกแก่ตนเอง  ซึ่งจะทำให้เขาสามารถจะจูงใจตนเองได้เมื่อไม่มีใครอื่นทำ

สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆ หรือนักเรียนของคุณเอาชนะความบกพร่องทางการเรียนรู้และไปถึงความฝัน
ช่วยเหลือพวกเขาให้เข้าถึงความรู้สึกเป็นคนเก่งอยู่ภายใน  บุคคลที่บกพร่องทางการเรียนรู้ส่วนมากยึดถือเอาว่าความสำเร็จของพวกเขามาจาก ครู พ่อแม่ เพื่อนบ้าน หรือผู้ใหญ่คนอื่นๆ ซึ่งเชื่อในตัวเขา ขณะที่เขาไม่เชื่อในตัวเอง

บางทีคุณอาจจะตั้งเป้าหมายใหม่ๆ เพื่อช่วยเหลือบุคคลที่บกพร่องทางการเรียนรู้ให้ไปถึงเป้าหมายของพวกเขา  คุณสามารถจะเป็นบุคคลที่ช่วยเหลือพวกเขาให้มีความฝัน  กำจัดอุปสรรค  และทำให้มันกลายเป็นจริง

แปลและเรียบเรียงจาก Goal Setting for Children with Learning Disabilities: Your Role is Important โดย Dales S. Brown ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่ชนะรางวัล 10 ยอดหนังสือดีเด่นของอเมริกา
แปลโดย พรรษชล ศรีอิสราพร

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181