ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

การให้บริการช่วยเหลือเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านที่ไม่ใช่ภาษา ตอนที่ 4 (30/09/2010)

โดย ซู ทอมป์สัน

การให้บริการช่วยเหลือเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านที่ไม่ใช่ภาษา (NLD) แบบ CAMS นั่นคือ การชดเชย (Compensations)  การทดแทน (Accommodations)  การแก้ไข (Modification) และ กลยุทธ์ (Strategies) มีดังนี้คือ
การทดแทนประนีประนอม  (Accommodations)
            1. การบ้านซึ่งต้องการให้สำเนาข้อความต้องถูกปรับแก้หรือละทิ้งไป เนื่องมาจากปัญหาธรรมชาติในเรื่องการมองเห็นในที่ว่างของเด็กNLD ต่อแบบฝึกหัดแบบนั้น การใช้วิธีการเรื่องความจำที่ดีที่สุดคือ การช่วยให้กระตือรือร้นในการใช้ภาษาและ/หรือ การอ่านในใจหรือการอ่านไม่ออกเสียง
                2. การวางรูปแบบข้อสอบในกระดาษคำตอบและการดำเนินการการบ้านวิชาคณิตศาสตร์ในเรื่องที่ว่างและการมองเห็นจำเป็นจะต้องทำให้ดูง่าย เมื่อไรก็ตามที่เป็นไปได้  ขอแนะนำว่าให้ใช้กระดาษกราฟเขียนเป็นคอลัมน์ในการบ้านคณิตศาสตร์หรือควรตระเตรียมเนื้อหาคณิตศาสตร์ที่เด็กประเภทนี้จะพอรับได้
                3. งานที่ใช้ดินสอและกระดาษจำเป็นที่จะมีให้น้อยเพราะว่าการถนัดในการใช้นิ้วและปัญหาเรื่องที่ว่างกับการมองเห็น  วิธีรักษาทางอาชีพเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาสำหรับเด็กที่เยาว์วัย  การลงมือปฏิบัติโดยสื่อเป็นภาษาเพื่อที่จะพัฒนาลายมือให้ดีขึ้นอาจจะมีผลให้การควบคุมและคล่องตัวดีขึ้น  แต่กระบวนการจะยังคงเป็นเรื่องหนักหน่วง  การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พิมพ์การบ้านทั้งหมดส่งครูเป็นเรื่องที่ขอแนะนำให้ทำอย่างมาก  ขณะที่ทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กกับที่ว่างที่ต้องใช้ในการพิมพ์ไม่ได้ซับซ้อนเหมือนกับที่ใช้ในการเขียนลายมือ
                4. ความสับสนของคนโดยทั่วไปเกี่ยวกับความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านที่ไม่ใช่ภาษา  มีผลด้วยเหมือนกันในการจำกัดความสามารถของนักเรียนที่จะผลิตปริมาณงานเขียนซึ่งถูกคาดหวังเช่นเดียวกับเพื่อนรุ่นราวในระดับชั้นเดียวกันตามปกติ เด็กประเภทนี้ต้องการความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องกับการเรียบเรียงข้อมูลและการสื่อสารในการเขียน  ความคาดหวังของครูในเรื่องปริมาณผลผลิตงานเขียนต้องถูกปรับปรุง  พวกงานเขียนที่มอบหมายให้เด็กจะต้องการเวลาเพิ่ม
                5. ประเภทของงานที่ต้องการการพับ การตัดด้วยกรรไกร  และ/หรือการจัดเรียงวัตถุซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ว่างและการมองเห็น (แผนที่  กราฟ  โมบาย เป็นต้น) จะต้องการความช่วยเหลืออย่างเห็นได้ชัด  ควรตระเตรียมความช่วยเหลือด้วยท่าทีประนีประนอมหรือควรจะตัดกิจกรรมเหล่านั้นทิ้งโดยสิ้นเชิง
                6. งานที่มอบหมายให้เด็กแบบตลอดเวลา  ควรต้องปรับแก้ไขหรือเลิกไป  กระบวนการของข้อมูลทั้งหมดจะถูกแสดงออกในอัตราที่ช้ากว่ามากๆ เมื่อเกี่ยวพันกับการทำงานที่ผิดปกติของสมองแบบใดๆ ก็ตาม  การจำกัดเวลาได้พิสูจน์ให้เห็นอยู่บ่อยๆ ว่า เป็นผลร้ายต่องานที่เป็นผลผลิตของเด็ก  ขณะที่เด็กนักเรียนประเภทนี้จะรู้สึกเหลืออดเหลือทนได้อย่างง่ายๆโดยความคาดหวังที่เป็นไปไม่ได้จริงของครู
                7. ผู้ใหญ่จำเป็นที่จะต้องตรวจสอบความเข้าใจบ่อยๆ และนำเสนอข้อมูลด้วยคำพูดที่ธรรมดาและชัดเจน (เช่น “พูดจาชัดเจน” ในทุกๆ สิ่ง) เด็กประเภทนี้จะต้องการถามคำถามมากมาย  เนื่องจากนี่เป็นวิธีการเริ่มต้นของการรวบรวมข้อมูลของเขา
                8. ความคาดหวังทั้งหลายจำเป็นที่จะต้องบอกตรงๆ และชัดแจ้ง  อย่าต้องการให้เด็กประเภทนี้  “อ่านความหมายระหว่างบรรทัด” เพื่อค้นพบความตั้งใจของคุณ  หลีกเลี่ยงการพูดกระทบกระเทียบเปรียบเปรย  การพูดอุปมาอุปไมย การใช้สำนวน คำสแลง เป็นต้น ถ้าคุณไม่ได้คิดจะอธิบายการใช้คำพูดเหล่านั้นของคุณ  เขียนความคาดหวังที่แน่นอนออกมาสำหรับสถานการณ์ซึ่งเด็กอาจจะรับรู้คำแนะนำที่ซับซ้อนหรือสัญญาณเตือนทางสังคมที่เหมาะสมอย่างผิดๆ  ฟีดแบค (feedback) ที่ให้กับเด็กนักเรียนประเภทนี้ควรจะสร้างสรรค์และให้การสนับสนุนเสมอ หรือมิฉะนั้นจะไม่ได้รับประโยชน์อะไร
                9. หมายหรือกำหนดการต่างๆ ของเด็กนักเรียนประเภทนี้จำเป็นต้องเป็นที่คาดหมายได้เท่าที่จะเป็นไปได้  พวกเขาควรจะได้เตรียมตัวล่วงหน้าสำหรับการเปลี่ยนแปลงในกิจวัตรประจำวัน เช่น การชุมนุมต่างๆ  การออกทัศนศึกษาต่างๆ จำนวนวันอย่างน้อย  วันหยุดพักผ่อน  วันสอบครั้งสุดท้าย เป็นต้น
                10. เด็กประเภทนี้จำเป็นจะต้องมอบหมายให้ครูประจำที่โรงเรียนดูแลความก้าวหน้าของเขา  และสามารถรับประกันได้ว่า  ทีมงานที่โรงเรียนทุกคนได้ช่วยกันใช้วิธีการทดแทนประนีประนอมและการแก้ไขที่จำเป็นสำหรับเขา  การฝึกอบรมเรื่องการให้บริการภายในและการกำหนดนโยบายให้แน่ชัดแก่ทีมงานของโรงเรียนทุกคนเพื่อสร้างเสริมความอดทนและการยอมรับถือเป็นส่วนสำคัญของการวางแผนทั้งหมดเพื่อความสำเร็จ  โดยที่ทุกๆ คนต้องทำความคุ้นเคย  และให้การส่งเสริมต่อความต้องการทางสังคมและทางวิชาการของเด็กประเภทนี้

(ติดตามตอนต่อไป)

แปลและเรียบเรียงจาก Servicing Nonverbal Learning Disorders โดย Sue Thompson M.A., C.E. (1996) โดย พรรษชล ศรีอิสราพร

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก