ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

การสะกดคำ 18/09/2009

โดย สมาคมดิสเลกเซียนานาชาติหรือสมาคมผู้บกพร่องทางการอ่านนานาชาติ (International Dyslexia Association) (2008)

ความยุ่งยากในการสะกดคำเป็นเรื่องธรรมดา
การ สะกดคำเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับหลายๆ คน มีงานวิจัยเกี่ยวกับการสะกดคำน้อยกว่างานวิจัยเกี่ยวกับการอ่านมาก และ มักจะบอกเราเพียงว่า มีคนมากมายเพียงใดที่สะกดคำได้แย่มาก หรือเชื่อได้ว่าเขาทำได้แย่มาก คนทั่วๆ ไปมักรู้เรื่องเกี่ยวกับความสามารถด้านการสะกดคำน้อยมาก น้อยกว่าความสำเร็จในการอ่านเพราะว่า ไม่มีการทดสอบการสะกดคำระดับชาติและไม่มีการทดสอบทักษะการสะกดคำของนักเรียน ด้วย

อย่าง ไรก็ตาม ผู้บกพร่องทางการอ่านเกือบจะทุกคนต้องดิ้นรนกับการสะกดคำและเผชิญกับอุปสรรค ที่ร้ายแรงในการเรียนรู้เพื่อที่จะรับมือกับเรื่องการบกพร่องทางการเรียนรู้ นี้ ลักษณะของ “ดิสเลกเซีย” (dyslexia) หรือบกพร่องทางการอ่านระบุว่า คนที่บกพร่องทางการอ่านแต่ละคนจะมีปัญหาที่ชัดเจนเกี่ยวกับการสะกดคำและการ เขียน ทั้งๆ ที่มีความสามารถในด้านอื่นๆ และเข้ารับการเรียนการสอนในระดับปกติ คนที่บกพร่องทางการอ่านส่วนมากเรียนรู้ที่จะอ่านได้เป็นอย่างดี แต่ประสบ ความยุ่งยากในการสะกดคำและการเขียนลายมือ และมีแนวโน้มที่จะเป็นเช่นนั้นตลอดชีวิต และพวกเขาต้องการคำสอน การชดเชย การปรับการให้งานและความเข้าใจจากผู้ที่สอนหรือทำงานกับพวกเขาแต่ละคน

อะไรคือสาเหตุของปัญหาการสะกดคำ
ความ เชื่อทั่วๆ ไปที่ผิดพลาดคือ รากของปัญหาการสะกดคำมาจากการมีความจำในการมองเห็นการเรียงลำดับตัวอักษรใน คำต่างๆ ที่แย่มาก อย่างไรก็ตาม งานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้แสดงให้เห็นว่า โดยทั่วๆ ไปความจำจากการมองเห็นมีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้การสะกดคำน้อยมาก ปัญหา การสะกดคำเหมือนปัญหาการอ่านที่มีจุดกำเนิดมาจากความอ่อนด้อยในการเรียนรู้ ภาษา ดังนั้น การสะกดที่สลับกันของตัวหนังสือที่สับสน เช่น b และ d หรือการเรียงลำดับตัวอักษร เช่น คำว่า wnet แทนคำว่า went เป็นการแสดงถึงความอ่อนด้อยด้านการเรียนรู้ภาษามากกว่าปัญหาที่เกิดจากการ มองเห็น พวกเราส่วนใหญ่อาจรู้จักคนที่มีความจำในการมองเห็นที่ดีเลิศสำหรับ รูปภาพ โครงสี พื้นฐานการออกแบบ การวาดรูปด้วยมือ แผนที่ และจุดเด่นของภูมิทัศน์ เป็นต้น แต่กลับสะกดคำได้แย่มาก ความจำด้านการมองเห็นที่จำเป็นสำหรับการ สะกดคำ เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับกระบวนการเรียนรู้ทางภาษาในสมอง

ผู้ ที่สะกดคำได้แย่เนื่องจากมีปัญหาในการจดจำตัวอักษรในคำต่างๆ เพราะพวกเขาพบความลำบากในการสังเกต จดจำและระลึกถึงลักษณะพิเศษของภาษาที่ตัวอักษรนั้นแสดงอยู่ เป็นเรื่อง ธรรมดาที่สุดที่ผู้ที่สะกดคำได้แย่จะมีจุดอ่อนในการเน้นทักษะทางภาษา รวม ทั้งความสามารถที่จะวิเคราะห์และจดจำเสียงแต่ละเสียงในคำต่างๆ เช่นเสียงที่เกี่ยวข้องกับตัว j, ch หรือ v พยางค์ต่างๆ เช่น la mem pos และพยางค์ต่างๆ ที่มีความหมายสำหรับคำที่ยาวขึ้น เช่น sub-, -pect หรือ –able จุดอ่อนเหล่านี้จะพบได้ทั้งในการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียน เมื่อใครบางคนพูด หรือเขียน

ความ สามารถในการสะกดคำได้รับอิทธิพลจากนิสัยที่ได้รับตกทอดมา เช่นเดียวกับด้าน อื่นๆ ของผู้ที่บกพร่องทางการอ่านและการประสบผลสำเร็จในการอ่าน มันเป็นความจริง ที่บางคนเกิดมาเป็นนักสะกดคำที่เก่งมากกว่าคนอื่นๆ แต่ก็เป็นความจริงอีกเหมือนกันที่นักสะกดคำที่แย่สามารถดีขึ้นได้จากการสอน และการชดเชยให้

การวินิจฉัยปัญหาการสะกดคำ
ถ้า สงสัยว่าเป็นดิสเลกเซียหรือเป็นผู้ที่บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน โดยที่ยังเป็นนักเรียนระดับอนุบาลหรือประถมศึกษาปีที่ 1 การทดสอบง่ายๆ เกี่ยวกับปัจจัยเสียงและการรู้จักชื่อตัวอักษรหรือไม่สามารถคาดเดาปัญหาต่อๆ มาของการสะกดคำได้ ทำนองเดียวกับการวินิจฉัยปัญหาต่อๆ มาในการอ่าน ถ้านักเรียนต้องดิ้นรนอย่างมากที่จะจดจำคำที่กำลังสะกดให้ได้ การจัดทดสอบความสำเร็จในการสะกดคำที่ได้มาตรฐานตามหลักการในปัจจุบันใน ระดับชาติควรมีการดำเนินการ เพื่อกำหนดระดับของปัญหาว่าร้ายแรงแค่ไหน และขอเพิ่มเติมว่า ในการทดสอบวินิจฉัยการสะกดคำควรระบุด้วยว่า เสียงใด รูปแบบพยางค์ใด หรือ พยางค์ที่มีความหมายส่วนใดที่นักเรียนไม่เข้าใจหรือไม่จดจำ

การ ทดสอบวินิจฉัยการสะกดคำ เช่น การกำหนดโปรแกรมสะกดคำที่ได้รับการพัฒนาขึ้น จะบอกคุณครูได้อย่างละเอียดว่า พยัญชนะ สระหรือพยางค์ใด และการสะกดคำใดที่นักเรียนคนนั้นต้องได้รับการสอนเพิ่มเติม นอกจากนี้ นักเรียนคนนั้นจะต้องได้รับการทดสบความรู้เกี่ยวกับคำธรรมดาที่มักใช้กันมาก ที่สุดในภาษาอังกฤษ ซึ่งจำเป็นสำหรับการเขียน โดยที่สิ่งเหล่านี้ควรได้ รับการเน้นหนักในการสอนด้วย

เด็กๆ เรียนรู้การสะกดคำได้อย่างไร
เด็ก จะค่อยๆ พัฒนาความเข้าใจว่า คำต่างๆ ถูกแสดงด้วยตัวอักษรหลายๆ ตัวได้อย่างไรตั้งแต่ในระดับก่อนอนุบาล ระดับอนุบาลและระดับประถมศึกษาปีที่ 1 กระบวนการนี้จะดำเนินไปรวดเร็วยิ่งขึ้นและประสบความสำเร็จ ถ้าการสอนใน เรื่องเสียงและตัวอักษรดำเนินไปอย่างเป็นระบบ ชัดเจนและมีโครงสร้าง

การ สะกดคำต่างๆ นั้นจะง่ายดายยิ่งขึ้นเมื่อเด็กคนนั้นเข้าใจว่า คำต่างๆ ประกอบด้วยเสียงต่างๆ ของคำพูดที่แยกแยะได้ และตัวอักษรทดแทนเสียงเหล่านั้น เมื่อความรู้เกี่ยว กับกฎเกณฑ์นั้นเพิ่มขึ้น เด็กๆ ก็สังเกตรูปแบบที่ตัวอักษรใช้แทนด้วยเหมือนกัน แล้วยังสังเกตได้ถึงการ เรียงลำดับตัวอักษรจนเกิดเป็นพยางค์ คำลงท้ายพยางค์ รากของคำ คำเติมหน้า (prefixes) และคำเติมท้าย (suffixes) ความจำเกี่ยวกับคำทั้งคำจะเกิดรวดเร็วมากขึ้นและระลึกได้อย่าง ง่ายดายมากเมื่อเด็กๆ มีความรู้เรื่องโครงสร้างของภาษาและได้รับการฝึกฝนอย่างเต็มที่ในการเขียนคำ ต่างๆ

การ ทดลองการสะกดคำหรือการสะกดคำต่างๆ ว่ามีเสียงอย่างไร เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับเด็กๆ ในช่วงก่อนอนุบาลหรือช่วงอนุบาล เป็นขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อสร้างความเข้าใจว่า เราใช้ตัวอักษรสะกดอย่างไร อย่างไรก็ตาม การทดลองการสะกดคำไม่เพียงพอสำหรับนักเรียนที่จะเรียนรู้กฎเกณฑ์ทั้งหมดและ รูปแบบการเขียนภาษาอังกฤษที่ได้มาตรฐาน ถ้าเด็กๆ อยู่เกินระดับประถมศึกษาปีที่หนึ่งไปแล้ว การสนับสนุนเด็กๆ ให้ทดลองสะกดคำหรือละเลยการสะกดคำให้ถูกเป็นเรื่องที่ไม่ควรกระทำ

ระบบการสะกดคำในภาษาอังกฤษเป็นเรื่องที่เดาได้หรือไม่ได้
ระบบ การสะกดคำในภาษาอังกฤษไม่ใช่เป็นเรื่องที่เดาไม่ได้ มันสามารถจะนำมาสอนได้ อย่างเป็นระบบและเป็นเหตุเป็นผล เกือบ 50%ของคำในภาษาอังกฤษเป็นเรื่องเดาได้ อยู่บนพื้นฐานของความสัมพัน์ของตัวอักษรกับเสียงเท่านั้น (เช่นคำว่า slap pitch boy) อีก 37% ของคำธรรมดาทั่วไปเป็นคำที่เกือบจะเดาได้ ยกเว้นคำพยางค์เดียว เช่น knit และ boat
ข้อมูล อื่นๆ ของคำ เช่น เป็นคำที่มาจากภาษาใด เช่น ภาษาอังกฤษโบราณ ภาษาละติน ภาษากรีก ภาษาฝรั่งเศส และดูความหมายของคำ จะช่วยอธิบายการสะกดคำต่างๆ ได้ และมีเพียง 4% เท่านั้นที่คำในภาษาอังกฤษไม่ปกติจริงๆ และอาจจำเป็นจะต้องเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนทั้งคำ เช่น ด้วยการสืบสาวที่มาของคำและการพูดตัวอักษรเหล่านั้นขณะที่คำๆ นั้นกำลังถูกจดจำ ดังนั้น จึงควรใช้วิธีการสอนสะกดคำด้วยความมั่นใจอย่างเป็นระบบและเป็นเหตุเป็นผล รวมทั้งสนับสนุนการสังเกตของนักเรียนที่กำลังมีปัญหาอย่างมากในการสร้างความ จำคำต่างๆ

อะไรคือผลสะท้อนสำหรับการสอน
การ สอนการสะกดคำโดยการสอนโครงสร้างคำ กำเนิดของคำ และความหมายของคำจะมีผลอย่างแท้จริงมากที่สุด แม้ว่านักเรียนที่บกพร่องทาง การอ่านอาจยังคงมีปัญหากับการนึกคำ การเน้นหนักการจดจำโดยวิธีให้นักเรียน ปิดตาและจินตนาการคำต่างๆ หรือให้นักเรียนเขียนคำต่างๆ หลายๆ ครั้งจนกระทั่งพวกเขาจดจำ ถือว่าเป็นประโยชน์ ทีเดียว หลังจากนักเรียนได้รับการช่วยเหลือให้เข้าใจว่า ทำไมคำ หนึ่งๆ จึงสะกดอย่างที่เป็นนั้น นักเรียนซึ่งได้เรียนรู้ความสัมพันธ์กัน ระหว่างเสียงคำพูดกับสัญญลักษณ์ที่เขียนขึ้น เข้าใจรูปแบบของตัวอักษรที่ เกิดขึ้นในพยางค์ภาษาอังกฤษ และรู้ความหมายในแต่ละส่วนต่างๆ ของคำ จะสามารถจดจำคำต่างๆ ทั้งหลายได้ดีขึ้น โปรแกรมการสะกดคำในชั้นเรียนควรจะได้จัดขึ้นเพื่อสอนรูป แบบการสะกดคำที่ปกติให้ก้าวหน้า หลังจากการเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 การสอนการสะกดคำควรสอนการถอดคำเพื่อการอ่านเสริมด้วย เด็กๆ ควรจะสามารถอ่านคำต่างๆ ในบทเรียนการสะกดคำของพวกเขา นักเรียนส่วนมากสามารถอ่านคำต่างๆ ได้มากกว่าที่เขาสามารถสะกด

ความ สามารถในการเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างเสียงและตัวอักษรเป็นเรื่องที่มาเป็น อันดับแรก ตัวอย่างเช่น ก่อนการสะกดคำได้ นักเรียนจะสามารถแยกเสียงของคำในทางการพูดได้ก่อน แล้วจึงจะสามารถนึกตัว อักษรซึ่งสะกดเสียงเหล่านั้น ต่อไปคือ รูปแบบต่างๆ เช่น ชนิดของพยางค์พื้นฐาน 6 อย่างในภาษาอังกฤษ ควรนำมาสอนเพราะเป็นตัวแทนของเสียงสระต่างๆ ที่สามารถจะเดาต่อได้ นอกจากนี้ นักเรียนควรได้รับการสอนกฎพื้นฐานหลายๆ อย่างเพื่อเพิ่มการลงท้ายของคำ เช่น ตัวอักษรควรจะเป็นสองตัว เมื่อ y เปลี่ยนเป็น i และเมื่อมี e ลงท้ายแต่ไม่มีเสียงถูกลดรูปลง

บรรดา คำที่ผิดปกติ 2-3 คำควรนำมาฝึกทุกวัน เช่น come, they, their, who เป็นต้น การสืบเค้าของคำและการออกเสียงตัวอักษรต่างๆ การสร้างคำ ต่างๆ ด้วยการต่อตัวอักษร การคัดลอกและการเขียนให้เป็นประโยค ทั้งหมดนี้จะช่วย สร้างความจำเกี่ยวกับคำที่ผิดปกติทั้งหลาย นักเรียนหลายคนอาจสามารถจัดการ กับคำใหม่ๆ ได้ 2-3คำเท่านั้นในแต่ละครั้ง และพวกเขาอาจต้องการหลายๆ โอกาสที่จะเขียนคำต่างๆ ให้ได้อย่างถี่ถ้วนและด้วยการควบคุมดูแลก่อนที่พวกเขาจะสามารถจดจำได้ ใน ขณะที่เรียนรู้คำต่างๆ แบบฝึกหัดที่จะสร้างความคล่องแคล่ว เช่น การให้เขียนคำหรือประโยคต่างๆ ตามคำบอก เป็นต้น จะช่วยได้มาก การให้นักเรียนมีบัญชีสาธิตการสะกดคำ เฉพาะของตนเองไว้อ้างอิง จะช่วยสนับสนุนพัฒนาการของความสามารถในการอ่านพิสูจน์อักษรและพัฒนาการของ ความเชี่ยวชาญในการสะกดคำต่างๆ ที่ท้าทายเหล่านั้น

สิ่ง ที่สำคัญคือ ที่นักเรียนเรียนรู้การสะกดคำเพื่อการเขียนไม่ใช่เพียงเพื่อการทดสอบการสะกด คำ การถ่ายทอดสู่การสะกดคำเพื่อการเขียนในทุกวันเป็นสิ่งจำเป็น และจะช่วย ได้มากถ้านักเรียนได้รับการสอนให้ใช้ขั้นตอนการอ่านพิสูจน์อักษรซึ่งเกี่ยว ข้องกับการตรวจสอบเรื่องเรื่องเดียวในแต่ละครั้ง เช่น การใส่เครื่องหมายวรรคตอน การใช้อักษรตัวเล็กตัวใหญ่ การสะกด คำ โครงสร้างประโยค และองค์ประกอบ เป็นต้น

เครื่อง ตรวจเช็คด้วยคอมพิวเตอร์จะไม่ช่วยอะไรเลย ถ้านักเรียนไม่มีทักษะการสะกดคำเป็นพื้นฐานแล้ว โดยปกติจะอยู่ในระดับประถมศึกษาที่ 5 และถ้านักเรียนไม่ได้รับการช่วยเหลือด้านการตรวจพิสูจน์อักษรในทางอื่น ด้วย ทั้งนี้ เครื่องตรวจเช็คด้วยคอมพิวเตอร์ไม่สามารถระบุที่ผิดได้ทั้ง หมด

การทดแทนที่สำคัญและการปรับปรุงงานสำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางการอ่าน มีดังต่อไปนี้

  • ให้คะแนนงานเขียนที่เนื้อหาเป็นหลัก
  • เขียนสะกดคำที่ถูกให้ทับคำที่ผิดและจำกัดการเขียนใหม่ให้อยู่ในจำนวนที่สมเหตุสมผล
  • ให้การช่วยเหลือด้านการอ่านพิสูจน์อักษร
  • สนับสนุนนักเรียนให้ออกเสียงความคิดก่อนเขียนและให้พวกเขาสะกดคำต่างๆ ที่เป็นเนื้อหาสำคัญในการเขียน
  • ให้นักเรียนในระดับมัธยมศึกษา หรือระดับที่สูงขึ้นไปพิมพ์ข้อสอบหรือการบ้าน
  • สนับสนุนให้นักเรียนส่งงานร่างแรกๆ ของงานค้นคว้าหรือเรียงความเพื่อการแก้ไขปรับปรุงก่อนให้คะแนน
แปลจาก Spelling โดย International Dyslexia Association (2008) จาก http://www.ldonline.com
แปลและเรียบเรียงโดย พรรษชล ศรีอิสราพร

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก