ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

การให้บริการช่วยเหลือเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านที่ไม่ใช่ภาษา ตอนที่ 5 (29/10/2010)

โดย ซู ทอมป์สัน

การให้บริการช่วยเหลือเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านที่ไม่ใช่ภาษา (NLD) แบบ CAMS นั่นคือ การชดเชย (Compensations)  การทดแทน (Accommodations)  การแก้ไข (Modification) และ กลยุทธ์ (Strategies) มีดังนี้คือ
การแก้ไข (Modification)

  1. เด็กประเภทนี้จำเป็นที่จะอยู่ในสภาวะแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ซึ่งไม่มีการคุกคามจากเพื่อนที่เป็นปกติรุ่นราวคราวเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาทางด้านสังคมของเขา
  2. เด็กประเภทนี้จะได้ประโยชน์จากสถานการณ์การเรียนรู้ที่มีความร่วมมือกัน  (เมื่อร่วมกลุ่มกับบุคคลที่เป็นแบบอย่างที่ดี) การใช้ภาษาที่แข็งขันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในวิธีที่เด็กประเภทนี้เรียน   ตามปกติพวกเขาจะมีข้อมูลบอกเล่าเป็นภาษาอย่างกว้างขวางที่จะแบ่งปันกับคนอื่นๆ และสามารถแสดงออกเป็นการ “give and take” ในสิ่งแวดล้อมทางสังคมแบบย่อและในสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ถูกควบคุมแต่ไม่คุกคาม  ที่ปรากฏชัดคือ เด็กประเภทที่บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านที่ไม่ใช่ภาษานี้จะไม่ถูกคาดหวังที่จะเป็น “คนเขียนหรือคัดลอก” ในการร่วมกับกลุ่มที่มีความร่วมมือที่ดี และการช่วยเหลือกลุ่มของเด็กประเภทนี้ควรจะอยู่ในเรื่องกิจกรรมทางด้านภาษา  รูปแบบการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพน้อยที่สุดสำหรับเด็กประเภทนี้คือ การให้อยู่อย่างโดเดี่ยว  พวกเขาต้องได้รับอนุญาตให้ใช้การพูดจาและมีการตอบกลับที่เป็นวาจาเพื่อที่จะเรียนรู้
  3. การเปลี่ยนแปลงจะเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กประเภทนี้เสมอ  ดังนั้นเขาจะต้องการเวลาระหว่างเรียนที่จะรวบรวมความคิดของเขาก่อนที่จะ “เปลี่ยนเกียร์” นี่อาจจะหมายความถึง  เวลาพิเศษก่อนและหลังเวลาพักที่จะเลิกเรียนและปรับตัวอีกครั้งต่อการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามา  การเปลี่ยนห้องที่น้อยครั้งและใช้เวลามากขึ้นกับครูคนเดียว  ห้องเรียนหนังสือห้องเดียวซึ่งกำหนดให้เหมาะกับตารางเรียนของนักเรียนประเภทนี้ ในโรงเรียนระดับมัธยมต้นและระดับมัธยมปลาย  และ/หรือเลือก “คู่หู (buddy)” ที่เป็นเด็กปกติรุ่นราวคราวเดียวกับเขาอย่างระมัดระวัง  เพื่อช่วยให้เขาผ่านแต่ละวันไปได้
  4. การจัดแผนล่วงหน้าต้องให้อยู่ในสภาวะที่จัดเตรียมเป็นกิจวัตรอย่างดี เพราะว่าเด็กประเภทนี้จะไม่สามารถแปลรหัสสัญญาณเตือนทางสังคมที่ไม่ใช่ภาษา  เขาไม่สามารถปรับตัวได้ดีต่อการเปลี่ยนแปลงของกิจวัตรในทันที (เขาขาดความสามารถจะปรับตัวในเวลาที่สงสัย) พวกเขามักจะกลัวต่อสถานการณ์และประสพการณ์ใหม่ๆและที่ไม่คุ้นเคยรู้จัก พวกเขาจำเป็นจะต้องรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไปและสามารถจะรับรู้ปฏิกิริยาตอบสนองที่คงที่จากทีมงานซึ่งดูแลเขา

กลยุทธ์ (Strategies)

  1. จงบอกเด็กทุกๆ อย่างและสนับสนุนเขาให้มีฟีดแบค (feedback) ด้านภาษากับคุณ  กระบวนการทางสอนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ เรื่องที่เกี่ยวกับการรู้จักให้ใช้ภาษาในสถานการณ์และประสพการณ์ที่เป็นรูปธรรม  “ฉันไม่ควรจะต้องบอกเธอ” เป็นประโยคทีไม่ควรใช้กับเด็ก  คุณจำเป็นจะต้องบอกเขา  เขาไม่สามารถ “มองและเรียนรู้” ได้เอง
  2. สอนด้วยวาจา (อย่าคาดหวังว่าเด็กจะสังเกตได้เอง) กลยุทธ์การรับรู้สำหรับทักษะการพูด (“give and take”  การเริ่มต้นและการจบบทสนทนาอย่างสบายๆ  ควรจะเปลี่ยนหัวข้อเมื่อไรและอย่างไร ลักษณะพิเศษจำเพาะของบทสนทนาที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ  น้ำเสียงและการแสดงออกของเสียง เป็นต้น) และภาษาท่าทางที่ไม่ใช่วาจา (การแสดงออกทางสีหน้า  ระยะห่างทางสังคมที่เหมาะสม  เมื่อไรมาถึงจุดหมดความอดทนแล้ว เป็นต้น)  เด็กประเภทนี้จะไม่รับรู้ว่าเขากำลังทดสอบความอดทนของอีกฝ่ายจวบจนอีกฝ่ายระเบิดออกมา  ให้สัญญาณเตือนทางวาจาแก่เขาเพิ่มเติมก่อนจะถึงจุดเดือดของอีกฝ่าย  เพราะว่า เขาไม่ได้รู้สึกถึงความเครียดหรือความไม่พอใจของอีกฝ่าย
  3. สังเกตและพัฒนาเทคนิคการรับมือของเด็กที่รู้จักช่วยตัวเองมาบ้างแล้ว  เพ่งความสนใจไปที่การพัฒนาความคิดรวบยอดที่ยืดหยุ่นได้และการเรียงลำดับเรื่องเวลา
  4. จับกลุ่มเด็กประเภทนี้กับ “คนที่เป็นแบบอย่างที่ดี” เพื่อว่าเขาจะสามารถเลียนแบบและเรียนรู้พฤติกรรมที่เหมาะสมได้  จำไว้ว่า เขาจะไม่แยกแยะพฤติกรรมที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมได้ถ้าไม่ได้มีการชี้ให้เห็นความแตกต่างเป็นคำพูดออกมา  ความโดดเดี่ยวเป็นเรื่องเลวร้ายสำหรับเด็กประเภทนี้
  5. ผู้ใหญ่ที่เป็นแบบอย่างควรจะพูดคุยตามวิธีของตนเองในสถานการณ์ซึ่งเด็กประเภทนี้ปรากฎตัวอยู่ด้วย เพื่อที่จะเป็นการให้ทัศนะทางภาษาของกระบวนการใช้ภาษาภายในของคนอื่นๆ แก่เขา    โดยเนื้อแท้คุณกำลังใช้วาทะภายในออกสู่ภายนอก   เพื่อว่าเด็กประเภทนี้สามารถหยิบเอาทักษะที่ต้องการไปใช้ประสานกับวิธีการแก้ปัญหาของเขาเอง  ให้ช่วยเหลือเด็กประเภทนี้ในการวางแผนลำดับขั้นตอนในการถามตนเองและตรวจสอบตนเอง  และใช้ภาษาวาจาในแต่ละขั้นตอน
  6. ความโดดเดี่ยว  การตัดสิทธิ  การลงโทษไม่ใช่วิธีการที่มีประสิทธิภาพที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กประเภทนี้  ซึ่งได้พยายามอย่างดีที่สุดที่จะปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม (แต่ตีความสัญญาณเตือนที่ไม่ใช่วาจาทุกชนิดผิด) ถ้าพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเป็นสาเหตุของปัญหาที่โรงเรียน  การวิเคราะห์ความประพฤติและแผนการช่วยเหลือด้านพฤติกรรมที่ออกแบบรายละเอียดชุดของการกระทำซึ่งให้ประโยชน์และไม่ใช่เป็นการลงโทษอาจจำเป็นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในแผนจัดการศึกษารายบุคคลของเด็กประเภทนี้

(จบ)

แปลและเรียบเรียงจาก Servicing Nonverbal Learning Disorders โดย Sue Thompson M.A., C.E. (1996) โดย พรรษชล ศรีอิสราพร

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก