ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

การบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านที่ไม่ใช่ภาษา ตอนที่ 5 (Nonverbal Learning Disorders หรือ NLD) (1996) 02/08/2010

โดย ซู ทอมป์สัน M.A. และ C.E.T

การวินิจฉัยการบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านที่ไม่ใช่ภาษา
การจัดระเบียบระหว่างที่ว่างกับการมองเห็น
ปัญหาการรับรู้เรื่องที่ว่าง,  ความเกี่ยวพันของที่ว่าง,  การจดจำ การจัดระเบียบและวิธีการสังเคราะห์ข้อมูลเรื่องที่ว่างกับการมองเห็น, การแยกแยะและการจดจำรายละเอียดในการมองเห็นและความสัมพันธ์ที่มองเห็น,  การกำหนดทิศทางในที่ว่างกับการมองเห็น (รวมทั้งปัญหาต่างๆ ในการกำหนดทิศทางซ้ายขวา), ความจำในการมองเห็น  การเชื่อมประสานกันของสิ่งที่นำเข้าในการมองเห็นกับกระบวนการของกล้ามเนื้อ (การรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกล้ามเนื้อกับการมองเห็น), ความคงที่ของรูปแบบการมองเห็น,  และการก่อรูปของความคิดรวบยอดล้วนหยั่งรากเป็นความบกพร่องขั้นพื้นฐานในการรับรู้ทางการมองเห็นและมโนภาพที่มองเห็น  เด็กกลุ่มนี้จะไม่สร้างมโนภาพต่างๆ ในการมองเห็น  ดังนั้นจึงไม่สามารถจินตนาการสิ่งที่เคยเห็นมาก่อน  เขาจะเพ่งความสนใจไปที่รายละเอียดของสิ่งที่เขาเห็นและมักพลาดที่จะจับ “ภาพรวมทั้งหมด”

ความสับสนในเรื่องที่ว่างกับการมองเห็นเป็นสาเหตุของความประพฤติที่ผิดปกติหลายอย่าง  ซึ่งชัดเจนในวัยเยาว์ของเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านที่ไม่ใช่ภาษา  เด็กประเภทนี้จะพยายาม “ผูกติด” กับผู้ใหญ่   ผ่านการสนทนาที่ต่อเนื่องเพื่อที่จะทำให้สถานะของเธอในห้องเรียนมั่นคง  เธอต้องการที่จะให้สมญานาม (ทางคำพูด) (ถึงแม้จะเป็นจิตใต้สำนึก) ทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวเธอ เพื่อที่เธอจะจดจำและพยายามที่จะเข้าใจสถานการณ์ประจำวันซึ่งคนอื่นๆ สามารถจดจำและรับเอาได้ทันทีอย่างไม่ต้องใช้ความพยายาม  ประสบการณ์ที่ถูกสะสมไว้ในความจำโดยการให้สมญานามออกมาเป็นคำพูด  ไม่ใช่โดยมโนภาพที่จินตนาการหรือการระลึกความรู้สึกเกี่ยวกับทิศทางการเคลื่อนไหว  เธอจะมีความจำที่แย่เรียงลำดับกันตั้งแต่เรื่องใหม่ๆ เรื่องซับซ้อน  และ/หรือเรื่องที่ไม่สามารถคิดออกมาเป็นคำพูดได้อย่างง่ายๆ

เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ที่ไม่ใช่ภาษาต้องใช้ความคิดอย่างลึกซึ้งที่จะคิดทุกๆ สิ่งที่เขาประสบในสิ่งแวดล้อมเป็นคำพูด  เนื่องจากการรับรู้ที่ผิดพลาด  การคิดเป็นคำพูดนี้อาจไม่ถูกต้อง  แต่เด็กประเภทนี้ไม่ยอมท้อถอย เพราะว่านี่เป็นหนทางเดียวเท่านั้นที่เขาจะเข้าถึงกระบวนการทางข้อมูลได้  เขาไม่สร้างมโนภาพในการมองเห็นซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยพวกเราให้จดจำและเข้าใจสิ่งที่เราได้เห็นหรือสถานที่ที่เราเคยไปมาก่อน  สาเหตุนี้นำความยุ่งยากอย่างมหาศาลมาสู่เขาในการพยายามที่จะพบหนทางของเขาในสถานที่ใหม่ๆ

บ่อยครั้งที่การอ้างอิงเรื่องที่ว่างมักถูกละเลยโดยสิ้นเชิง  (ตัวอย่างเช่น เด็กประเภทนี้อาจจะระลึกได้ถึงรายละเอียดที่แตกต่างกันได้มากมายของบ้านที่เธอเพิ่งจะไปเยี่ยมมา  แต่เธอจะไม่สามารถอธิบายสถานที่ตั้งที่เกี่ยวโยงกับบ้านหลังอื่นๆ ในบล็อคเดียวกัน  และ/หรือบ้านของเธอเอง  เธอไม่สามารถสร้างความคิดรวบยอดของรายละเอียดที่เธอจดจำ) ทันทีที่เข้าโรงเรียน เธอจะมีความยุ่งยากในการนึกให้ออกว่าจะวางงานเขียนบนกระดาษอย่างไรและที่ไหน    หรือจากห้องพยาบาลจะกลับไปที่ชั้นเรียนของเธอได้อย่างไร  ปัญหาเฉพาะในวิชาคณิตศาสตร์ยังมีผลจากความบกพร่องในเรื่องที่ว่างและการมองเห็นและการรับรู้ในการมองเห็น  เธอจะมีปัญหาอื่นร่วมด้วยในการจัดวางคอลัมน์ของตัวเลข  การสังเกตเรื่องทิศทาง  และการจัดระเบียบงานของเธอ

เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านที่ไม่ใช่ภาษามักจะ “พูดจ้อ” เสมอเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ เป็นการทดแทนความบกพร่องเรื่องที่ว่างกับการมองเห็นด้วยคำพูด  แม้ว่าเขาอาจจะไม่ได้รับรู้ถึงสถานที่ซึ่งบ้านของเขานั้นตั้งอยู่ในหมู่เพื่อนบ้าน  เขาก็จะพบหนทางของเขากลับจากบ้านเพื่อนโดยการนับบ้านซึ่งอยู่ระหว่าง      คิดชื่อจุดสังเกตของสิ่ง-แวดล้อม  และ/หรือนับทบทวนเรียงลำดับรายละเอียดนั้นๆ ซึ่งเขาต้องเจ็บปวดที่จะคอยคิดเป็นคำพูดและต้องจดจำเป็นคำพูด

เด็กประเภทนี้สามารถที่จะดำรงชีวิตอย่างจำกัดในสภาพแวดล้อมของพวกเขา  โดยใช้ทักษะการจดจำที่พัฒนาได้ดี  อย่างไรก็ตาม  เทคนิคการรับมือจะถูกลดทอนลงเมื่อใดก็ตามที่เด็กเผชิญกับสถานการณืใหม่ๆ และซับซ้อนอย่างสูง  เขาอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่จะชอบสถานการณ์ที่ทำนายได้มากกว่า ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาประสบความสำเร็จมาก่อนแล้ว  การผันเปลี่ยนสถานการณ์ที่คงที่แล้วไปสู่การสถานการณ์ใหม่ที่แตกต่าง  (เช่น การให้ครูมาแทนเพื่อควบคุมชั้นเรียนซึ่งเด็กคนนี้เคยได้รับความมั่นคงจากครูประจำที่เคยสอน) สามารถสร้างความสับสนให้กับเทคนิคการรับมือของเด็กและเพิ่มระดับความกังวลให้กับเขา
นอกจากปัญหาการจับดินสอและการเขียนด้วยลายมือแล้ว  เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านที่ไม่ใช่ภาษา (ถ้อยคำ) อาจจะพบความยุ่งยากในการจดจำรูปร่างของตัวอักษร (ความจำในการมองเห็น) และการจดดินสอเขียนเส้นตัวอักษรด้วยลำดับที่ถูกต้อง (ความจำที่เรียงลำดับในการเห็น)  เขาจะมีความยุ่งยากกับความคิดรวบยอดเรื่องความคงที่ของรูปแบบที่มองเห็น  ความสามารถที่จะรับรู้ว่า  วัตถุสิ่งหนึ่งมีคุณสมบัติที่ไม่เปลี่ยนแปลง  เช่น  รูปแบบเฉพาะ  ตำแหน่งเฉพาะและขนาดเฉพาะ  ในการปรากฎเป็นภาพที่หลากหลาย   งานเขียนทั้งหมดจะเชื่องช้าและสาหัส  การให้เขาคัดลอกงานเขียนจากกระดานหรือจากหนังสือแบบถี่ถ้วนเป็นเรื่องทีไม่ค่อยเป็นผลในทางปฏิบัติและสร้างความเดือดร้อนใจให้กับเด็กประเภทนี้

แปลและเรียบเรียงโดย พรรษชล ศรีอิสราพร

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก