ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

ปัญหาทางอารมณ์และสังคมที่เกี่ยวพันกับความบกพร่องทางการอ่าน (dyslexia) 02/10/2009

โดย Michael Ryan ปริญญาเอกทางแพทย์ศาสตร์ และสมาคมผู้ที่บกพร่องทางการอ่านนานาชาติ (2004)

ความบกพร่องทางอารมณ์เป็นสาเหตุของการบกพร่องทางการอ่านหรือเปล่า

งาน วิจัยระบุว่า การบกพร่องทางการอ่านมีสาเหตุมาจากองค์ประกอบทางชีววิทยาไม่ใช่ปัญหาทาง อารมณ์หรือปัญหาทางครอบครัว Samuel T, Orton ปริญญาเอกทางแพทย์ศาสตร์ เป็นหนึ่งในบรรดานักวิจัยรุ่นแรกๆ ที่อธิบายถึงแง่มุมทางอารมณ์ของผู้ที่บกพร่องทางการอ่าน ตามงานวิจัยของเขา นั้นกล่าวว่า ส่วนใหญ่ของผู้ที่บกพร่องทางการอ่านในช่วงก่อนวัยเรียนจะมีความสุขและปรับ ตัวได้ดี ปัญหาทางอารมณ์ของพวกเขาเริ่มพัฒนาเมื่อการสอนการอ่านในช่วงแรกเริ่มไม่ได้ เข้ากันกับสไตล์การเรียนรู้ ในช่วงหลายปีนั้น ความคับข้องใจเพิ่มพูนขึ้น ในขณะที่เพื่อนร่วมชั้นมีทักษะในการอ่านล้ำหน้านักเรียนที่บกพร่องทางการ อ่าน งานวิจัยซึ่งสนับสนุนเงินทุนโดยสถาบันสุขภาพแห่งชาติเมื่อเร็วๆ นี้ได้ระบุว่า ผู้ที่บกพร่องทางการอ่านจะมีความแตกต่างอย่างมากด้านการรับรู้และด้านโรค ประสาท องค์ประกอบส่วนใหญ่เหล่านี้ดูจะเป็นสาเหตุทางด้านยีนส์มากกว่าการ เลี้ยงดูที่ไม่ดีหรือความอัดอั้นตันใจในวัยเด็กหรือความเป็นกังวล

ทำไมผู้ที่บกพร่องทางการอ่านจึงรู้สึกท้อแท้และคับข้องใจ

ความ คับข้องใจของเด็กๆ ที่บกพร่องทางการอ่านมักจะพุ่งเป้าไปที่ความไม่สามารถบรรลุความคาดหวัง บรรดาพ่อแม่และคุณครูของพวกเขามองว่า เขาเป็นเด็กที่กระตือรือร้นและฉลาด ที่ไม่สามารถเรียนรู้ที่จะอ่านและเขียน หลายครั้งที่ผู้บกพร่องทางการอ่าน และพ่อแม่ของพวกเขาจะได้ยินว่า เขาเป็นเด็กฉลาดได้ถ้าเพียงแต่เขาจะพยายาม ให้หนักกว่านี้ เป็นเรื่องน่าขบขันที่ไม่มีใครรู้อย่างแน่ชัดว่า ผู้ที่ บกพร่องทางการอ่านได้พยายามอย่างหนักแล้วขนาดไหน
ความ ไม่สามารถที่จะบรรลุเป้าหมายของผู้ที่บกพร่องทางการอ่าน ก่อให้เกิดความเจ็บปวดจากความล้มเหลวที่จะบรรลุความคาดหวังของคนอื่นๆ เป็น ความจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ซึ่งมีความคาดหวังในระดับสมบูรณ์แบบเพื่อ ที่จะจัดการกับความกังวลใจของเขา พวกเขาเติบโตขึ้นด้วยความเชื่อว่า มัน เป็นเรื่อง “เลวร้าย” ที่จะทำผิดสักครั้งหนึ่ง
อย่าง ไรก็ตาม ความบกพร่องทางการเรียนรู้ของพวกเขา มีความหมายเกือบจะตามนิยาม ว่า เด็กๆ เหล่านี้จะทำผิดอย่างขาดการใส่ ใจหรืออย่าง โง่ๆ นี่เป็นเรื่องที่คับข้องใจที่สุดสำหรับพวกเขา เนื่องจากมันทำให้พวกเขารู้สึกถึงความไม่เหมาะสมอย่างรุนแรง

ผู้ที่บกพร่องทางการอ่านจะมีปัญหาต่างๆ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคมอยู่เสมอ ซึ่งสามารถสืบสาวหาสาเหตุได้ดังนี้

  • เด็กๆ ซึ่งบกพร่องทางการอ่านอาจจะดูมีความด้อยทางวุฒิภาวะทางร่างกายและทางสังคม กว่าเพื่อนๆ รุ่นเดียวกัน ซึ่งนำไปสู่การมองภาพของตนเองที่แย่และการที่เพื่อนๆ ยอมรับน้อยลง
  • ความด้อยทางวุฒิภาวะทางสังคมของผู้ที่บกพร่องทางการอ่านอาจทำให้พวกเขาปฏิบัติตนไม่ถูกต่อสถานการณ์ในสังคม
  • ผู้ ที่บกพร่องทางการอ่านส่วนมากจะมีความยุ่งยากในการอ่านนัยทางสังคม พวกเขาอาจจะไม่คำนึงถึงระยะห่างระหว่างบุคคล ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นในการมีปฏิกิริยาทางสังคม หรือความไม่อ่อนไหวต่อภาษาท่าทางของบุคคลอื่นๆ
  • ผู้ ที่บกพร่องทางการอ่านมักได้รับผลกระทบจากการใช้ภาษาพูดอยู่บ่อยๆ บุคคลที่ได้รับผลอาจพบความลำบากในการหาคำที่ถูกต้อง อาจพูดตะกุก ตะกัก หรืออาจหยุดก่อนที่จะตอบคำถามตรงๆ ได้ นี่ทำให้เขาเสียเปรียบเมื่อเขาย่างเข้าสู่วัยรุ่น เมื่อภาษากลายเป็น สิ่งสำคัญมากขึ้นสำหรับความสัมพันธ์กับเพื่อนๆ วัยเดียวกัน

จาก การสังเกตในคลินิกของผม ทำให้ผมเชื่อว่า ผู้ที่บกพร่องทางการอ่านไม่เพียงแต่พบความยุ่งยากในการจด จำการเรียงลำดับตัวอักษรหรือถ้อยคำเท่านั้น พวกเขายังมีความยุ่งยากในการจด จำการเรียงลำดับเหตุการณ์ด้วย ตัวอย่างเช่น เราลองหันมาดูปฏิกิริยาในสนามเด็กเล่นปกติของเด็กสองคน เด็กที่บกพร่องทาง การอ่านหยิบของเล่นของเด็กอีกคนหนึ่ง เด็กคนนั้นจึงร้องเรียกชื่อของเด็ก ที่บกพร่องทางการอ่านคนนั้น เด็กที่บกพร่องทางการอ่านจึงต่อยเด็กคน นั้น จากประสบการณ์ตรงนี้ เด็กที่บกพร่องทางการอ่านอาจย้อนกลับการเรียง ลำดับเหตุการณ์ว่า เด็กอีกคนหนึ่งเรียกชื่อเขา แล้วเขาจึงหยิบของเล่นและต่อยเด็กอีกคนนั้น

เรื่อง นี้แสดงให้เห็นถึงความยุ่งยากที่สำคัญสองประการของเด็กผู้บกพร่องทางการ อ่าน ประการแรกคือ มันใช้เวลานานที่เขาจะเรียนรู้จากความผิดของ เขา ประการที่สอง ถ้ามีผู้ใหญ่เห็นเหตุการณ์ และถามเด็กที่บกพร่องทางการ อ่านว่า เกิดอะไรขึ้น ดูเหมือนว่าเด็กคนนี้กำลังโกหก

โชค ร้ายที่ปฏิกิริยาระหว่างเด็กทั้งสองส่วนมากไม่ได้เกี่ยวข้องเพียง แค่ 3 เหตุการณ์ แต่ 15 ถึง 20 เหตุการณ์ เพราะปัญหาความจำและการเรียงลำดับเหตุการณ์ของเขา เด็กผู้ บกพร่องทางการอ่านอาจเรียงลำดับเหตุการณ์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละครั้งที่เขา เล่าเรื่อง คุณครู คุณพ่อคุณแม่ และบรรดานักจิตวิทยาจะลงความเห็นว่า เขาเป็นโรคจิตหรือนักโกหกที่ผิดปกติ

ความ ไม่คงที่ของการเป็น dyslexia หรือบกพร่องทางการอ่าน ก่อให้เกิดสถานการณ์อันซับซ้อนอย่างร้ายแรงในชีวิตของเด็กๆ มีความแตกต่างอย่างขนานใหญ่ในความสามารถของนักเรียนแต่ละคน แม้ว่าทุกๆ คนจะมีจุดแข็งและจุดอ่อนต่างๆ กัน ผู้ที่บกพร่องทางการอ่านจะมีมากยิ่งกว่า ยิ่งกว่านั้น จุดแข็งและจุดอ่อน ต่างๆ ของผู้ที่บกพร่องทางการอ่านอาจจะเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิดด้วย

ครั้ง หนึ่งผมทำงานกับผู้ใหญ่วัยต้นๆ คนหนึ่ง ซึ่งได้คะแนนสมบูรณ์จากการสอบระดับปริญญาโทในวิชาคณิตศาสตร์ เขาสามารถคิด คำนวณใดๆ กับตัวเลขก็ได้ ยกเว้นจดจำมัน นักเรียนหลายๆ คนในระดับปริญญาโทที่เขาสอนให้ในวิชาสถิติชั้นสูงและแคลคูลัสแทบไม่อยาก เชื่อว่า เขาไม่สามารถจดจำเบอร์โทรศัพท์ของพวกเขาได้

ความ ผันแปรที่มากมายนี้ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “รถรางลื่นไหล” ที่มีผลกระทบต่อผู้ที่บกพร่องทางการอ่าน ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง พวกเขาสามารถทำงานได้สำเร็จเหนือความสามารถของเพื่อนๆ รุ่นเดียวกัน ในเวลาต่อมา พวกเขาอาจต้องเผชิญกับงานที่พวกเขาไม่สามารถทำได้สำเร็จ ผู้ที่บกพร่องทาง การอ่านส่วนมากเรียกอาการนี้ว่า “การเดินเข้าไปในหลุมดำ” การที่จะจัดการกับปัญหาเหล่านี้ ผู้ที่บกพร่องทางการอ่านต้องการความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อการบกพร่องทางการ เรียนรู้ของตนเอง สิ่งนี้จะช่วยพวกเขาให้คาดเดาความสำเร็จและความล้มเหลว ของตนเองได้ ผู้ที่บกพร่องทางการอ่านยังแสดงผลการทำงานที่ไม่แน่นอนด้วย เช่นกัน นั่นคือ ความผิดพลาดของพวกเขาจะไม่แน่นอน ตัวอย่างเช่น ครั้ง หนึ่งผมขอให้ผู้ที่บกพร่องทางการอ่านวัยผู้ใหญ่คนหนึ่งเขียนเรียงความหนึ่ง ร้อยคำเกี่ยวกับความรุนแรงในโทรทัศน์ เหมือนที่ใครๆ อาจจะคาดหวัง เขาสะกดคำว่า “โทรทัศน์” ผิดถึงห้าครั้ง อย่างไรก็ตาม ทุกๆ ครั้งที่เขาสะกดมีที่ผิดต่างกันไปทุกครั้ง ความผันแปรชนิดนี้ทำให้การรักษา ยากยิ่งขึ้น

จะ เห็นได้ว่า การแสดงศักยภาพของผู้ที่บกพร่องทางการอ่านจะแตกต่างกันไปวันต่อ วัน ในบางวัน การอ่านหนังสืออาจดูง่ายดายเป็นอย่างมาก แต่พอมาอีกวัน หนึ่ง พวกเขาอาจแทบไม่สามารถเขียนชื่อของตนเองได้ ความไม่แน่นอนเหล่านี้สร้างความสับสนให้ไม่เพียงแต่ผู้ที่บกพร่องทางการ อ่านเท่านั้น แต่ยังเกิดผลกับคนอื่นๆ ในสภาพแวดล้อมของเขาด้วยเช่นกัน

dyslexia หรือบุคคลผู้บกพร่องทางการอ่านรู้สึกอย่างไร
กระวนกระวาย

กระวน กระวายเป็นอาการทางอารมณ์ที่พบบ่อยมากที่สุดที่ได้รับรายงานจากผู้ใหญ่ที่ บกพร่องทางการอ่าน อาการบกพร่องทางการอ่านกลายเป็นเรื่องน่ากลัวเพราะว่า ความคับข้องใจและความสับสนที่มีอยู่อย่างถาวรในโรงเรียน ความรู้สึกเหล่า นี้รุนแรงยิ่งขึ้นเนื่องจากความไม่แน่นอนของการเบกพร่องทางการอ่าน เพราะ ว่าพวกเขาอาจคาดหวังความล้มเหลว การเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ใหม่ๆ สามารถก่อให้เกิดความตื่นเต้นกระวนกระวายอย่างเหลือล้น

ความ กระวนกระวายเป็นสาเหตุให้มนุษย์หลีกเลี่ยงอะไรก็ตามที่ทำให้เขากลัว ผู้ที่บกพร่องทางการอ่านก็ไม่ยกเว้น อย่างไรก็ตาม คุณครูและคุณพ่อคุณแม่ส่วนมากมักตีความพฤติกรรมหลีกเลี่ยงไปผิดๆ ว่าเป็นความขี้เกียจ ความจริงนั้น ความลังเลของผู้ที่บกพร่องทางการอ่าน ที่จะมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของโรงเรียนเช่น การบ้าน จะเกี่ยวข้องกับความกระวนกระวายและความสับสนมากกว่าความไม่สนใจ

ความโกรธ

ปัญหา ทางอารมณ์ส่วนใหญ่ที่มีสาเหตุจากการบกพร่องทางการอ่านมมักเกิดขึ้นมาจากความ คับข้องใจที่โรงเรียนและสถานการณ์ทางสังคม นักวิทยาศาสตร์ทางสังคมพบว่า บ่อยทีเดียวที่ความคับข้องใจก่อให้เกิดความโกรธ สิ่งเหล่านี้สามารถพบเห็นในผู้ที่บกพร่องทางการอ่าน

เป้า ที่ชัดเจนของผู้ที่บกพร่องทางการอ่านโกรธมักจะเป็นโรงเรียนและบรรดาคุณ ครู อย่างไรก็ตาม มันเป็นเรื่องธรรมดาของสำหรับผู้บกพร่องทางการอ่านด้วย เหมือนกันที่จะระบายอารมณ์ความโกรธไปที่พ่อแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณแม่มักจะรู้สึกถึงความโกรธเคืองของผู้ที่บกพร่องทางการอ่าน บ่อยอีก เหมือนกันที่ เด็กคนนั้นจะนั่งลงด้วยความโกรธระหว่างเรียนหนังสือที่โรงเรียนจนถึงจุดที่ เรียกว่าเก็บกดอย่างสุดกลั้น อย่างไรก็ตาม ทันทีที่เขาอยู่ในสภาพแวดล้อม ที่ปลอดภัยที่บ้าน ความรู้สึกที่มีพลังอย่างมากเหล่านี้จะประทุขึ้นและ บ่อยๆ ที่จะระบายออกตรงไปยังคุณแม่ เป็นเรื่องน่าขันว่ามันเป็นความไว้วางใจในตัว คุณแม่ของเด็กที่ทำให้เขาระบายอารมณ์ความโกรธออกมา อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ กลายเป็นเรื่องน่าคับข้องใจและสับสนอย่างยิ่งต่อคุณพ่อคุณแม่ซึ่งกำลัง พยายามที่จะช่วยเหลือลูกของตนอย่างสิ้นหวัง

เมื่อ ย่างเข้าสู่วัยรุ่น สังคมมักคาดหวังให้พวกเขาเป็นคนดำรงตนได้อย่าง อิสระ ความเครียดอันเนื่องมาจากความคาดหวังที่เขาจะดำรงตนได้อย่างอิสระกับ ความต้องพึ่งพาที่ถูกเรียนรู้ของเด็กเป็นสาเหตุของความขัดแย้งภายในอย่าง รุนแรง ผู้ที่บกพร่องทางการอ่าน (dyslexia) ในวัยรุ่นจะใช้อารมณ์โกรธของเขาแยกตัวเองออกจากบุคคลที่เขารู้สึกว่าต้อง พึ่งพา

เนื่อง จากองค์ประกอบเหล่านี้ มันอาจเป็นการยากสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่จะช่วยเหลือ ผู้ที่บกพร่องทางการอ่านในช่วงวัยรุ่น ดังนั้น การสอนของเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกันหรือของผู้ใหญ่วัยต้นๆ ที่ใส่ใจเขาอาจจะสามารถทำได้ดีกว่าในการเข้ามาไกล่เกลี่ยหรือช่วยเหลือเด็ก คนนั้น
การมองภาพของตนเอง

การ มองภาพของตนเองของผู้ที่บกพร่องทางการอ่านดูจะเป็นเรื่องที่เปราะบางอย่าง มากอันเนื่องจากความคับข้องใจและความกระวนกระวาย Erik Erikson กล่าวว่า ในระหว่างปีแรกของที่โรงเรียน เด็กทุกคนต้องแก้ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ให้ได้ระหว่างการมองภาพตนเองในทางบวกกับความรู้สึกต่ำต้อย ถ้าเด็กๆประสบความสำเร็จในโรงเรียน พวกเขาจะพัฒนาความรู้สึกในทางบวกเกี่ยวกับตัวของพวกเขาเองและมีความเชื่อว่า พวกเขาสามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้

ถ้า เด็กๆ พบความล้มเหลวและความคับข้องใจ เขาจะเรียนรู้ว่าพวกเขาต่ำต้อยกว่าคนอื่นๆ และความพยายามของพวกเขาสร้างความแตกต่างแค่เพียงเล็กน้อย แทนที่จะรู้สึกว่าตนเองมีพลังและมีคุณค่า พวกเขาจะเรียนรู้ว่าสิ่งแวด ล้อมควบคุมพวกเขาไว้ พวกเขาจะรู้สึกไร้พลังและไร้ความสามารถ

นัก วิจัยหลายท่านได้เรียนรู้ว่า เมื่อผู้เรียนโดยทั่วไปประสบความสำเร็จ พวกเขาให้ความเชื่อถือต่อความพยายามของตนเองนำสู่ความสำเร็จ เมื่อพวกเขา ล้มเหลว พวกเขาบอกตนเองให้พยายามหนักขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ที่ บกพร่องทางการอ่านประสบความสำเร็จ เขามักจะถือเอาความสำเร็จเป็นโชค เมื่อ เขาล้มเหลว เขาจะมองตัวเองว่า โง่

งาน วิจัยยังนำเสนอด้วยว่า ความรู้สึกต่ำต้อยเหล่านี้พัฒนาได้เพียงอายุสิบขวบ หลังจากวัยนี้ มันจะ กลายเป็นเรื่องยากอย่างยิ่งที่จะช่วยเหลือให้เด็กพัฒนาการมองภาพตนเองใน ทางบวก เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางสำหรับการช่วยเหลือ ในระยะแรกเริ่ม

ความกลัดกลุ้มท้อแท้

ความ รู้สึกกลัดกลุ้มท้อแท้เป็นความซับซ้อนที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในผู้ที่บกพร่องทางการอ่าน แม้ว่าผู้ที่บกพร่องทางการอ่านส่วนมากไม่ได้ รู้สึกท้อแท้ เด็กๆ ที่บกพร่องทางการเรียนรู้ก็ยังเสี่ยงมากต่อความรู้สึกเสียใจและเจ็บปวดอย่าง หนัก บางทีเนื่องจากความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองต่ำ ผู้ที่บกพร่องทางการอ่านจึง กลัวที่จะเปลี่ยนความโกรธเคืองต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขาและกลับกลายมาเป็น โกรธเคืองตนเองแทน

อย่าง ไรก็ตาม เด็กๆ หรือวัยรุ่นที่รู้สึกกลัดกลุ้มบ่อยที่เดียวที่จะมีอาการที่แตกต่างกว่า ผู้ใหญ่ที่รู้สึกกลัดกลุ้ม เด็กที่กลัดกลุ้มท้อแท้เป็นไปไม่ได้ที่จะรู้สึก เมินเฉยหรือพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกเศร้า พวกเขากลับกลายเป็นคนที่กระฉับ กระเฉงมากขึ้นหรือกระทำอะไรที่ผิดปกติไปเพื่อจะปกปิดความรู้สึกเจ็บปวด ในกรณีของความกลัดกลุ้มที่ถูกปกปิดไว้ เด็กคนนั้นอาจจะดูเหมือนคนมีความ สุขดี อย่างไรก็ตาม ทั้งเด็กๆ และผู้ใหญ่ซึ่งรู้สึกหดหู่มีแนวโน้มที่จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันสามประการคือ

  • ประการแรก พวกเขามีแนวโน้มที่จะมีความคิดในทางลบเกี่ยวกับตนเอง เป็นต้นว่า การมองตนเองในทางลบ
  • ประการ ที่สอง พวกเขามีแนวโน้มที่มองโลกในทางลบ น้อยมากที่จะเพลิดเพลินกับประสบการณ์ใน ทางบวกในชีวิต สิ่งนี้ทำให้พวกเขายากที่จะรู้สึกสนุกสนาน
  • ประการ สุดท้าย วัยรุ่นที่รู้สึกท้อแท้ส่วนมากจะมีความรู้สึกลำบากอย่างยิ่งที่จะจินตนาการ สิ่งใดๆ ในอนาคตในทางบวก ผู้ที่บกพร่องทางการอ่านที่รู้สึกท้อแท้ไม่เพียงแต่จะได้ รับประสบการณ์ที่เจ็บปวดอย่างใหญ่หลวงเในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังมองเห็น ชีวิตที่มีความล้มเหลวอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

ปัญหาครอบครัว

เหมือน กับสถานการณ์ความพิการอื่นๆ ผู้ที่บกพร่องทางการอ่านมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อครอบครัวของเด็กคน นั้น อย่างไรก็ตาม เพราะผู้ที่บกพร่องทางการอ่าน(dyslexia) เป็นความพิการที่มองไม่เห็น ผลกระทบเหล่านี้มักถูกมองข้ามอยู่บ่อยๆ

ผู้ ที่บกพร่องทางการอ่านมีผลกระทบต่อครอบครัวในทางต่างๆ กัน ทางหนึ่งที่เห็นได้ชัดมากที่สุดคือ คู่แข่งที่เป็นพี่ๆ น้องๆ เด็กๆ ที่ไม่บกพร่องทางการอ่านมักรู้สึกอิจฉาเด็กที่บกพร่องทางการอ่าน ซึ่งได้รับความสนใจ เวลา และเงินเป็นส่วนใหญ่จากพ่อแม่ เป็นที่น่าขัน ว่า เด็กที่บกพร่องทางการอ่านกลับไม่ต้องการความสนใจนี้ นี่เป็นการเพิ่มโอกาสที่เขาจะประพฤติตนในทางลบ ต่อต้านเด็กๆ ที่กำลังประสบความสำเร็จในครอบครัว

ผู้ ที่บกพร่องทางการอ่านที่ได้รับการพัฒนาโดยเฉพาะมีอยู่ในครอบครัว นี่หมายความว่า คนใดคนหนึ่งหรือทั้งคุณพ่อและคุณแม่อาจจะมีปัญหาที่โรงเรียนที่คล้ายๆ กัน เมื่อต้องเผชิญกับเด็กซึ่งมีปัญหาที่โรงเรียน คุณพ่อคุณแม่ที่บกพร่อง ทางการอ่านอาจมีปฏิกิริยาทางใดทางหนึ่ง พวกเขาอาจปฏิเสธว่าเด็กไม่ได้เป็น dyslexia หรือบกพร่องทางการอ่านและเชื่อว่า ถ้าเด็กคนนี้จะเพียงแต่ทำอย่างจริง จัง เขาก็จะประสบความสำเร็จได้ หรือคุณพ่อคุณแม่อาจฟื้นความล้มเหลวหรือ ความคับข้องใจของพวกเขา ผ่านทางประสบการณ์ที่โรงเรียนของลูกตน นี่จะนำมาซึ่งอารมณ์ที่น่าตื่น กลัวและมีพลังกลับมา ซึ่งอารมณ์นี้สามารถก่อกวนการใช้ทักษะต่างๆ ในการกระทำตนเป็นพ่อแม่ได้

คุณพ่อคุณแม่และคุณครูสามารถช่วยเหลือได้อย่างไร

ใน ช่วง 25 ปีที่ผ่านมา ผมได้เคยสัมภาษณ์ผู้ใหญ่ที่บกพร่องทางการอ่าน บางคนได้เรียนรู้ที่จะจัดการ กับปัญหาการเรียนรู้ของพวกเขาได้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งคนอื่นๆ อาจทำไม่ได้ ประสบการณ์ของผมบอกว่า นอกจากองค์ประกอบต่างๆ เช่น ความฉลาด และฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจแล้ว สิ่งอื่นๆ ก็มีผลกระทบต่อโอกาสที่จะประสบผลสำเร็จของผู้ที่บกพร่องทางการอ่าน

ประการ แรก ช่วงแรกในชีวิตของเด็กจะมีคนสนับสนุนและให้กำลังใจเป็นอย่างมาก ประการที่ สอง ผู้ที่บกพร่องทางการอ่านในวัยเยาว์มองห็นโอกาสในการประสบความสำเร็จของเขา ได้ ประการสุดท้าย ผู้ที่บกพร่องทางการอ่านที่ประสบผลสำเร็จดูเหมือนจะพัฒนาความศรัทธาที่จะ ช่วยเหลือคนอื่นๆ ด้วย

ทั้ง คุณครูและคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องให้การสนับสนุนและการให้กำลังใจอย่าง ต่อเนื่องและสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม ใครๆ ก็แทบไม่ค่อยได้ยินเกี่ยวกับวิถีทางที่สำคัญมากวิธีนี้ที่จะช่วยบรรดาผู้ เยาว์วัย

ผม เชื่อว่า การให้กำลังใจเกี่ยวข้องอย่างน้อยที่สุด 4 ประการด้วยกัน ประการแรกคือ ฟังความรู้สึกของเด็กๆ ความกระวนกระวาย ความโกรธและความกลัดกลุ้มท้อแท้ถือเป็นอาการประจำวันสำหรับผู้ที่บกพร่องทาง การอ่าน อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งทีเดียวที่ปัญหาด้านภาษาของพวกเขาทำให้พวกเขาแสดงความรู้สึกออกมา ได้ยาก ดังนั้น พวกผู้ใหญ่ต้องช่วยเหลือให้พวกเขาเรียนรู้ที่จะพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึก ของตน

คุณ ครูและคุณพ่อคุณแม่ต้องให้รางวัลความพยายาม ไม่ใช่เพียง “ผลผลิต” สำหรับผู้ที่บกพร่องทางการอ่านแล้ว คะแนนควรจะมีความสำคัญน้อยกว่าความก้าว หน้า

เมื่อ เผชิญหน้ากับพฤติกรรมที่ยอมรับไม่ได้ พวกผู้ใหญ่ต้องไม่ทำให้เด็กที่ บกพร่องทางการอ่านหมดกำลังใจด้วยความไม่สนใจ คำพูดประเภท “ขี้เกียจ” หรือ “หัวแข็ง” สามารถทำร้ายการมองภาพตนเองของเด็กอย่างรุนแรง

สุด ท้าย เป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยนักเรียนให้ตั้งเป้าหมายที่เป็นจริงสำหรับตน เอง นักเรียนที่บกพร่องทางการอ่านส่วนมากมักตั้งเป้าหมายที่สมบูรณ์แบบและยังทำ ไม่ได้ การที่จะช่วยเหลือให้เด็กตั้งเป้าหมายที่บรรลุได้คุณครูจะสามารถ เปลี่ยนแปลงวงจรความล้มเหลวได้

ที่ สำคัญยิ่งกว่านั้น เด็กที่บกพร่องทางการอ่านจำเป็นที่จะต้องจดจำและยินดี กับความสำเร็จของตน การที่จะทำเช่นนั้นได้ พวกเขาจำเป็นที่จะต้องประสบความสำเร็จในบางด้านของชีวิต ในบางกรณี จุดแข็งต่างๆ ของผู้ที่บกพร่องทางการอ่านนั้นชัดเจน ความภาคภูมิใจในตนเองของผู้บกพร่อง ทางการอ่านส่วนมากถูกนำมาใช้ประโยชน์โดยความสามารถยอดเยี่ยมในทางกีฬา ศิลปะ หรือทางช่าง อย่างไรก็ตาม จุดแข็งของผู้ที่บกพร่องทางการอ่านมักจะซ่อนอยู่และเห็นไม่ชัด คุณพ่อคุณ แม่และคุณครูจำเป็นจะต้องหาทางที่จะเชื่อมโยงความสนใจของเด็กกับความต้องการ ของชีวิตจริง

ผู้ใหญ่ ที่บกพร่องทางการอ่านที่ประสบความสำเร็จส่วนมากจะจัดการกับความเจ็บปวดของตน เองโดยการเปิดตัวเองไปสู่คนอื่นๆ พวกเขาอาจจะเป็นอาสาสมัครทำงานการกุศล หรือทำงานที่โบสถ์ หรือเลือกอาชีพซึ่งต้องการความรู้สึกและจิตใจอันมีคูณ ธรรมทางสังคม ประสบการณ์เหล่านี้จะช่วยผู้ที่บกพร่องทางการอ่านให้รู้สึก ทางบวกมากขึ้นเกี่ยวกับตนเองและจัดการกับความเจ็บปวดและความคับข้องใจของตน เองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โอกาส ส่วนมากมีอยู่ในโรงเรียนของเรา ที่บ้าน และที่โบสถ์ที่ผู้บกพร่องทางการอ่านจะช่วยเหลือคนอื่นๆ ได้ วิถีทางที่สำคัญทางหนึ่งคือ การสอนเพื่อนวัยเดียวกัน ถ้านักเรียนที่บกพร่องทางการอ่านทำคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ได้ดี พวกเขา สามารถจะช่วยสอนเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่กำลังลำบากอยู่ได้

บาง ทีนักเรียนสามารถให้แก่กันและกันโดยเป็นผู้อ่านให้นักเรียนที่บกพร่องทางการ อ่าน การสอนเด็กๆ ที่อ่อนวัยกว่าโดยเฉพาะผู้ที่บกพร่องทางการอ่านคนอื่นๆ สามารถจะเป็นประสบการณ์ทางบวกสำหรับทุกๆ คนที่เกี่ยวข้อง

การ ช่วยเหลือผู้ที่บกพร่องทางการอ่านให้รู้สึกดีขึ้นเกี่ยวกับตนเอง และจัดการ กับความรู้สึกของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นถือเป็นงานที่ซับซ้อน

ประการ แรก ผู้ใหญ่ที่รู้สึกใส่ใจต้องเข้าใจปัญหาที่รับรู้และมีผลกระทบ ซึ่งมีสาเหตุ มาจากการเป็นผู้บกพร่องทางการอ่าน แล้วต้องออกแบบยุทธวิธีที่จะช่วยผู้ที่ บกพร่องทางการอ่าน ให้พบความสนุกสนานและความสำเร็จในทางวิชาการและความสัมพันธ์ส่วนตัวเหมือน เด็กคนอื่นๆ ทุกคน

แปล และเรียบเรียงจาก Social and Emotional Problems Related to Dyslexia โดย Dr. Michael Ryan นักจิตวิทยา แห่ง รัฐมิชิแกน เป็นผู้ที่บกพร่องทางการอ่านด้วยตนเอง เป็นอดีตประธานของสมาคมผู้ที่ บกพร่องทางการอ่านนานาชาติสาขารัฐมิชิแกน และอดีตรองประธานสมาคมผู้ที่บกพร่องทางการอ่านแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา http://www.ldonline.com
แปลและเรียบเรียงโดย พรรษชล ศรีอิสราพร

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก