ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

คำแนะนำเพื่อการพัฒนาความภาคภูมิใจในตัวเอง (Self-Esteem) ของเด็กแอลดี 08/09/2009

เพื่อการรณรงค์ร่วมกันช่วยเหลือผู้บกพร่องทางการเรียนรู้ (1999)
พ่อ แม่ส่วนใหญ่ควรจะตระหนักรู้ว่า ความรู้สึกถึงคุณค่าในตัวเองของเด็กเกี่ยวพันกับความสำเร็จทางสังคมและการ เรียน แต่บางครั้งพ่อแม่ลืมไปว่า ตนเองได้ทำลายความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองของเด็กอย่างไม่รู้ตัว มีงาน วิจัยที่แสดงว่า เด็กๆ ที่เป็นแอลดีจะเจ็บปวดจาการขาดความภาคภูมิใจในตนเองมากกว่าเด็กๆ รุ่นราวคราวเดียวกัน คำแนะนำต่อไปนี้เป็นการรวบรวมวิธีที่จะช่วยให้พ่อแม่ พัฒนาความรู้สึกด้านบวกต่อคุณค่าในตนเองของเด็กๆ แอลดี

ช่วยเหลือให้เด็กรู้สึกพิเศษและเป็นที่ชื่นชอบ
งาน วิจัยบ่งบอกว่า องค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยเหลือเด็กแอลดีให้มีความหวังอยู่เสมอ จนเป็นคนที่มีจิตใจร่าเริงสดชื่นเสมอ คือ การที่มีผู้ใหญ่สักคนหนึ่งคอยช่วยเหลือเด็กแอลดีให้รู้สึกว่า ตนเองพิเศษและเป็นที่ชื่นชอบ ผู้ใหญ่สักคนหนึ่งซึ่งไม่ละเลยปัญหาต่างๆ ของเด็กแอลดี แต่ให้ความสนใจที่จุดแข็งของเด็ก วิธีหนึ่งที่พ่อแม่จะทำได้ ในแต่ละสัปดาห์คือ ให้เวลาพิเศษ ตามลำพังกับเด็กแต่ละคนในบ้าน ยิ่งถ้าเป็นเด็กเล็ก พ่อแม่อาจจะถึงขนาดพูด ได้ว่า “ถ้าฉันกำลังอ่านหนังสือหรือเล่นกับลูกอยู่ แม้โทรศัพท์ดัง ก็จะไม่รับโทรศัพท์” ในระหว่างเวลาพิเศษเช่นนี้ ให้เพ่งความสนใจไปที่สิ่ง ต่างๆ ที่ลูกทำแล้วเพลิดเพลินเพื่อว่า เด็กๆ จะได้มีโอกาสผ่อนคลายและแสดงออกถึงจุดแข็งต่างๆ ของตน

ช่วยเหลือให้เด็กพัฒนาการแก้ปัญหาและทักษะการตัดสินใจ
ความ ภาคภูมิใจในตนเองสูงเป็นเรื่องสัมพันธ์กับทักษะการแก้ปัญหาอย่างจริง จัง ตัวอย่างเช่น ถ้าเด็กแอลดีมีปัญหากับเพื่อนสักคน คุณอาจถามเด็กให้ คิดหาวิธีแก้ไขสถานการณ์สักสองสามวิธี อย่ากังวลใจถ้าเด็กไม่สามารถคิดหา วิธีแก้ไขปัญหาได้ทันทีทันใด คุณอาจช่วยเขาสะท้อนวิธีแก้ไขปัญหาที่เป็นไป ได้ นอกจากนั้น อาจใช้วิธีแสดงบทบาทสมมติในสถานการณ์ต่างๆ นั้น เป็นขั้นตอนสู่การแก้ไขปัญหา

หลีกเลี่ยงการให้ความเห็นวิพากษ์วิจารณ์
พยายาม วางกรอบในทางบวกให้เขา ตัวอย่างเช่น ความเห็นที่ออกมาในเชิงกล่าวหาที่ ว่า “พยายามให้หนัก ใช้ความพยายามให้มากขึ้นหน่อย” เด็กๆ แอลดีส่วนใหญ่พยายามอย่างหนักแล้วแต่ก็ยังพบความยุ่งยาก ควรใช้คำพูดแทนว่า “เราต้องหากลวิธีที่ดีกว่านี้ ที่จะช่วยให้พวกเธอเรียนรู้ได้” เด็กๆ จะลดการต่อต้านเมื่อปัญหาถูกโยนไปที่กลวิธีซึ่งต้องเปลี่ยนมากกว่าการบอกว่า แรงจูงใจบกพร่อง การเข้าถึงเด็กแอลดีด้วยวิธีนี้จะช่วยส่งเสริมทักษะการแก้ ปัญหาของเด็ก

เป็นพ่อแม่ที่เห็นอกห็นใจเด็ก
พ่อ แม่ส่วนใหญ่ที่หมดความอดทนมักพูดให้ได้ยินว่า “ทำไมลูกไม่เชื่อฟังเลย” หรือ “ทำไมลูกไม่ใช้สมอง” ถ้าลูกของคุณมีความยุ่งยากกับการเรียนรู้ ทางที่ดี ที่สุดคือ ควรเห็นอกเห็นใจ และบอกให้เขารู้ว่า คุณรู้ว่าเขามีความยุ่งยากใจ แล้วพ่อแม่ก็จะสามารถจัดการกับความยุ่งยากใจ ด้วยการแก้ปัญหาและช่วยลูกคิดหาหนทางแก้ไขที่เป็นไปได้

ให้ทางเลือกกับลูกของคุณ
สิ่ง นี้จะช่วยลดการดิ้นรนลำบากกับการเป็นแอลดีให้น้อยลง ตัวอย่างเช่น ให้ลูก ใช้เวลา 5-10 นาทีก่อนนอนคิดถึงทางเลือกต่างๆ ที่ต้องการทำในวันต่อไป การเริ่มต้นด้วยวิธีทางเลือกเหล่านี้จะช่วยเป็น พื้นฐานความรู้สึกที่จะควบคุมชีวิตของตนเองของเด็กแอลดี

อย่าเปรียบเทียบกับพี่ๆ น้องๆ
สิ่งสำคัญคือ อย่าเปรียบเทียบกับพี่ๆ น้องๆ ของเด็ก และดึงจุดแข็งของเด็กๆ แต่ละ คนในครอบครัวขึ้นมา

ดึงจุดแข็งของลูกคุณขึ้นมา
เด็กๆ หลายคนมองตัวเองในทางลบ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ที่โรงเรียน ลองจดบัญชีจุดแข็งต่างๆ ของลูกคุณ แล้วหาหนทางส่งเสริมและให้แสดงออก เช่น ถ้าเก่งทางเป็น ศิลปิน ก็ส่งเสริมให้แสดงออกทางนั้น

ให้โอกาสเด็กแอลดีได้ช่วยเหลือ
เด็กๆ มีจิตใจที่จะช่วยเหลือคนอื่นมาตั้นแต่เกิด เพราะฉะนั้น จงให้โอกาสเด็กแอลดีช่วยเหลือคนอื่น เพื่อให้เขาได้แสดงความสามารถ หรือแสดงออกว่า มีบางสิ่งที่เขาสามารถจะ ช่วยโลกได้ การที่ให้เขาได้มีส่วนในงานการกุศลก็เป็นตัวอย่างหนทางที่เป็น ไปได้ทางหนึ่ง การช่วยเหลือคนอื่นถือเป็นการช่วยยกระดับความภาคภูมิใจในตน เอง (Self-Esteem) ของเด็กๆ

ช่วยเด็กๆ ให้เข้าใจธรรมชาติของการบกพร่องทางการเรียนรู้ของพวกเขา
เด็กๆ หลายคนมีภาพฝันและมีความคิดที่ผิดเกี่ยวกับปัญหาการเรียนรู้ของตนเอง ทำให้เกิดภาวะหดหู่ซึมเศร้า เช่น เด็กคนหนึ่งบอกว่า ตนเองเกิดมาพร้อมด้วยสมองเพียงครึ่งเดียว การมีข้อมูลที่เป็นจริงจะช่วยให้ เด็กไม่เพียงแต่รู้จักควบคุมตนเองเท่านั้น แต่ยังมีความรู้สึก ว่า สถานการณ์ต่างๆ สามารถได้รับการช่วยเหลือและแก้ไขได้

แปลจาก Tips for Developing Healthy Self-Esteem In Your Child
แปลและเรียบเรียงโดย พรรษชล ศรีอิสราพร

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก