ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

การบกพร่องทางคณิตศาสตร์ ตอนที่ 1 04/01/2010

โดย Kate Garnett (1998)

ขณะ ที่เด็กๆ ที่มีความบกพร่องทางคณิตศาสตร์ถูกรวมอยู่ใต้คำนิยามว่าเป็นเด็กบกพร่องทาง การเรียนรู้ แต่แทบจะไม่มีการพูดถึงเรื่องการประเมินผลของเด็กที่บกพร่อง ทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ ในระบบโรงเรียนหลายๆ ระบบบริการการศึกษาพิเศษที่ถูกตระเตรียมกันไว้เกือบเป็นการเฉพาะด้านการ บกพร่องทางการอ่านของเด็กๆ แม้ว่าหลังจากถูกระบุว่าบกพร่องทางการเรียนรู้ แล้ว มีเด็กแค่ไม่กี่คนที่ถูกตระเตรียมความพร้อมทางการประเมินและการรักษา เกี่ยวกับความยุ่งยากทางการคำนวณไว้ให้อย่างแท้จริง
 
การ ละเลยที่เกี่ยวพันกันนี้อาจจะชักนำให้คุณพ่อคุณแม่และคุณครูเชื่อว่า ปัญหา การเรียนรู้ทางด้านการคำนวณไม่ใช่ปัญหาที่ธรรมดานัก หรือบางทีอาจไม่ร้ายแรงมาก
อย่าง ไรก็ตาม ประมาณ 6% ของเด็กในวัยเรียนมีความบกพร่องทางด้านคณิตศาสตร์อย่างเด่นชัด และในหมู่นักเรียนเหล่านี้ถูกจัดกลุ่มว่า บกพร่องทางการเรียนรู้ การยุ่งยากในการคิดคำนวณเป็นปัญหาที่แผ่กระจาย เหมือนปัญหาในการอ่าน แต่นี่ไม่ได้หมายความว่า การบกพร่องทางการอ่านทั้งหมดจะตามติดด้วยปัญหาในการคิดคำนวณเสมอ แต่มัน หมายความว่า การบกพร่องทางคณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแผ่กระจายอย่างกว้างขวางและ ต้องการการใส่ใจและการเอาใจใส่ที่เท่าเทียมกัน
 
หลัก ฐานจากผู้ใหญ่ที่บกพร่องทางการเรียนรู้ทำให้คำกล่าวทางสังคมที่ว่า มันเป็นเรื่องยอมรับได้ถ้าคณิตศาสตร์ไม่เอาไหน เป็นเรื่องไม่จริง ผลกระทบของการล้มเหลวทางคณิตศาสตร์โดยตลอดช่วงปีที่ เรียนหนังสือ ควบคู่ไปกับการไม่รู้หนังสือทางคณิตศาสตร์ในช่วงชีวิตผู้ใหญ่ สามารถทำให้ทั้งชีวิตประจำวันและอนาคตทางอาชีพพิกลพิการอย่างรุนแรง ในโลก ปัจจุบันนี้ ความรู้ทางคณิตศาสตร์ การให้เหตุผลและทักษะต่างๆ ในทางคณิตศาสตร์ไม่ได้สำคัญไปกว่าความสามารถในการอ่าน
 
ประเภทต่างๆ ของปัญหาการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์
 
สำหรับ นักเรียนที่บกพร่องทางการอ่าน เมื่อความยุ่งยากทางด้านคณิตศาสตร์ปรากฎ พวกเขาอยู่ในช่วงปานกลางถึงขั้นรุนแรง ยังมีหลักฐานอีกด้วยเหมือนกัน ว่า เด็กๆ แสดงอาการที่แตกต่างของความบกพร่องในทางคณิตศาสตร์ โชคร้ายที่ความพยายาม ทางงานวิจัยที่จะแยกแยะสิ่งเหล่านี้ยังไม่เป็นผลหรือเป็นที่ยอมรับในวง กว้าง ดังนั้น จึงต้องการความระมัดระวังเมื่อพินิจพิจารณาประเภทของระดับความแตกต่างของการ
บกพร่อง ทางคณิตศาสตร์ แต่มันก็ยังดูเหมือนชัดเจนว่า นักเรียนมีประสบการณ์ไม่ เพียงแต่ต้องแยกแยะความต่างระดับของการกลืนไม่เข้าคายไม่ออกทางคณิตศาสตร์ เท่านั้น แต่ยังต้องประสบอาการที่แตกต่างกันซึ่งต้องการการเน้นหนัก การ ปรับปรุงของชั้นเรียนมากมายหลายประเภทและบางทียังต้องการแม้แต่วิธีการที่ แตกแยกออกไป
 
การเชี่ยวชาญในความเป็นจริงด้านตัวเลขพื้นฐาน
 
นักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้มากมายที่มีความลำบากอย่างคงที่ใน “การจดจำ”
ความ เป็นจริงของตัวเลขพื้นฐานในการดำเนินการทั้ง สี่ด้าน ( บวก ลบ คูณ หาร) ทั้งๆ ที่มีความเข้าใจที่เหมาะสมและความพยายามที่มากมายที่จะทำอย่างนั้น แทนที่ จะรู้แล้วว่า 5+7=12 หรือ 4x6=24 เด็กๆ เหล่านี้กลับยังคงใช้เวลาเป็นปีๆ อย่างแข็งขันในการนับนิ้ว ใช้ดินสอขีดเขียน หรือวงกลมเขียนเปะปะ และยัง ดูเหมือนว่า ไม่สามารถพัฒนาวิธีการจำที่มีประสิทธิภาพของตนเอง
 
นี่ แสดงถึงความยุ่งยากในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ที่เด่นชัด และในกรณีเช่น นั้น มันเป็นระยะสำคัญยิ่งที่รั้งพวกเขาไว้ “จนกระทั่งพวกเขาจะรู้ความ เป็นจริงของตัวเลข
พื้น ฐาน” ยิ่งกว่านั้น พวกเขาควรจะได้รับอนุญาตให้ใช้แผ่นตารางตัวเลขขนาด กระเป๋า เพื่อที่จะสามารถดำเนินการคำนวณ การประยุกต์ใช้ และการแก้ปัญหาได้ซับซ้อนยิ่งขึ้น เมื่อนักเรียนกลุ่มนี้สามารถแสดงความ เร็วและความน่าไว้วางใจได้ในการรู้จักความเป็นจริงเกี่ยวกับตัวเลข แล้ว ตารางส่วนตัวก็ไม่ต้องใช้อีกต่อไป ตารางการบวก การคูณต่างก็สามารถถูกใช้สำหรับการลบและการหาร สำหรับการใช้เป็นพิเศษใน ฐานะเป็นการ
อ้าง อิงความเป็นจริงพื้นฐาน ตารางที่นำติดตัวได้ (ขนาดเท่ากระเป๋าหลัง สำหรับนักเรียนที่โตแล้ว) สามารถจะเป็นเครื่องคิดเลข การมีชุดของคำตอบแบบเต็มให้เห็นเป็นเรื่องมี
คุณ ค่ามาก เหมือนกับการพบคำตอบเดียวกันในสถานที่เดียวกันแต่ละครั้ง เพราะว่า การรู้ ว่าบางสิ่งอยู่ที่ไหนสามารถช่วยในการนึกถึงว่ามันคืออะไร การต้องพึ่งพิง
ตารางจนเกินไปอาจทำให้ท้อแท้ แต่ก็มีแรงจูงใจที่จะเรียนรู้อื่นๆ เพิ่มขึ้นอีก
 
วัสดุ อุปกรณ์หลายๆ อย่างในหลักสูตรนำเสนอวิธีการเฉพาะหลายวิธีที่จะใช้ช่วยสอนให้เชี่ยวชาญด้าน ความเป็นจริงทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน ข้อสันนิษฐานที่สำคัญเบื้องหลังวัสดุ อุปกรณ์เหล่านี้ก็คือว่า ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องปริมาณและการคิด คำนวณได้ถูกวางรากฐานไว้อย่างมั่นคงแล้วในความเข้าใจของเด็กนักเรียน นี่ หมายความว่า
นักเรียนสามารถแสดงและอธิบายได้แล้วว่า ปัญหาหมายถึงอะไร ในการใช้วัสดุอุปกรณ์ การใช้ดินสอขีดเขียนและอื่นๆ
ข้อเสนอแนะจากวิธีการสอนเหล่านี้มีดังนี้

  • การ ฝึกอย่างเข้มข้นและมีการโต้ตอบกับวัสดุอุปกรณ์ที่กระตุ้นและปลุกเร้า เช่น เกมส์…..ความเอาใจใส่ระหว่างฝึกฝนเป็นเรื่องสำคัญยิ่งขณะที่เวลาผ่านไป
  • การฝึกฝนแบบกระจาย หมายความว่า ฝึกมากๆ แต่ทีละน้อย…ตัวอย่างเช่น 15 นาที 2 ช่วงต่อวัน มากกว่าจะเป็นช่วงละชั่วโมงทุกวันเว้นวัน
  • จำนวนตัวเลขน้อยๆ ต่อกลุ่มตัวเลขให้เชี่ยวชาญในแต่ละครั้ง …แล้วฝึกบ่อยๆ กับการกลุ่มตัวเลขต่างๆ กัน
  • เน้นหนักที่การ “ย้อนกลับ” หรือ “การหมุนกลับ” (เช่น 4+5/5+4, 6x7/7x6) …ทั้งในแบบแนวตั้ง แนวนอนและการพูดด้วยปาก
  • ความ ก้าวหน้าในการจำตารางของนักเรียนเอง…ให้นักเรียนคอยสังเกตว่า ตัวเลขไหนและจำนวนเท่าไรที่เขาเชี่ยวชาญแล้ว และยังมีอีกมากเท่าไรที่เขา ต้องเรียนรู้จดจำ
  • ให้ คำแนะนำ ไม่เพียงแค่ฝึกฝนเท่านั้น …การสอนวิธีการคิดจากตัวเลขหนึ่งไปยัง อีกตัวเลขหนึ่ง (เช่น ตัวเลขสองเท่า, 5+5, 6+6 และอื่นๆ แล้วยังตัวเลขสองเท่าบวกหนึ่ง 5+6, 6+7 เป็นต้น)

 
ความอ่อนในการคิดคำนวณ/ ความฉลาดทางคณิตศาสตร์
 
นัก เรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้บางคนสามารถจับความคิดรวบยอดด้านคณิตศาสตร์ เป็นเลิศ แต่ไม่มีความคงที่ในการคำนวณ พวกเขาไว้วางใจไม่ได้เลยในการให้ ความ
สนใจกับสัญญลักษณ์การคำนวณ ในการขอยืมหรือการคำนวณอย่างเหมาะสม และ
ใน การเรียงลำดับขั้นตอนในการคำนวณที่ซับซ้อน นักเรียนประเภทเดียวกันนี้ยัง อาจมีประสบการณ์กับความยุ่งยากในการเชี่ยวชาญความเป็นจริงของตัวเลขพื้นฐาน
 
เป็น ที่น่าสนใจว่า นักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้บางคนอาจจะเป็นนักเรียนที่ได้รับการเยียว ยาทางคณิตศาสตร์ในระหว่างปีที่ศึกษาในชั้นประถมศึกษา เมื่อความถี่ถ้วนในการคำนวณถูกกดดันอย่างหนัก และสามารถเข้าร่วมชั้นเรียน ที่เก่งในการเรียนคณิตศาสตร์ระดับสูงขึ้น ที่ซึ่งความสามารถที่เยี่ยมยอดใน ทางความคิดรวบยอดเป็นที่ต้องการ ชัดเจนว่า นักเรียนเหล่านี้ไม่ควรจะอยู่ ในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาระดับต่ำ ที่ซึ่งพวกเขาจะยังคงแสดงความผิดพลาดที่ไร้การเอาใจใส่และทักษะการคำนวณที่ ไม่คงที่ ขณะเดียวกันก็ถูกปฏิเสธให้เข้าถึงคณิตศาสตร์ในระดับสูงขึ้นที่พวก เขาจะมีความสามารถถึง เพราะว่า คณิตศาสตร์มีอะไรมากกว่าแค่การไว้วางใจว่า ได้คำนวณได้คำตอบที่ถูกต้องเท่า นั้น มันเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเข้าถึงขอบเขตที่กว้างของความสามารถทาง คณิตศาสตร์และไม่ได้ตัดสินความฉลาดและความเข้าใจโดยการสังเกตุจากทักษะ ต่างๆ ในระดับอ่อนและต่ำกว่าเท่านั้น บ่อยครั้ง ความสมดุลย์ที่ละเอียดอ่อนต้องถูกนำมาพิจารณาด้วยในการทำงานกับนักเรียนที่ บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ ดังนี้

  • ยอมรับความอ่อนด้านการคำนวณของพวกเขา
  • ให้รักษาความพยายามอย่างไม่หยุดยั้งที่จะทำให้ทักษะต่างๆ ที่ไม่คงที่นั้นแข็งแกร่งขึ้น
  • มี ส่วนร่วมกับนักเรียนที่จะพัฒนาระบบการตรวจสอบตนเองและการชดเชยที่ชาญ ฉลาด และขณะเดียวกัน ให้ตระเตรียมการสอนคณิตศาสตร์ด้วยทางซึ่งสมบูรณ์และเต็มรูปแบบ
แปลจาก Math Learning Disabilities โดย Dr. Kate Garnett แผนกนิตยสารบกพร่องทางการเรียนรู้ของ CEC (1998) จาก http://www.idonline.org
แปลโดย พรรษชล ศรีอิสราพร

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก