ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

การสอนทักษะทางสังคมให้กับเด็กที่ยังไม่มี 30/10/2009

โดย Thomas MacIntyre (2003)

บท ความนี้เขียนโดย ด็อกเตอร์แม็คอินไทร์จาก BehaviorAdvisor.com ซึ่งนำมาใช้ให้เหมาะสมกับนักเรียนทั้งหลายที่มีปัญหาด้านทักษะทางสังคม โดย เฉพาะอย่างยิ่งนำมาใช้ประโยชน์กับนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้และสมาธิ สั้น นักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้มักจะมีความยุ่งยากในการเข้าใจสิ่ง ที่คนอื่นๆ ทำ พูดหรือแสดงออกในทุกๆ อย่าง พวกเขามีความปัญหากับ

  • การฟัง (การทำความเข้าใจกับสิ่งที่ใครบางคนบอกเขา)
  • การพูดคุย (การกล่าวสิ่งที่พวกเขาต้องการสื่อความหมาย)
  • การสังเกตหรือการตีความการแสดงออกทางสีหน้าและภาษาท่าทาง
  • การวางแผนและการควบคุมสิ่งที่พวกเขาทำ

ข้อคิดเหล่านี้จะช่วยเหลือคุณครูซึ่งมีนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ในชั้นเรียนของตน

คุ้นเคยกับความคิดเห็นเหล่านี้หรือไม่
“ผมบอกให้เขาหยุดทำสิ่งนั้น แต่เขาก็ยังคงทำอยู่ร่ำไป สมแล้ว เด็กคนนี้คงไม่มีคนเลี้ยงมา”

“เด็กคนนั้นรู้ว่า เขาควรจะประพฤติตัวอย่างไร แต่เขาเลือกประพฤติตัวผิดๆ”

“ฉันถามเขาว่า เขาควรจะทำอย่างไร เขาสามารถตอบฉันได้ เขารู้ดี แต่ทำไมเขาไม่ทำ”

เด็ก บางคนรู้ “ในทางปัญญา” ว่าควรจะทำอย่างไร แต่พวกเขาไม่เคยทำมาก่อน “ในทางปฏิบัติ” มันเป็นเรื่องยากสำหรับพวกเราทุกคนที่จะแสดงความประพฤติที่ แตกต่างอย่างสิ้นเชิงในทันทีทันใดแทนที่สิ่งที่เขาประพฤติมาเป็นปีๆ การ เปลี่ยนนิสัยไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพื่อให้ได้ความคิดว่า มันเป็นอย่างไร ลองกิจกรรมนี้ดู

ลงมือทำกิจกรรมเดี๋ยวนี้ (ใช่ …เดี๋ยวนี้เลย)

เอา มือกอดอก สังเกตว่า แขนหนึ่งเอื้อมมาเหนืออีกข้างหนึ่ง โดยมือสอดไปใต้ แขนช่วงบน ในขณะเดียวกัน มือของแขนข้างที่ต่ำกว่าจะพักอยู่บนแขนส่วนบนของอีกข้าง หนึ่ง คราวนี้ คลายแขนออกและสับเปลี่ยนท่าทางเพื่อว่า แขนข้างที่อยู่ข้างใต้กลับมาอยู่ ด้านบน เอาละ มันกินเวลาคุณชั่วครู่แต่คุณก็สามารถทำได้ รู้สึกไม่ค่อยสบายและแปลกๆ ใช่ไหม ตอนนี้ เอาแขนออกแล้วพับอีกทางหนึ่งใหม่ อีกครั้งและอีก ครั้ง ความจริงแล้ว ที่เหลือของชีวิตคุณ ขอให้ทำโดยวิธีใหม่นี้ อย่าทำผิดหรือพลิกกลับไปอย่างเก่าๆ

คิด ดูซิว่า นั่นเป็นเรื่องยากใช่ไหม คราวนี้ลองจินตนาการถึงสิ่งที่เราจะขอให้เด็กที่ ไม่มีทักษะทางสังคมของเราทำ เรากำลังคาดหวังพวกเขาให้เปลี่ยนพฤติกรรมอย่าง ทันทีทันใด ซึ่งตราตรึงอยู่ในสมองของพวกเขาอย่างลบไม่ออก เขารู้สึก “สบายๆ” และถูก “กำหนด” โดยคนอื่นๆ ซึ่งตีตราพวกเขาว่าเป็นบุคคลประเภท “ชอบทำอย่างนั้น” เด็กๆ ซึ่งแสดงพฤติกรรมผิดๆ ในขณะที่พวกเขาตอบโต้กับคนอื่นๆ จะมีทางเดินที่ยาวไกลและลำบากอย่างใหญ่หลวง เพื่อจะเดินทางที่เปลี่ยนแปลง ไปสู่ “ทางที่ดีกว่า” ขอบคุณที่พวกเขามีคุณครูที่อดทนและให้การสนับสนุนอย่างพวก คุณ พวกคุณจะสนับสนุนให้พวกเขาต่อสู่ดิ้นรนเพื่อที่จะแสดงถึงพฤติกรรม ใหม่ๆ คุณจะมุ่งเป้าไปที่ความก้าวหน้ามากกว่าความสมบูรณ์แบบ เห็นหลักฐาน ได้จากการทำสิ่งใหม่มากกว่าร่องรอยของการทำอย่างเก่า

ทำไมเด็กของเราจึงไม่มีทักษะทางสังคม

ทักษะ ทางสังคมหมายถึง การติดต่อสื่อสาร การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การจัดการเรื่องของตนเอง และความสามารถในการสัมพันธ์กับเพื่อนรุ่นราวคราว เดียวกัน ซึ่งยอมให้ใครเริ่มต้นหรือรักษาสัมพันธภาพทางสังคมในทางบวกกับคนอื่นๆ ส่วนบกพร่องหรือส่วนเกินในพฤติกรรมทางสังคมจะเกี่ยวข้องกับการเรียน การสอน และบรรยากาศและการประสานเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสมในชั้นเรียน ความ สามารถทางสังคมเกี่ยวโยงกับการยอมรับของเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน และของ คุณครู รวมทั้งความสำเร็จก่อนและหลังจบจากโรงเรียนแล้ว

เด็ก เยาว์วัยส่วนมากไม่เคยเรียนรู้ “ความประพฤติที่เหมาะสม” ในสถานการณ์ทางสังคมซึ่งพวกเขาต้องมีปฏิสัมพันธ์หรือรับมือกับคนอื่นๆ บาง ทีพวกเขาไม่ได้รับคำแนะนำนี้ที่บ้าน ไม่ว่าจะเพราะขาดการฝึกอบรมจากผู้สูง วัยหรือเพราะเป็นอีกระบบของคุณค่าและความประพฤติที่ถูกสอนมา บางทีพวกเขาก็มีแบบอย่างที่ดีที่บ้านและเพื่อนบ้านซึ่งส่งเสริมความประพฤติ ที่ “เหมาะสม” แต่เขาไม่ได้หยิบขึ้นมาใช้เช่นเดียวกับเด็กๆ ส่วนใหญ่ ช่างเหมือนกับเด็กบางคนเรียนรู้ที่จะอ่านโดยปราศจากคำแนะนำที่ เป็นทางการก่อนมาโรงเรียน และบางคนต้องการกระบวนการที่เป็นโครงสร้างในการ สอนการอ่าน

การ แสดงทักษะทางสังคมที่ด้อยทำให้เป็นไปได้ที่จะถูกคนอื่นๆ ปฏิเสธ (เด็กคนอื่นไม่ชอบเขาและไม่สังคมกับเขา) เด็กคนอื่นๆ ของเราทำงานหนักเพื่อที่จะแสดงพฤติกรรมใหม่ที่ดีขึ้น ซึ่งพวกเขาได้รับการบอกกล่าวให้แสดง แต่ยังถูกปฏิเสธจากคนอื่นๆ บางทีเนื่องจากชื่อเสียงที่ผ่านมาหรืออาจจะเป็นเพราะว่า คนอื่นๆ ไม่ชอบการแสดงออกที่เงอะงะและไม่มั่นใจของพฤติกรรมอย่างใหม่ที่ถูกเรียน รู้ ซึ่งดูไม่เป็น “ธรรมชาติ” หลายครั้ง นักเรียนของเราอาจจะยังล้มเหลว เพราะว่าพวกเขามีความยุ่งยากในการตรวจสอบ และควบคุมความประพฤติของตนเองเมื่อปฏิกิริยาที่ไม่คาดหวังเกิดขึ้น พวกเขา อ่านสัญญาณเตือนทางสังคมจากคนอื่นๆ ผิด ตัวอย่างเช่น

  • ไม่ได้สังเกตการแสดงการปฏิเสธของคนอื่นซึ่งอาจเป็นคำพูดหรือไม่เป็นคำพูด เรียกว่า “หลงทาง”
  • การ มองว่า การจู่โจมทางสังคมที่เป็นบวกของคนอื่นเป็นการคุกคาม ถ้าเคยถูกปฏิเสธเพราะ พฤติกรรมของตัวเขาเองไม่ว่าจะในอดีตหรือปัจจุบัน พวกเขาแทบจะไม่มีโอกาสได้ แสดงพฤติกรรมที่ “ถูกต้อง” ในสถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติและพลาดที่จะทำให้การแสดงออกทางความสามารถด้าน ความประพฤติเป็นจริงขึ้นมา

เด็ก คนอื่นๆ ของเราจะไม่ตอบโต้ในทางบวกต่อการสอนทักษะทางสังคมเพราะว่าพวกเขาไม่เห็นว่า ทักษะเหล่านี้จำเป็นหรือเป็นประโยชน์ ตัวอย่างเช่น

  • ช่วยเหลือคุณครู
  • หลีกเลี่ยงการมีความขัดแย้งกับผู้ใหญ่
  • ไม่เห็นด้วยด้วยท่าทีที่ไม่เผชิญหน้า

คราวนี้ พฤติกรรมที่พวกเขาแสดงออกดูเหมือนจะเหมาะสมแล้ว พวกเขาได้รับความสนใจ บรรลุเป้าหมายหรือมีความสามารถที่เขาค้นหา

บันทึกถึงครูของนักเรียนที่มีปัญหาด้านความประพฤติและอารมณ์
ถ้า คุณเป็นครูของนักเรียนที่มีปัญหาด้านความประพฤติ คุณจะสอนทักษะทางสังคมให้ กับนักเรียนของคุณไหม คุณจะสอนเรื่องนี้เป็นบทเรียนประจำวันที่ออกแบบไว้ หรือไม่ ถ้าไม่ ทำไมถึงไม่ การนิยามถึงคุณลักษณะของเด็กที่มีปัญหาด้าน ความประพฤติและอารมณ์ที่ไม่เหมาะสมหมายถึง ความไม่สามารถของพวกเขาที่จะสร้างและประคองความสัมพันธ์ทางบวกไว้ได้ เด็ก เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะถูกปฏิเสธมากกว่าเด็กโดยทั่วไป 3 เท่า เพราะพฤติกรรมของพวกเขา มันถึงเวลาที่จะใช้มากกว่าระบบการให้คะแนนในการ จัดการกับพฤติกรรมของนักเรียนเหล่านี้ เราต้องการมากกว่า “หลักสูตรควบคุม” เราต้องสอนทักษะเหล่านี้ที่เราอยากจะเห็น

การฝึกทักษะทางสังคมเป็นอย่างไร

ถ้า เด็กของเราไม่มีทักษะ เราจำเป็นต้องสอนเขา การฝึกทักษะทางสังคมเป็นคำโดย ทั่วไปสำหรับการสอนในเรื่องความประพฤติซึ่งส่งเสริมให้เกิดปฏิกิริยาทางบวก หรือทางเพิ่มพูนมากขึ้นกับคนอื่นๆ เราสอนทักษะทางสังคมให้กับนักเรียนซึ่งในปัจจุบันไม่มีทักษะทางสังคมเพื่อ ส่งเสริมการยอมรับจากครู ผู้ใหญ่คนอื่นๆ และเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน โปรแกรมการฝึกทักษะทางสังคมอาจจะรวมดังนี้
= มารยาทและปฏิกิริยาทางบวกกับคนอื่นๆ
- การเข้าหาคนอื่นๆ ด้วยท่าทางที่สังคมยอมรับ
- การขออนุญาตก่อนลงมือกระทำ
- การผูกมิตรและรักษาความเป็นเพื่อนไว้
- การแบ่งปันของเล่นและปัจจัยต่างๆ
= พฤติกรรมในชั้นเรียนที่เหมาะสม
- นิสัยการทำงาน/ ทักษะที่ใช้ในการเรียน
- การฟัง
- การเอาใจใส่ต่องาน
- การทำตามคำแนะนำ
- การแสวงหาความสนใจอย่างเหมาะสม
- การยอมรับผลที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมของตนเอง
= วิถีทางที่ดีขึ้นในการจัดการกับความคับข้องใจและความโกรธ
- การนับถึง 10 ก่อนมีปฏิกิริยาตอบโต้
- การหันเหตัวเองไปสู่งานที่ชื่นชอบ
- การเรียนรู้ที่จะใช้บทสนทนาข้างในใจเพื่อทำให้ตัวเองเย็นลงและสะท้อนปฏิกิริยาตอบกลับที่ดีที่สุด
= วิถีทางที่เป็นที่ยอมรับเพื่อขจัดความขัดแย้งกับคนอื่น
- การใช้คำพูดทดแทนการปะทะทางร่างกาย
- การแสวงหาความช่วยเหลือจากคุณครูหรือหมู่คณะที่ช่วยขจัดปัญหาความขัดแย้ง

ตัวอย่างทักษะทางสังคมสำหรับช่วงวัยก่อนเข้าโรงเรียน

  • ทักษะที่จะช่วยเหลือการสอนในเวลาต่อมา (ตัวอย่างเช่น ทักษะการฟัง)
  • ทักษะที่จะช่วยเพิ่มพูนความสำเร็จในโรงเรียน/ การดูแลประจำวัน (ตัวอย่างเช่น การถามคำถาม)
  • วิธีผูกมิตรและคบเพื่อน (ตัวอย่างเช่น การขอร้องบางอย่าง การขอให้เล่นด้วย)
  • ความรู้สึก

- การระลึกรู้ถึงความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น (เรียนว่า “ทฤษฎีทางจิตใจ” สามารถที่จะคาดเดาว่าคนอื่นรู้สึกอย่างไรในสถานการณ์หนึ่งๆ และเข้าใจว่า คนอื่นๆ อาจจะไม่ได้รู้สึกเหมือนที่เขารู้สึก)
- รับมือกับความรู้สึกทางลบได้

  • ทางเลือกที่เป็นทางบวกและไม่ก้าวร้าวเมื่อต้องเผชิญกับความขัดแย้ง
  • การจัดการกับความกดดัน

- จะทำอย่างไรเมื่อคุณทำผิด
- การจัดการกับการเย้าแหย่และการหัวเราะเยาะ

การให้คำนิยามทักษะทางสังคม
ทักษะ ทางสังคมหมายถึง ความสามารถที่จะโต้ตอบต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ด้วยท่าทีที่จะก่อให้เกิดผล กระทบระหว่างบุคคลในทางบวก รวมทั้งการประคองความสัมพันธ์และเพิ่มพูนความสัมพันธ์ด้วย ความสามารถในทาง สังคมหมายถึง การปฏิบัติตนในทางสังคมโดยทั่วไปของคนๆ หนึ่ง เป็นการผสมผสานของทักษะทางสังคมโดยทั่วๆ ไป ความสามารถทางสังคมสามารถทำให้ดีขึ้นได้โดยการสอนพฤติกรรมทางสังคม /ทักษะทางสังคม

ขั้นตอนในการสอนทักษะทางสังคมที่ควรปฏิบัติตาม
โดย พื้นฐานแล้ว เราสอนทักษะทางสังคมเหมือนที่เราสอนวิชาการ ประเมินระดับของ นักเรียน ตระเตรียมวัสดุการสอน แนะนำอุปกรณ์ ทำแบบจากวัสดุ แล้วให้พวก เขาทำตามและให้ผลตอบกลับ ถ้าคุณซื้อหลักสูตรทักษะทางสังคมมา บางทีมันอาจ จะรวมถึงเครื่องมือประเมินผล บทเรียนและกิจกรรมต่างๆ การสอนก็เป็นเรื่องของการทำตามคำแนะนำในกล่อง แต่ถ้าคุณพัฒนาหลักสูตรด้วย ตนเองและออกแบบบทเรียน นี่เป็นเรื่องเฉพาะสำหรับคุณ

ก่อนการสอน

  • คัดเลือกนักเรียนที่ต้องการฝึกทักษะโดยผ่านการประเมิน
  • กำหนด ตัวช่วยสร้างพลังซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้นักเรียนเข้าร่วมบทเรียนและพยายามทำ พฤติกรรมแบบใหม่ (ตัวอย่างเช่น ให้คะแนนกลุ่มและ/หรือคะแนนแต่ละบุคคล ให้รางวัลจับสลาก การให้ย้ายสุนัข กระดาษไปตามกำแพงไปยังชามอาหารแล้วได้รับรางวัล)
  • แยก แยะและกำหนดพฤติกรรมเป้าหมายเป็นพิเศษที่ต้องการจะสอน ตัดสินว่าพฤติกรรมใดที่ต้องการ กำหนดพฤติกรรมอย่างถี่ถ้วนเพื่อให้ทุกๆ คนเห็นด้วยว่า ต้องการให้บรรลุอะไร หรือสิ่งที่นักเรียนสามารถจะทำได้หรือแสดงออกหลังจาก การสอนแล้ว
  • งานซึ่งวิเคราะห์พฤติกรรมเป้าหมายต่างๆ

การสอนทักษะทางสังคม 

  • จับ กลุ่มเด็ก 2-5 คน ที่มีความบกพร่องทางทักษะที่คล้ายคลึงกัน กลุ่มเล็กอย่างนี้จะช่วยให้เด็ก มีโอกาสสังเกตคนอื่นๆ ให้ฝึกกับเพื่อนๆ รุ่นราวคราวเดียวกันและดูฟีดแบค
  • เอาสิ่งที่เป็นอุปสรรคของการเรียนออก (ตัวอย่างเช่น ปิดประตูชั้นเรียน)
  • พบปะกันในช่วงเช้าของวันเพื่อว่าเด็กจะได้ใส่ใจและมีวันทั้งวันได้ฝึกฝนสิ่งที่เรียนในบทเรียน
  • แนะ นำโปรแกรม เรื่องเนื้อหา และทำไมมันจะเป็นประโยชน์ต่อพวกเขาและอย่างไร (ตัวอย่างเช่น มันจะช่วยให้พวกเขากลับไปสู่ชั้นเรียนการศึกษาโดยทั่ว ไป ช่วยพวกเขาให้ได้งานหรือรักษางานไว้ได้ มีผลในการทำความลำบากให้กับคุณ ครู พ่อแม่ และสร้างความประทับใจให้กับเพื่อนหรือพ่อแม่ของเพื่อน หรือแม้ กระทั่งทำให้ตำรวจปล่อยตัวไปเมื่อพวกเขาถูกเรียกตัวให้หยุด)
  • ตั้ง กฎและกติกาต่างๆ กำหนดพฤติกรรมที่คุณจะให้รางวัลระหว่างบทเรียน เมื่อคนๆ หนึ่งพูด ให้ความสนใจ คิดและทำในทางบวก ทั้งหมดนี้อาจจะต้องการการสอนในบทเรียนแรกๆ
  • สอน ทักษะที่ง่ายที่จะเรียนรู้ก่อนอื่นเพื่อให้มั่นใจว่านักเรียนและครูจะประสบ ความสำเร็จ ใช้รูปแบบการสอนแบบธรรมเนียมนิยมในการบอกกล่าวและการแสดงให้ดู
  • ให้ชี้ทที่บอกขั้นตอนที่ตระเตรียมไว้

- เรียนรู้ว่าจะทำอย่างไรเมื่อทำผิด
- แสดงบทบาทอย่างน้อยที่สุดในสถานการณ์ที่แตกต่างกันสองอย่างแสดงทั้งพฤติกรรมที่ถูกและผิด

  • ทำฟีดแบ็คที่ให้การสนับสนุนมากๆ และคำชมเชยที่เป็นการเฉพาะ

- จากตนเอง
- จากเพื่อน
- จากคุณครู

  • ฝึกฝน ฝึกฝน และฝึกฝนผ่านการให้การบ้าน การทบทวนบทเรียน การมอบหมายงานในสถานการณ์จริง และ “การทดสอบ ” ตัวอย่างเช่น นักเรียนของคุณได้เรียนรู้มาโดยตลอดเรื่องการจัดการกับปฏิกิริยากับบุคคล ที่เหนือกว่า ส่งนักเรียนไปให้ทำงานบางอย่างและต้องเผชิญหน้ากับครูที่ไม่ รู้จัก กล่าวหานักเรียนว่า “ปลอมแปลง” ลายเซ็นอนุญาตของครู ดูว่า นักเรียนแสดงออกแย่มากหรือไม่ วิ่งหนี หรือหยาบคาย คุณครูสามารถพูดได้ว่า “นี่เป็นการทดสอบ พวกเธอจะทำอย่างไร”
  • สอน นักเรียนที่มีสถานะสูงกว่าคนอื่นในกลุ่มก่อน ให้พวกเขาแสดงพฤติ-กรรมใหม่ๆ และให้รางวัล ให้นักเรียนที่มีสถานะต่ำกว่าแสดงพฤติกรรมบ้างหลังจากผู้นำทำ ไปก่อนแล้ว ทำให้แน่ใจว่าบทเรียนน่าสนใจและสนุกเพื่อให้เด็กๆ ตั้งใจรอคอยบทเรียนอีก เริ่มต้นการสอนโดยให้ “ทำตามคำแนะนำ” อาจจะให้เขาทำอาหารหรือเล่นกล แล้วจึงเข้าสู่ตัวอย่างในบทเรียนที่โรงเรียน มากขึ้น
  • ส่งเสริมการตัดสินชี้ขาดต่อสถานการณ์ต่างๆ

- ฝึกฝนในสถานการณ์ต่างๆ และภายใต้สภาพการณ์ที่หลากหลาย
- ให้กำลังใจและช่วยฝึกนักเรียนในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรม-ชาติ
- ให้นักเรียนส่งใบรายงานเกี่ยวกับตนเองสำหรับแต่ละช่วงเวลาในชั้นเรียน
- พบปะนักเรียนเพื่อพูดคุยเรื่องการแสดงออกตลอดช่วงที่อยู่ในโรง-เรียนหรือตลอดเวลา

  • ตรวจ สอบพฤติกรรมข้างนอก นอกเหนือจากในบทเรียน ติดตามการแสดงออกทางพฤติกรรมสำหรับการทำแผนการศึกษา เฉพาะบุคคล (IEP) แรงจูงใจของนักเรียนและอื่นๆ ให้นักเรียนตรวจสอบตนเอง ประเมินตนเองเพื่อที่จะสร้างแรงจูงใจหรือการควบคุมภายใน
  • จดจำและให้รางวัลการแสดงออกในสถานการณ์ที่โรงเรียนทุกๆ วัน เมื่อคุณมองเห็นสถานการณ์ที่ดีสำหรับนักเรียนที่จะแสดงพฤติกรรม “ใหม่” ให้สนับสนุนการใช้ด้วยการบอกเป็นนัยและบอกใบ้ให้นุ่มนวลเท่าที่จะ เป็นไปได้ แต่แข็งแกร่งเท่าที่จำเป็น

ตัวอย่าง :

นักเรียนคนหนึ่งกำลังจะได้รับการแสดงความยินดีโดยคุณครูใหญ่ เนื่องจากเป็น “นักเรียนที่พัฒนามากที่สุด” ทางด้านความประพฤติ เมื่อครูใหญ่ใกล้เข้า มา คุณครูควรกระซิบที่หูของนักเรียนคนนั้นว่า “จำไว้นะ เมื่อครูใหญ่กล่าวชมเชย เธอควรไหว้พร้อมกล่าวคำขอบคุณ”
การใช้คำพูดสำหรับนักเรียนที่มีความก้าวหน้าทางด้านสังคมมากขึ้น 
“เธอควรทำอย่างไร เมื่อครูใหญ่กล่าวชมเชยเธอ”

นักเรียนคนนั้นต้องตัดสินใจเองว่าจะมีกิริยาที่ถูกต้องอย่างไร

การฝึกทักษะทางสังคมช่วยให้แต่ละคนมีทางเลือกที่ดีขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ

กิจกรรม

  • ลองดูบัญชีทักษะทางสังคมที่ต้องการโดยทั่วไปเหล่านี้ แล้วนึกถึงนักเรียน ที่ท่านรู้จักว่า ใครจะได้ประโยชน์มากที่สุดจากคำแนะนำในแต่ละข้อนี้ (คุณอาจใช้บัญชีนี้เป็นเครื่องมือการประเมินและมอบหมายให้นักเรียนแต่ละ กลุ่มฝึกทักษะ)

- การพูดขอร้องอย่างสุภาพและขอบคุณ
- การจัดการเกี่ยวกับความโกรธและความคับข้องใจให้ดีขึ้น
- การถามคำถามอย่างเหมาะสม
- การยอมรับผลการกระทำที่ครูจัดการ
- การยอมรับความรับผิดชอบสำหรับพฤติกรรมของตนเอง
- การจัดการกับการพ่ายแพ้/ ความคับข้องใจ/การทำผิด/ ว่ากล่าวคนอื่นด้วยท่าทีที่เหมาะสม (ไม่ตะโกนหรือก้าวร้าวทางร่างกาย)
- การเริ่มต้นบทสนทนากับคนอื่น
- การยอมรับคำว่า “ไม่” เป็นคำตอบได้
- การร่วมกลุ่มกิจกรรมได้ก้าวหน้า
- การทำตามคำแนะนำ
- การผูกมิตรกับเพื่อน
- การชมเชยคนอื่นๆ
- การเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น (และยอมรับพวกเขาว่า เป็นเรื่องธรรมดา)
- การประนีประนอมในเรื่องต่างๆ
- การร่วมมือกับเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน
- การรับมือกับการหัวเราะเยาะและการข่มขู่หรือก้าวร้าวด้วยคำพูดหรือทางร่าง กาย
- การแสวงหาความสนใจด้วยท่าทีที่เหมาะสม
- การคอยโอกาสของเราได้

  • กำหนดพฤติกรรมต่อไปนี้เป็นการพิเศษเฉพาะซึ่งคุณอาจตัดสินใจสอน

- การขออนุญาต
- การหลีกเลี่ยงการต่อสู่กับคนอื่น
- การขัดจังหวะคนอื่นๆ อย่างเหมาะสม
- การแสดงน้ำใจนักกีฬา

  • งานซึ่งวิเคราะห์พฤติกรรมดังต่อไปนี้ (บรรยายพฤติกรรมย่อยที่ต้องแสดงออกเรียงตามลำดับ (ถ้ามีการเรียงลำดับ) เพื่อแสดงถึงพฤติกรรมที่ต้องการที่คุณระบุและกำหนด)

- การฟัง
- การทำตามคำแนะนำ
- การนับถือความคิดเห็นของคนอื่น
- การยอมรับคำชมจากคนอื่น
- การขอโทษเมื่อทำผิด
- การทักทายคนอื่น

  • คนคุ้นเคย/ ครอบครัว/ เพื่อน
  • คนไม่คุ้นเคย
  • ผู้ใหญ่
  • เพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน
    • เพศเดียวกัน
    • ต่างเพศ
    • คนอ่อนกว่า

ปิดท้าย
เราต้องการต่อสู้เพื่อเป้าหมายที่สูงส่งของนักเรียนทั้งหมดของเราในการมีปฏิ สัมพันธ์ทางบวกกับคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเราเอง เพื่อที่จะส่งเสริม การกระทำที่เหมาะ-สมและการมีทักษะทางสังคมให้มากขึ้นระหว่างนักเรียน เรา ต้องไปให้ไกลกว่าแค่บอกพวกเขาให้หยุดทำสิ่งที่ผิด ขณะที่เราอาจจะบอกพวกเขา ว่าพฤติกรรมไหนควรหลีกเลี่ยง เราจำเป็นที่จะต้องสอนเขาถึงสิ่งที่เขาควรจะ ทำในสถานการณ์เหล่านั้น

บางครั้ง กระบวนการเกี่ยวเนื่องก่อนการสอน ซึ่งเราตระเตรียมนักเรียนเพื่อการเปลี่ยน แปลงโดยผ่านการถกเถียงถึงปัญหาการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมใน ปัจจุบัน (เช่น การปฏิเสธจากเพื่อนๆ การลงโทษจากทางโรงเรียน) และประโยชน์ของการยอมรับพฤติกรรมแทนที่โดยเฉพาะนี้

มนุษย์เราแสดงพฤติกรรมเฉพาะอย่างเพราะว่าได้รับประโยชน์ที่ทำเช่น นั้น เพื่อที่จะทำให้นักเรียนเชื่ออย่างเต็มที่และทำการเปลี่ยนแปลงวิธี เดิมของพวกเขา ประโยชน์ของพฤติกรรมแบบใหม่ต้องมีผลเหนือกว่าพฤติกรรมแบบ เก่าที่เคยดำเนินมาเหล่านั้น วิถีทางใหม่ต้องถูกมองเห็นโดยเพื่อนร่วม โรงเรียนว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ บ่อยครั้ง โปรแกรมทักษะทางสังคมส่ง เสริมการกระทำทางสังคมซึ่งคงจะไม่เคยแสดงออกโดยเด็กคนใดในสังคมส่วนใหญ่ ใน กรณีนี้ การมีทักษะด้วยพฤติกรรมแบบใหม่มีผลเพียงเล็กน้อยต่อการส่งเสริมการ ยอมรับและปฏิกิริยาในทางบวก

ทั้งนี้การสอนทางวิชาการ ควรเริ่มต้นด้วยทักษะที่จำเป็นที่ต้องเตรียมให้ พร้อมก่อนแล้วพัฒนาไปสู่ทักษะที่ก้าวหน้ามากขึ้น หลักสูตรของคุณจะประกอบไป ด้วยทักษะซึ่งสำคัญมากที่สุดต่อมารยาทในชั้นเรียนและความต้องการทางสังคมของ นักเรียนของคุณ

ขณะที่การสอนทักษะทางสังคมกินเวลาในระหว่างวันที่โรงเรียน แต่ตลอดอีกหลายสัปดาห์และหลายเดือนเราจะได้รับเวลาการสอนทางวิชาการที่สูญ เสียไปกลับคืนมาเมื่อนักเรียนแสดงออกถึงพฤติกรรมที่ยอมรับได้มากขึ้น ชีวิต ที่โรงเรียนของเราจะง่ายมากขึ้นและมีคุณค่ามากขึ้น มีผลในการใช้ชีวิตภาย นอกและที่โรงเรียนของนักเรียนของเรา

แปลและเรียบเรียงจาก Teaching Social Skills to Kids Who Don’t Have Them โดย Dr. Thomas McIntyre จาก http://www.behavioradvisor.com
แปลและเรียบเรียงโดย พรรษชล ศรีอิสราพร

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181