ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

ทำอย่างไร เมื่อเด็กๆ ไม่อยากอ่านหนังสือ 08/09/2009

ลูกๆ ของคุณทำแต่เรื่องไร้สาระแทนที่จะหยิบหนังสือขึ้นมาอ่านหรือเปล่า ดร. แมรี คาร์โบ (Marie Carbo) ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการบริหารสถาบันวิธีการอ่านแห่งชาติสหรัฐ อเมริกากล่าวว่า ความรู้สึกของเด็กๆ ต่อการอ่านหนังสือมีผลกระทบอย่างมหาศาลว่า ต่อไปพวกเขาจะเป็นนักอ่านตลอดชีวิตหรือไม่

บทสัมภาษณ์ ดร. คาร์โบต่อไปนี้ มีที่มาจากเครือข่ายการศึกษาของครอบครัว
ดร. คาร์โบตอบคำถามข้างล่างนี้ว่า เราจะสามารถสนับสนุนให้เกิดการอ่านขึ้นที่บ้านได้อย่างไร

เด็กเล็กๆ สมัยนี้อ่านหนังสืออย่างไรบ้าง  ?
มี เด็กเล็กๆ มากเหลือเกินที่ยังอ่านหนังสือไม่ได้ แม้เราจะเห็นเด็กจำนวนมากขึ้นทุกวัน พากันอ่านหนังสือได้ดี แต่จริงๆ ไม่เป็นอย่างนั้น ฉันคิดว่า ในกระบวนการเรียนรู้ว่าจะอ่านอย่างไร เด็กเล็กๆ มักหมดความสนใจลง

มี การหันเหความสนใจที่ทำให้เด็กๆ เสียสมาธิอยู่เสมอ เด็กๆ ไม่ได้อาศัยอยู่กระท่อมที่ไม่มีอะไรทำนอกจากอ่านหนังสือ อาจเป็นไปได้ว่า เด็กๆ ดูโทรทัศน์มากเกินไปหรือเรียนหนังสือมากไปที่โรงเรียน

ทันทีที่เด็กๆ หมดความสนใจในการอ่านหนังสือ ก็กลายเป็นเรื่องยากที่จะดึงเขากลับมาสนใจ

แรง จูงใจ (motivation) ของเด็กเล็กๆ ที่จะอ่านหนังสือ มีแต่จะน้อยลงเมื่อเขาโตขึ้น การอ่านหนังสือก็เหมือนทักษะอื่นๆ เช่นกัน ถ้าไม่ฝึกฝนอยู่เสมอ ก็จะไม่พัฒนาทักษะ การเรียนรู้คำต่างๆ จะไม่เป็นเรื่องง่าย ทำให้ไม่สามารถอ่านได้เร็ว

นักเรียนระดับมัธยมปลายบางคน เพียงอ่านหนังสือแค่บทเดียวก็รู้สึกยากลำบากเหมือนปีนภุเขา แม้ว่าเขาจะเป็นนักอ่านที่ดี

พ่อแม่จะแยกแยะความแตกต่างระหว่างเด็กที่หมดความสนใจในการอ่านหนังสือกับเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้ (LD) ได้อย่างไร
ให้หาหนังสือที่เหมาะกับวัยของเด็ก เด็กสามารถอ่านได้ไหม พวกเขาเข้าใจและคุยเกี่ยวกับมันได้ไหม
ลูก ของคุณแสดงอาการผิดปกติหรือเปล่า ถ้าเด็กๆ บ่นปวดท้อง ไม่ชอบไปโรงเรียน หรือไม่ชอบอ่านอะไรเลย บางทีพวกเขากำลังดิ้นรนกับการ อ่านอยู่

แต่ ถ้าพวกเขาเขียนตัว b สลับกับตัว d เวลาที่เขียนลอกตัวอักษร นี่ก็เป็นตัวบ่งชี้ถึงปัญหาการมองเห็นของเขา แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามันเกิดขึ้นสม่ำเสมอโดยตลอดที่เรียนอยู่ประถมหนึ่ง

พ่อแม่จะกระตุ้นให้เด็กๆ อ่านหนังสือที่บ้านได้อย่างไร ในขณะที่พวกเขายังต้องดิ้นรนกับการอ่านหนังสือที่โรงเรียน
ทั้ง หมดขึ้นอยู่กับวิธีการ ควรพยายามทำให้เป็นเรื่องเบาๆ สบายๆ ในช่วงสั้นๆ ของวัน ให้แบ่งปันการอ่านของตัวคุณเอง เช่น อ่านบางตอนที่ตลกๆ และน่าสนใจออกมาดังๆ ดึงความสนใจของลูกคุณด้วยหนังสือปริศนาสำหรับ เด็กๆ หนังสือเกี่ยวกับกีฬา หรือเรื่องจากหนังสือพิมพ์

แสดง ความสนุกเพลิดเพลินในการอ่านให้เด็กๆ เห็น ทำในช่วงสั้นๆ และทำอย่างให้รู้สึกสบายๆ คุณไม่จำเป็นจะต้องเคร่งเครียดเกี่ยวกับมัน โดย เฉพาะอย่างยิ่งถ้าเด็กๆ รู้สึกเบื่อตั้งแต่ที่โรงเรียนแล้ว

เด็กๆ ที่หมดแรงจูงใจ (motivation) ที่จะอ่านหนังสือแล้ว วิธีดึงกลับก็คือ ให้หาหนังสือที่น่าสนใจมากที่สุด สำหรับเขา ไม่ใช่สิ่งที่เขาอ่านที่โรงเรียนแต่เป็นอะไรที่เขาอ่านแล้วสนุก

อาจ จะหาหนังสือที่มีความนิยมอย่างสูง เหมาะกับวัยและสนุกสนาน หรือถ้าเด็กๆ ชอบภาพยนตร์เรื่องใดก็อาจจะหาหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนั้นมาให้ ที่สำคัญคือ เข้าให้ถึงความสนใจของเขา

พ่อแม่ไม่ควรปฏิบัติสิ่งใด ขณะที่กำลังอ่านหนังสือกับเด็กๆ ?
ฉัน ไม่เคยลืมเรื่องนี้เลย มีผู้หญิงคนหนึ่งนั่งอ่านหนังสือกับลูกอยู่ข้างหลัง ฉัน ฉันก็นั่งฟังอย่างทรมานใจ เด็กคนนั้นอ่านสะดุดตลอดเวลา ดูเป็นช่วงเวลา ที่เด็กทรมานมาก

ที่ จริง สิ่งที่ควรจะทำในสถานการณ์นั้นก็คือ อ่านหนังสือให้ลูกของคุณฟังในครั้งแรกก่อน จากนั้นจึงค่อยอ่านไปพร้อมๆ กัน พ่อแม่ส่วนมากคิดว่า การดิ้นรนอ่านไปอย่างนั้นเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่ง เป็นเรื่องไม่ถูกต้องที่คุณต้องเรียนรู้ นี่เป็นเรื่องแรกที่ฉันต้องการจะ ลบออกจากใจผู้คน

เด็กๆ ควรจะมีความรู้สึกที่ดีต่อการอ่านหนังสือ ถ้าเขารู้สึกอย่างนั้นแล้ว พวก เขาก็จะกลายเป็นนักอ่าน เพราะเรามักจะทำอะไรซ้ำๆ ในสิ่งที่เราเพลิดเพลินเสมอ

คุณจะทำให้การอ่านเหนังสือเป็นเรื่องที่สนุกสำหรับเด็กเล็กๆ ได้อย่างไร  ?
ทุกคนเรียนรู้และรับรู้ข้อมูลแตกต่างกัน ฉันได้ลองทดลองใช้วิธีการอ่านแบบใหม่ในชั้นเรียน

ฉัน ให้เด็กเขียนตามคำบอกในเรื่องง่ายๆ หลายเรื่อง ฉันใช้วิธีบันทึกเทปโดยพูดช้าๆ ในเวลา 2-3 นาที แล้วฉันก็สร้างเกมให้เด็กเล่นโดยใช้คำจากเรื่องเหล่านั้น เด็กๆ ต้องจับคู่คำกับรูปภาพ นอกจากนั้น ยังให้เล่นเกมบิงโกและเกมทายไพ่กับคำอีกด้วย ฉันพยายามทำเรื่องอ่านให้เป็น เรื่องน่าสนุกสนาน แล้วสิ่งที่น่าทึ่งก็เกิดขึ้น เด็กๆ ทั้งหลายเริ่มอ่านหนังสือกันใหญ่

คุณจะให้คำแนะนำพ่อแม่ที่มีลูกที่ยังต้องดิ้นรนกับการอ่านอย่างไร
ฉัน อยากให้พ่อแม่มีความหวังอยู่ แม้เด็กๆ ยังดิ้นรนกับการอ่านอยู่ ยังมีกลวิธีที่พอจะใช้ช่วยเหลือลูกคุณได้ คุณจะ รู้สึกง่ายขึ้นถ้าคุณครูหยิบยกปัญหาขึ้นมาแก้ไข ขณะที่พ่อแม่สามารถชักนำ การอ่านให้มีผลต่อเด็กมากขึ้น

แปลและเรียบเรียงจาก When Kids Hate To Read โดย แอนน์ สเวนเซน (Anne Svensen) (2004)
โดย พรรษชล ศรีอิสราพร

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181