ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

การช่วยเหลือเด็กแอลดีที่บกพร่องทางด้านการอ่านให้มีประสิทธิภาพ

โดย คริสติน สแตนเบอร์รี่และลี สแวนสัน (2009)

คุณแม่ผู้กลุ้มใจคนหนึ่งกล่าวว่า “มีการตีพิมพ์โปรแกรมที่ดีที่สุดสำหรับสอนเด็กๆ อ่านหนังสือมากมาย  แต่ลูกสาวของฉันมีความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้และดิ้นรนอย่างหนักกับการอ่าน โปรแกรมเหล่านี้จะช่วยเธอไหม  ฉันทนดูเธอล้าหลังคนอื่นไม่ได้”
โชคดีที่เมื่อหลายปีมานี้ การศึกษาวิจัยดีๆ ที่ตีพิมพ์ออกมาได้ช่วยคุณพ่อคุณแม่และนักการศึกษาให้เข้าใจแนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดที่จะสอนให้เด็กทุกคนอ่านหนังสือ  แต่จนปัจจุบัน  บุคคลทั่วไปได้รับรู้น้อยมากเกี่ยวกับการวิจัยเรื่องการช่วยเหลือเด็กๆ ที่บกพร่องทางการเรียนรู้ให้อ่านหนังสือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทความนี้จะบรรยายเรื่องการค้นพบในการศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งซึ่งจะช่วยคุณให้กลายเป็นผู้ใช้โปรแกรมการอ่านสำหรับเด็กที่บกพร่องทางการอ่านได้ฉลาดขึ้น

งานวิจัยเปิดเผยวิธีการที่ดีที่สุดที่จะสอนเด็กแอลดีให้อ่านหนังสือ
คุณจะยินดีแน่ที่รู้ว่า ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา  มีงานวิจัยจำนวนมากที่ทำกันเพื่อแยกแยะการช่วยเหลือด้านการอ่านที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับนักเรียนแอลดีซึ่งดิ้นรนกับการจดจำคำ และ/หรือการใช้ทักษะความเข้าใจในการอ่าน
ระหว่างปี 1996 ถึงปี 1998 กลุ่มนักวิจัยกลุ่มหนึ่งนำโดย ดอกเตอร์ เอช ลี สแวนสัน
ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาการศึกษาที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่ริเวอร์ไซด์ ได้ดำเนินการสังเคราะห์ผลของการศึกษาวิจัย 92 ชิ้น (ทุกชิ้นยืนอยู่บนวิธีการทางวิทยาศาสตร์) โดยตลอดการวิเคราะห์นั้น  ดอกเตอร์สแวนสันได้แยกแยะวิธีการสอนที่เป็นรูปธรรมแน่ชัดและส่วนประกอบการสอนซึ่งพิสูจน์ว่า  มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับการเพิ่มการจดจำคำและเพิ่มทักษะความเข้าใจในการอ่านสำหรับเด็กเล็กๆ และเด็กวัยรุ่นที่เป็นแอลดี
บางส่วนของการค้นพบที่เกิดจากการวิเคราะห์นั้นน่าประหลาดใจ  ตัวอย่างเช่น    ดอกเตอร์สแวนสันชี้ว่า โดยธรรมเนียมนิยมแล้ว  การสอนการอ่านแบบการสื่อสารโดยตรงระหว่างคนสองคนถูกพิจารณาว่าเหมาะสมที่สุดสำหรับนักเรียนแอลดี  แม้กระนั้นเรายังพบอีกว่า  นักเรียนแอลดีซึ่งได้รับการสอนการอ่านแบบเป็นกลุ่มเล็กๆ เช่นในห้องเสริมวิชาการ  จะได้รับประสบการณ์ด้านทักษะเพิ่มขึ้นอย่างมากกว่านักเรียนซึ่งได้รับการสอนแบบแต่ละคน
ในบทความนี้ เราสรุปย่อและอธิบายการค้นพบในการวิจัยของดอกเตอร์สแวนสัน  สำหรับคุณที่มีเด็กแอลดีที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน  เราจะขอเสนอทิบในการฝึกปฏิบัติสำหรับการใช้สิ่งที่ค้นพบในการวิจัยที่จะประเมินโปรแกรมการอ่านโดยเฉพาะนั้น  มาดูกันว่า  งานวิจัยเปิดเผยอะไรบ้าง

แก่นคำแนะนำที่แข็งแกร่ง
ดอกเตอร์สแวนสันชี้ไว้สอดคล้องกับการทบทวนงานวิจัยชิ้นก่อนๆ ว่า การปฏิบัติตามคำสอนที่ดีรวมถึง การทบทวนประจำวัน  เอกสารแสดงจุดประสงค์การสอน  การแสดงออกของครูถึงเนื้อหาใหม่ๆ  การปฏิบัติที่มีการแนะนำ  การปฏิบัติแบบอิสระ  และการประเมินผลแบบทางการ (เช่น การทดสอบเพื่อให้มั่นใจว่า เด็กคนนั้นเชี่ยวชาญในเนื้อหา)  การปฏิบัติเหล่านี้เป็นหัวใจของโปรแกรมการช่วยเหลือด้านการอ่านที่ดีและสะท้อนให้เห็นในส่วนประกอบการสอนที่หลากหลายในบทความนี้

การพัฒนาทักษะการจดจำคำ : อะไรที่ได้ผล
ดอกเตอร์สแวนสันเน้นย้ำว่า ผลลัพธ์ที่สำคัญมากที่สุดของการสอนการจดจำคำคือว่า
นักเรียนเรียนรู้ที่จะจดจำคำที่แท้จริง  ไม่ใช่เสียงของคำที่ออกมาในการใช้ทักษะการออกเสียง
นิยามอื่นๆ ที่ครูและมืออาชีพคนอื่นๆ อาจจะใช้อธิบายปัญหาของเด็กด้านการจดจำคำ

  • การถอดรหัสคำ
  • การออกเสียง
  • การระลึกรู้เรื่องปัจจัยของเสียง
  • ทักษะการแตกคำ

 
การสอนทางตรง (direct instruction) ดูจะเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อทำให้ทักษะการจดจำคำของนักเรียนแอลดีดีขึ้นการสอนทางตรงเกี่ยวโยงถึงทักษะการสอนทางตรงที่บรรยายชัดเจน  มันเกี่ยวข้องกับการฝึกฝน/ การทำซ้ำ/ การปฏิบัติและสามารถใช้ได้กับเด็กคนเดียวหรือกลุ่มนักเรียนเล็กๆ ในเวลาเดียวกัน
 
ส่วนประกอบที่เป็นการสอนสามส่วนประกอบซึ่งพิสูจน์ว่า  มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการเพิ่มทักษะการจดจำคำของนักเรียนแอลดีอธิบายอยู่ต่อไปนี้  ตามแบบฉบับแล้ว โปรแกรมการอ่านสำหรับการจดจำคำจะรวมไปถึงทั้งสามส่วนประกอบนี้
 

การเพิ่มทักษะการจดจำคำให้กับเด็กแอลดี
 

ส่วนประกอบการสอน กิจกรรมและเทคนิคของโปรแกรม
ครู:

  • แตกงานออก (เช่น เริ่มโดยให้เด็กแตกคำที่ไม่รู้จัก

การเรียงลำดับ

ออกเป็นเสียงที่เขาสามารถออกเสียงได้)
 

  • ลดการช่วยเหลือลงทีละน้อย
  • จับคู่ระดับความยากของงานกับนักเรียน
  • เรียงลำดับกิจกรรมสั้นๆ (เช่น แรกเริ่มให้ใช้ 10 นาทีแรกทบทวนคำใหม่ๆ จากบทเรียนก่อน  ใช้ 5 นาที่ต่อมาขีดเส้นใต้คำใหม่ๆ ในย่อหน้า และ 5 นาทีสุดท้ายในการฝึกการผสมคำ)
  • ให้การช่วยเหลือเป็นลำดับขั้น

ครู:
การแตกย่อย

แตกย่อยทักษะเป้าหมาย ( เช่น แยกแยะคำพูดหรือเสียงอักษร) เป็นหน่วยย่อยๆ หรือส่วนประกอบย่อย (เช่น การออกเสียงแต่ละคำพูดหรือเสียงอักษรในคำนั้น
 

  • แตกย่อยหรือสังเคราะห์ส่วนประกอบ (เช่น การออกเสียงปัจจัยเสียงในคำๆหนึ่ง แล้วผสมเสียงเข้าด้วยกัน

ครู:
การจัดระเบียบล่วงหน้า

ชี้ให้เด็กๆ ดูเนื้อหาที่สำคัญต่อการสอน
 

  • ชี้แนะให้เด็กๆ เพ่งเป้าไปที่เฉพาะเรื่อง
  • ตระเตรียมข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับงานที่จะฝึกต่างๆ ให้กับนักเรียน
  • บอกจุดประสงค์ของการสอนให้นักเรียนทราบล่วงหน้า

 

การพัฒนาทักษะความเข้าใจในการอ่าน: อะไรที่ได้ผล
วิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดที่จะทำให้ความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนแอลดีดีขึ้นดูเหมือนจะเป็นการผสมผสามระหว่างการสอนทางตรง (direct instruction) และการสอนโดยเน้นกลวิธี (strategy instruction)  การสอนโดยเน้นกลวิธีหมายถึงการสอนการวางแผนหรือกลวิธีให้กับนักเรียนที่จะค้นหารูปแบบในคำต่างๆ และเพื่อแยกแยะย่อหน้าสำคัญและหาความคิดสำคัญในแต่ละย่อหน้า  ทันทีที่นักเรียนเรียนรู้กลวิธีที่แน่ชัด  เขาก็จะสามารถสรุปนำออกมาใช้กับงานความเข้าใจในการอ่านชิ้นอื่นๆ ได้  ส่วนประกอบการสอนเหล่านี้พบว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับการทำให้ทักษะความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนแอลดีดีขึ้น ดังที่แสดงในตารางต่อไปนี้  ตามหลักการแล้ว โปรแกรมที่จะทำให้ความเข้าใจในการอ่านดีขึ้นควรจะรวมส่วนประกอบทั้งหมดที่แสดง
 

การทำให้นักเรียนแอลดีมีความเข้าใจในการอ่านดีขึ้น
ส่วนประกอบการสอน                กิจกรรมและเทคนิคของโปรแกรม
ครู:

  • ถามคำถาม

การโต้ตอบโดยตรง/การถามคำถาม

สนับสนุนนักเรียนให้ถามคำถาม
 
 
ครูและนักเรียน

  • ร่วมกันสนทนา

ครู:

  • เตรียมความช่วยเหลือ (เท่าที่ต้องการ)

ควบคุมความยากของกระบวนการงานที่ต้องการ

ทำการสาธิตอย่างง่าย
 

  • เรียงลำดับงานจากง่ายไปยาก
  • นำเสนอขั้นตอนหรือความคิดรวบยอดที่ง่ายก่อนแล้วจึงไปสู่ขั้นตอนหรือความคิดรวบยอดที่ก้าวหน้าและยากกว่า
  • ให้นักเรียนควบคุมระดับของความยาก

กิจกรรม:

  • สั้นๆ

กิจกรรม:
การบรรยายอย่างละเอียด

ให้ข้อมูลหรือคำอธิบายเพิ่มเติมแก่นักเรียนเกี่ยวกับความคิดรวบยอด ขั้นตอน หรือกระบวนการ

  • ใช้เนื้อหาซ้ำๆ

 

รูปแบบของขั้นตอนโดยครู ครูสาธิตกระบวนการหรือขั้นตอนให้นักเรียนทำตาม
 
 
การสอนและ/หรือการโต้ตอบทางคำพูดเกิดขึ้นในกลุ่มเล็กๆ
ที่ประกอบด้วยครูและนักเรียน
 
ครู:

  • เตือนนักเรียนให้ใช้กลวิธีหรือขั้นตอนแบบหลายขั้นตอน
  • อธิบายขั้นตอนหรือกระบวนการที่จะแก้ปัญหา

 
กิจกรรม:

  • ใช้รูปแบบ “การคิดดังๆ”
  • ทำบัญชีประโยชน์ของการใช้กลวิธีหรือกระบวนการ

ความหวังและทำงานหนัก ไม่ใช่ความมหัศจรรย์
สุดท้าย  ดอกเตอร์สแวนสันให้ระวังว่า  “ไม่มีการรักษาที่มหัศจรรย์สำหรับการบกพร่องทางการอ่าน”  แม้แต่โปรแกรมการอ่านที่ดีก็ยังต้องการให้นักเรียนและครูยืนหยัดทำงานอย่างมั่นคงเพื่อความเชี่ยวชาญในการอ่าน
ความรู้คืออำนาจ  และการค้นพบในการศึกษาของดอกเตอร์สแวนสันได้นำเสนอโอกาสอันยิ่งใหญ่สำหรับครูและคุณพ่อคุณแม่ที่จะประเมินและคัดเลือกการช่วยเหลือทางการอ่านที่เป็นไปได้มากที่สุดที่จะนำเด็กๆ ไปสู่ความสำเร็จในการอ่าน

แปลและเรียบเรียงจาก Effective Reading Interventions for Kids with Learning Disabilities โดย Kristin Stanberry และ Lee Swanson (2009) จาก www.ldonline.org
แปลและเรียบเรียงโดย พรรษชล ศรีอิสราพร

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181