ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

การพัฒนาการรับรู้เกี่ยวกับตัวเลขแต่เนิ่นๆ ของเด็กที่บกพร่อง 01/12/2009

โดย แบรดเล่ย์ เอส วิทเซล, คริสทิน เจ เฟอร์กูสัน และ เดล เอส บราวน์

นัก เรียนแอลดีในระดับโรงเรียนประถมศึกษาและระดับอนุบาลบ่อยครั้งที่ต้องดิ้นรน ที่จะเรียนรู้คณิตศาสตร์ พวกเขามีความยุ่งยากในการนับเลข การเรียกชื่อตัวเลข การจดจำตัวเลข และการเขียนมันลงไป ปัญหาพื้นฐานนี้เรียกว่า “การรับรู้เกี่ยวกับตัวเลข” “การรับรู้เกี่ยวกับตัวเลข” ที่มีต่อคณิตศาสตร์ เหมือน “ความเข้าใจในการอ่าน” ที่มีต่อการอ่าน นักเรียนแอลดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่บกพร่องทางการคิดคำนวณหรือ dyscalculia จะมี “การรับรู้เกี่ยวกับตัวเลข” น้อยกว่าเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกันที่เป็นปกติ
 
นัก เรียนที่มีปัญหาเรื่อง “การรับรู้เกี่ยวกับตัวเลข” จะมีความยุ่งยากอย่างใหญ่หลวงในเรื่องความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ดังนั้น แม้ว่าเด็กบางคนอาจจะจำได้ว่า 6x8
เท่ากับ 48 พวกเขาอาจจะไม่เข้าใจว่า ฮอทดอก 6 ห่อ (ห่อละ 8) เท่ากับมี 48 อัน
 
บทความนี้จะอธิบายวิธีการ 3 วิธีที่จะทำให้การรับรู้เรื่องตัวเลขของนักเรียนดีขึ้น ดังต่อไปนี้

  • ให้ประสบการณ์เกี่ยวกับตัวเลขที่เป็นรูปธรรมแก่นักเรียนควบคู่ไปกับบทเรียนที่เป็นนามธรรมมากขึ้น
  • สอนการใช้ทักษะต่างๆ จนกระทั่งพวกเขาเชี่ยวชาญ
  • สอนพวก เขาให้พูดคุยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เขียนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์และเข้าใจถ้อยคำ ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ ให้สนทนากับพวกเขาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ โดยใช้ คำนิยามทางการคิดคำนวณใหม่ๆ

 
ประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมสำหรับนักเรียน
 
นี่ เป็นวิธีการบางอย่างที่คุณสามารถช่วยเด็กที่ยังเยาว์ของคุณทำการนับดังๆ ด้วยตัวเลขที่เป็นจริงของวัตถุที่เป็นจริง คุณจะไม่อยากให้นักเรียนของคุณ คิดว่าการนับเหมือนกับการร้องเพลงเป็นแน่

  • ให้พวกเขานับวัตถุหลายๆ อย่างๆ เช่น หมีพลาสติก เบี้ยนับ ท่อนน้ำแข็ง บล็อก เก้าอี้ในห้องเรียน และสิ่งอื่นๆ ที่น่าสนใจ
  • ให้เด็กๆ ใช้นิ้วมือนับ นับนิ้วมือจากซ้ายไปขวา นี่จะช่วยให้พวกเขาเชื่อมโยงการนับนิ้วจากซ้ายไปขวา
  • ให้ พวกเขานับวัตถุภายนอกห้องเรียน ทำให้การนับเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน คุณอาจขอให้เด็กๆ นับรถยนตร์ ต้นไม้ แมลง และจำนวนเท้าในห้องเรียน เมื่อเป็นไปได้ ให้เชื่อมโยงการนับกับกิจกรรมซึ่งพวกเขาต้องการจะบรรลุอย่างจริงๆ เช่น การตัดเค้กซึ่งทุกคนในชั้นเรียนจะได้ชิ้นที่เท่ากัน
  • การฝึกการนับวัตถุจริงๆ ควรจะทำให้เชี่ยวชาญก่อนที่นักเรียนจะทำแบบฝึกหัดในสมุดเรียน ซึ่งมีรูปของวัตถุเป็นจำนวนเฉพาะ

 
สอนทักษะให้เชี่ยวชาญ

  • หลีก เลี่ยงการยกย่องความพยายามของเด็ก โดยที่ไม่ได้ให้เด็กปฏิบัติที่ถูกต้องชัดเจน ให้การสนับสนุนในขณะที่ช่วย ให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง นี่คือตัวอย่างบางตัวอย่าง;

- “นับได้ดี จอห์น เธอเรียงลำดับตัวเลขได้ทั้งหมด แต่เธอกระโดดข้ามเลขไปหนึ่งจำนวน มานับด้วยกันเถอะ 1,2,3,4,5,6…”
- “ครูดีใจที่เธอยังคงทำงานต่อเนื่อง แม้ว่าเธอจะยังล้าหลังเขา สูตรคูณเลข 7 นั้นยาก ครูเรียกว่ามันเป็นตารางแสนยาก เอาละ แล้วทำไมเธอไม่ท่องไปพร้อมกับครูล่ะ เรามาเริ่มต้นตรงที่เธอพบความยุ่งยาก กันเถอะ 7 คูณ 6 เท่ากับ 42 7 คูณ 7 คือ…49”

  • ให้โอกาสนักเรียนมากๆ ที่จะแก้ปัญหากับทักษะเรื่องตัวเลขที่คุณกำลังสอนอยู่ นี่คือตัวอย่าง:

- “จอห์น แมรี่ ครูจะให้กระดาษสองแผ่นกับพวกเธอ แต่ละแผ่นสำหรับการบ้านชิ้นนี้ เราจะมีกระดาษใช้ได้จำนวนกี่หน้า”
- “ระหว่างทางกลับบ้านวันนี้ ให้ลองนับจำนวนไฟจราจร แล้วนับจำนวนไฟเขียว และจำนวนไฟแดงที่เธอเห็นด้วย เมื่อเธอเจอครูครั้งต่อไป บอกครูด้วยว่าเธอ เห็นแต่ละอย่างมากเท่าไร”
 
ความเชื่อมโยงด้านภาษา
สอน เด็กๆ ของคุณด้านภาษาคณิตศาสตร์ ในอีกทางหนึ่งมันถือเป็นอีกภาษาหนึ่ง ให้แน่ใจ ว่า พวกเขาเข้าใจความหมายของสัญญลักษณ์และคำนิยามทางคณิตศาสตร์อย่างถี่ถ้วน ตัวอย่างเช่น การใช้ภาษาที่บอกค่าจากตำแหน่งของตัวเลขสามารถช่วยเด็กๆ ให้พัฒนาการรับรู้ว่า ตัวเลขต่างๆ มีความหมายและรูปแบบ การตีความหมายตัวเลขอย่างเจาะจงลงไปเช่น 12 เท่ากับ 10 และ 2 18 เท่ากับ 10 และ 8 และ 25 เท่ากับ 20 และ 5 การใช้วัตถุที่เป็นรูปธรรมซึ่งสามารถจับกลุ่มด้วย 10 เช่น บล็อกสิบอันสามารถช่วยพัฒนาการเชื่อมโยงนี้
 
ให้ เชื่อมโยงนิยามและสัญญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์กับหลายๆ ตัวอย่างว่ามันใช้อย่างไร ให้ใช้หนังสือนิยาย หนังสือสารคดี แผนที่ ปฏิทิน รูปร่างทางสถาปัตยกรรม กราฟและสถิติจากหนังสือพิมพ์ พยายามเชื่อมโยงความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ หลายๆ อย่างกับชีวิตและความสนใจของนักเรียน
 
ให้ สอนคำหลักในทางคณิตศาสตร์ ตัวอย่างเช่น สอนพวกเขาว่า “และ” หมายถึงการบวก (นี่เป็นหนังสือ 4 เล่มและนี่เป็นหนังสือ 5 เล่ม เรามีหนังสือทั้งหมดกี่เล่ม) สอนพวกเขาว่า 3 กลุ่มของ 5 หมายถึง 3 คูณ 5 ให้ตัวอย่างเกี่ยวกับชีวิตประจำวันเขาเยอะๆ ตั้งแต่เริ่มอาหารมื้อเช้า ไปถึงแวะไปร้านขายของชำจนกระทั่งถึงเวลานอนประจำวัน
 
บทสรุป
ประเทศ สหรัฐอเมริกาต้องการพัฒนาอย่างมากในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของประชาชน เป็น จุดอ่อนเมื่อเปรียบเทียบระดับนานาชาติกับคณิตศาสตร์ของสิงคโปร์ และถูก เรียกร้องให้ปฏิรูปด้านคณิตศาสตร์ นักเรียนซึ่งไม่เรียนรู้คณิตศาสตร์จะพบ ความยุ่งยากในเวลาต่อมาเรื่องการจัดการเรื่องการเงินของเขา ประชาชนจำนวน นับไม่ถ้วนจะพบความลำบากในการเข้าใจความคิดรวบยอดที่สำคัญเช่น ความแตกต่างระหว่างหนี้ของชาติและการขาดดุลย์งบประมาณของชาติ บางคนไม่ได้ ตระหนักว่า หนึ่งพันล้านมีค่าหนึ่งพันเท่าของหนึ่งล้าน ความไม่สามารถที่จะมองเห็นภาพ ความคิดเกี่ยวกับตัวเลขได้ดีมีผลร้ายต่อประชาธิปไตย เนื่องจากประชาชนไม่ สามารถจะเข้าร่วมการอภิปรายเกี่ยวกับงบประมาณระดับชาติได้อย่างรู้เท่าทัน
 
ให้ ประสบการณ์ทางด้านคณิตศาสตร์ที่เป็นรูปธรรมแก่นักเรียนของคุณ สอนทักษะให้ จนพวกเขาเชี่ยวชาญ และคุยกับเขาด้วยภาษาทางคณิตศาสตร์โดยให้แน่ใจว่าพวกเขา เข้าใจมัน นี่จะช่วยสร้างความแตกต่างอย่างยิ่งใหญ่ในชีวิตของพวกเขา

แปล และเรียบเรียงจาก Developing Early Number Sense for Students with Disabilities โดย Bradley S. Witzel, Christine J. Ferguson และ Dale S. Brown
แปลและเรียบเรียงโดย พรรษชล ศรีอิสราพร

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181