ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

การส่งเสริมตัวตนเด็กแอลดีว่า เป็นผู้ที่เรียนรู้ได้ 08/09/2009

บทนำ
รายงาน การวิจัยส่วนใหญ่ระบุว่า เด็กแอลดีมักจะแสดงอาการหดหู่ โดยเฉพาะอาการรู้สึกว่าตัวเองด้อยคุณค่า แต่งานวิจัยไม่ได้ระบุชัดเจนถึง พื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างการแสดงอาการหดหู่กับความบกพร่องทางการเรียน รู้ ที่ปรากฎชัดคือ แม้ว่าเด็กแอลดีจะมีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ อัน เนื่องมาจากมีความพยายามเรียนรู้แต่ถูกเหนี่ยวรั้งด้วยความบกพร่องและต้อง ใช้ความพยายามมากกว่าปกติในการเรียนและการพัฒนาทักษะทางวิชาการของตนเองให้ เข้มแข็ง เด็กแอลดีต้องพบกับความคับข้องใจและประสบกับความล้มเหลวขนานใหญ่ในกิจกรรม การเรียนรู้ต่างๆ ความผิดหวังที่ได้รับอย่างต่อเนื่องสามารถแปลในทาง จิตวิทยาเป็นความรู้สึกโดยทั่วๆไปของความด้อยคุณค่าและศักยภาพ ซึ่งสร้าง ภาวะการยอมรับอย่างเจ็บปวดขึ้นเป็นความรู้สึกอยู่ภายในใจของเด็กๆ
การสร้างตัวตนทางจิตวิทยาว่าเป็นผู้เรียนรู้ได้
เด็กๆ แสดงตัวเองว่าเป็นผู้เรียนรู้ได้ผ่านวิธีการที่หลากหลายรวมไปถึง

  1. วิธีที่พวกเขาหาประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในทักษะต่างๆ และการซึมซับข้อมูล
  2. วิธีที่คนอื่นมองเขาและให้เขาเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง
  3. วิธีที่เขาเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่นในเรื่องความเชี่ยวชาญในทักษะใหม่ๆ เช่น พี่ๆ น้องๆ หรือคนวัยไล่เลี่ยกันอาจจะกำลังอ่านหนังสือขณะที่เขาเพิ่งจะเริ่มเรียนตัว อักษร หรือเด็กๆ อื่นเล่นบอลล์ได้เก่งแล้ว ขณะที่เขายังแทบจะจับลูกบอลล์ไม่เป็นเลย

พัฒนาการ ทางความรู้สึกของคนเราว่า ตนเองเป็นผู้เรียนรู้ได้เริ่มตั้งแต่ระยะยังเล็ก มาก งานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ยังแสดงให้เห็นว่า เด็กๆ ตั้งแต่ก่อนประถมหนึ่งได้สร้างความแตกต่างให้เห็นแล้วว่า เขาได้เรียนรู้ ถึงความสามารถของตนเองในกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านคณิตศาสตร์ การอ่าน การเล่นดนตรีและกิจกรรมกีฬา และ เมื่อพวกเขาอายุมากขึ้น ก็เก่งมากขึ้นในการสร้างความสามารถที่โดดเด่น เรื่องนี้เป็นเรื่องน่าสนใจ เพราะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เด็กๆ วัยเยาว์สามารถเรียนรู้ได้โดยทั่วไปแม้แต่ในเรื่องที่เขายังไม่มีประสบการณ์ ตรง นอกจากนี้ การรับรู้ถึงความสามารถของตนเอง หรืออาจเรียกว่า การรับรู้ว่า ตนเองเป็นผู้เรียนรู้ได้ สามารถพัฒนาขึ้นได้ตั้งแต่วัยเยาว์
ประสบการณ์ ความ รู้สึกและการสื่อสารพูดคุยกันทั้งหมดเหล่านี้กลายเป็นมุมมองต่างๆ ของการรับรู้ว่า ตนเองเป็นผู้เรียนรู้ได้ ทัศนคติต่างๆ (attitudes) แรงกระตุ้น (motivation) และการริเริ่มในสถานการณ์การเรียนรู้ต่างๆ เกิดมาจากการมีปฏิกิริยาโต้ตอบระยะแรกๆ ของเด็กกับคนอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพ่อแม่ ครูและครอบครัว การตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นและการมีปฏิกิริยาโต้ตอบเหล่านี้กลายเป็นสิ่งที่ อยู่ภายในจิตใจเด็กและทำหน้าที่เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาความรู้สึกถึง คุณค่าของตัวเด็กเองในฐานะผู้เรียน และกลายเป็นทัศนคติและการเปิดตัวเองสู่ การเรียนรู้
ประเด็น การกำหนดตัวเองให้เป็นผู้เรียนรู้ได้สำหรับเด็กแอลดีแล้วเป็นเรื่องซับซ้อน เด็กๆ เหล่านี้มักแสดงแบบอย่างความสามารถที่ไม่คงที่ซึ่งเป็นประสบการณ์การเรียน รู้ที่ไม่อาจคาดเดาได้และไม่แน่นอน ลองจินตนาการสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้า คายไม่ออกที่เด็กเหล่านี้ต้องประสบ:

  • ฉันเป็นอะไรไปที่รู้อะไรอยู่แค่หนึ่งนาที พอนาทีต่อไปเกิดไม่รู้แล้ว
  • ทำไมบางครั้งฉันรู้สึกว่าตัวเองโง่ทึบ แต่บางครั้งก็รู้สึกฉลาด
  • ทำไมฉันเรียนรู้บางเรื่องได้เร็ว แล้วเรียนรู้บางเรื่องช้ามาก
  • ฉันจะสามารถเอาชนะปัญหาและเรียนให้ดีขึ้นได้อย่างไร ถ้าฉันบกพร่องทางการเรียนรู้
  • ฉันจะฉลาดไปได้อย่างไรถ้าฉันพลาดแม้แต่เรื่องง่ายๆ เช่น จำคำหรือชื่อต่างๆ ไม่ได้
  • ทำไมฉันสามารถอ่านบางสิ่งบางอย่างได้เพียงครั้งเดียวและอ่านไม่ได้ในครั้งต่อไป
  • แม้ฉันพิการ แต่ก็หมายความว่า ฉันยังทำอะไรๆ ได้อยู่ใช่ไหม
  • ทำไมฉันรู้เรื่องสถิติการแข่งฟุตบอลทั้งหมดได้ แต่กลับทำเลขคณิตง่ายๆ ไม่ได้

สถานการณ์ ต่างๆ ข้างต้นเป็นเรื่องกลืนไม่เข้าคายไม่ออกจริงๆ มันบ่อนทำลายความสามารถของเด็กๆ ทำให้ต้องคอยรู้สึกถึงปัญหาที่เกิด ขึ้น และเด็กๆ ยังต้องพะวงกับการต้องกำหนดให้ตนเองเป็นผู้เรียนรู้ได้อีกด้วย เด็กที่ ประสบความยุ่งยากในการเรียนรู้จำเป็นจะต้องเอาชนะช่วงแห่งประสบการณ์ความล้ม เหลวและความคับข้องใจและพัฒนาภาพพจน์ของตนเองในทางบวกมากขึ้น
เด็กๆ ที่ยังเยาว์มีแนวโน้มที่จะยอมรับทัศนะตรงๆ เกี่ยวกับตัวของเขาเองว่า ดี หรือ เลว ในการกระทำเช่นนั้น เป็นเรื่องอันตรายสำหรับการพัฒนาทัศนะที่บิดเบือนของพวกเขาเองว่าเป็นผู้ เรียนที่ “แย่” โดยเฉพาะอย่างยื่งถ้าพวกเขามีความบกพร่องในการเรียนรู้ การเรียกแบบ ฝังหัวเช่นนี้จะติดแน่นในตัวเด็กไปจนวัยผู้ใหญ่ และลบล้างบุคลิกลักษณะด้าน บวกของพวกเขา ทำให้พวกเขาเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้เพียงเล็กน้อยจากความ สามารถที่มีมากกว่า
เด็กๆ ที่มีความรู้สึกว่าตนเองเรียนรู้ช้าหรือแย่อยู่ภายใจจิตใจจะเสี่ยงต่อความ ล้มเหลวอย่างเห็นได้ชัด เด็กจะมีการคาดหวังต่ำ ซึ่งจะมีผลกระทบในทางลบต่อการที่เด็กจะเรียนรู้ให้ ดี หรือพยายามทำงานให้สำเร็จได้ เด็กแอลดีมีจุดอ่อนตรงมักมีความข้องใจในตนเอง (self-doubt) ควบคู่ไปด้วย และมักหลีกเลี่ยงการเรียน เพื่อจะได้ไม่ต้องพบกับความล้มเหลวอีกต่อไป คำประณามเช่น “ช้า” “โง่” “ ขี้เกียจ”และ “ทึบ” มีผลกระทบจนสามารถทำให้เด็กหมดหวัง แม้จะมีแรงกระตุ้น (motivation) ความอยากรู้อยากเห็น (curiosity) และความเชื่อมั่นในตนเอง (confidence) โชคร้ายที่เด็กๆ มักจะได้ยินคำพูดเหล่านั้นอยู่บ่อยๆระหว่างช่วงปีแรกๆ ของการเรียนในโรงเรียน

ผลกระทบของการมีปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างพ่อแม่และครู
ผล ตอบกลับหรือฟีดแบ็ค (feedback) ของผู้คนต่างๆ ต่อเด็กแอลดีในช่วงแรกของการเข้าโรงเรียนและที่บ้านมีอิทธิพลต่อทัศนะต่อตัว เองของเด็กในฐานะ ผู้เรียนรู้ ฟีดแบ็คอาจจะมีกลับมาให้เด็กเพื่อการเรียนรู้หรือเพื่อสร้าง ความเชี่ยวชาญในทักษะใหม่ๆ เช่น การเรียนคำใหม่ๆ การใช้กระโถน การผูกเชือกรองเท้า และอาจจะปรากฏเป็นการ ใช้คำยกย่อง การใช้ท่าทางโดยไม่พูด หรือการยิ้ม การใช้เสียง การมองและการสัมผัส การใช้ข้อความที่ชัดเจนจะทำให้ฟีดแบ็คมี อิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองของเด็กๆ
งาน วิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ ยืนยันว่า สำหรับเด็กแอลดีแล้ว การรับรู้ความรู้สึกด้านบวกของพ่อแม่เกี่ยวพันอย่าง ชัดเจนต่อการรับรู้ความรู้สึกของตัวเด็กเอง รวมทั้งความสำเร็จทางด้าน วิชาการของพวกเขาด้วย เมื่อเด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ไม่มั่นใจเกี่ยว กับความสามารถของตนเอง พวกเขาจะอ่อนไหวและมีแนวโน้มจะเชื่อตามการรับรู้ที่ คนอื่นมีต่อความสามารถของพวกเขา หลายครั้งพ่อแม่อาจจะสื่อความคับข้องใจและ ความสงสัยของตนออกมาโดยไม่ตั้งใจ และเป็นไปได้ที่จะมีปฏิกิริยาเมื่อเด็ก แอลดีมากระตุ้นความทรงจำที่ล้มเหลวที่ตนเองเคยประสบมาก่อน
ผู้ ปกครองของเด็กคนหนึ่งที่มีปัญหาด้านการเรียงลำดับและการจัดระเบียบ ให้ความ เห็นเกี่ยวกับรายงานจากโรงเรียนของลูกสาวด้วยความขุ่นเคืองว่า ลูกไม่จำ เป็นจะต้องเหมือนพ่อแม่ ผู้ปกครองคนนี้เองก็เคยประสบความยุ่งยากทางการ เรียน และถูกระบุอย่างชัดเจนว่า มีปัญหาเดียวกับลูก ทำให้เขารำลึกถึงความล้มเหลวและเสียใจ ดังนั้น เขาจึงประสบความยุ่งยากในการสร้างความมั่นใจและให้การสนับสนุนอย่างที่ลูก ต้องการ อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่า ลูกสาวสามารถรับความช่วยเหลือได้โดยผ่านการเยียวยาแก้ไข โชคดีที่ช่วงเวลา นั้น ผู้ปกครองคนนี้เริ่มจะยอมรับปัญหาการเรียนรู้ของตนเองแช่นเดียวกับ ปัญหาของลูกสาว และประสบความสำเร็จในการช่วยลูกให้ได้รับความช่วยเหลือตาม ที่ลูกต้องการ
พ่อ แม่ที่มีประสบการณ์ความยุ่งยากในการเรียนรู้สามารถให้ความเห็นใจและช่วย เหลือสนับสนุนลูกๆ ซึ่งมีปัญหาในการเรียนรู้ได้ด้วยวิธีการที่เหมาะสมและเป็นพิเศษ พ่อแม่ เหล่านี้สามารถใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ที่เคยมีมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นในความ ท้อแท้และความคับข้องใจที่ต้องใช้ชีวิตกับความบกพร่องในการเรียนรู้ ความ ละเอียดอ่อนของพ่อแม่เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งยวดที่จะต้องให้การยอมรับและ ความเข้าใจลูกๆ ของตนเอง
ตัวอย่าง ต่อไปนี้ คือสิ่งที่เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ต่อสู้ดิ้นรนกับการรับรู้ตัวตนของตน เองซึ่งเกี่ยวพันกับทัศนะของตัวเองในฐานะผู้เรียนรู้
แจ็ค เป็นเด็กชายอายุ 12 ปีซึ่งถูกพบว่ามีภาวะซึมเศร้า เขาประสบปัญหาการเรียนรู้ด้านการมองเห็นเล็กน้อย แต่ประสบปัญหาการใช้ทักษะด้านตัวอักษรอย่างรุนแรงและต้องต่อสู้ในการเรียน รู้อย่างมาก ระยะแรกของการรักษา เขาบอกว่า เขาไม่ชอบคำว่า ความบกพร่องทางการเรียนรู้ (learning disabilities) “ทำไมไม่เรียกกันแค่ว่า มีความยุ่งยากในการเรียนเท่านั้น” เขาถามด้วยความโกรธ “ถ้าเรียกแค่นั้น จะได้เหมือนไม่พิการอะไรมากมาย” ในช่วงเวลาสั้นๆ ต่อมา เด็กคนนี้ก็เต็มใจที่จะยอมรับ “ความยุ่งยาก” กับการเรียนคณิตศาสตร์ และยินดีที่จะรับการเยียวยาแก้ไข
ครั้น เขาได้มีโอกาสพูดถึงความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับการถูกตราหน้าว่า เป็นเด็ก แอลดี มันทำให้เขาสามารถพูดได้อย่างแท้จริงถึงปัญหาการเรียนรู้ของ เขา แจ็คสามารถพบวิธีการนึกถึงตนเองในฐานะผู้เรียนที่ดีที่มีความยุ่งยาก กับการเรียนคณิตศาสตร์ เขาเต็มใจที่จะยอมรับความช่วยเหลือ สำหรับแจ็ค แล้ว การถุกตราหน้าว่า เป็นเด็กแอลดี หรือบกพร่องทางการเรียนรู้ เขารู้สึกอยากเอาชนะ

บทสรุป
ใน ด้านพัฒนาการทางจิตวิทยาของเด็กแล้ว เด็กควรจะได้สร้างความคิดรวบยอดของตน เองในฐานะเป็นผู้เรียนรู้ได้ แต่เด็กแอลดีมักสับสนและท้อแท้ และยังต้อง รับเอาข้อมูลที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับตนเองในฐานะเป็นผู้ที่เรียนรู้ได้อีก ด้วย เช่น “ฉันเก่งในการออกแบบจำลอง แต่ฉันอ่านหนังสือช้า” เด็กที่มีการรับรู้แบบไม่คงที่อาจจะเกิดความรู้สึกว่า ตนเองเป็นผู้พ่าย แพ้ และตัดสินว่าตนเองเป็นผู้เรียนที่แย่ ในกรณีเช่นนั้นทัศนะเกี่ยวกับตน เองของเด็กในฐานะเป็นผู้เรียนรู้จะกลายผลเป็นความรู้สึกสิ้นหวังและล้มเหลว
ความ ท้าทายทางจิตวิทยาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดประการหนึ่งสำหรับเด็กแอลดีคือ การพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตนเองให้ถูกต้องในฐานะผู้เรียนรู้ ซึ่งจะ ต้องพบกับประสบการณ์การเรียนรู้ทั้งทางด้านบวกและลบ เด็กคนหนึ่งจะประสบผล สำเร็จกับความซับซ้อนในเรื่องนี้อย่างไรขึ้นอยู่กับการขยายขอบเขตการสนับ สนุนอย่างต่อเนื่องและฟีดแบ็คจากบุคคลอื่นๆ รวมกับความสามารถที่เขาจะบูรณาการสิ่งที่เขาเข้าใจเกี่ยวกับตนเองใน สถานการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย
นัก เรียนที่ดีอาจจะพัฒนาทักษะทางวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพและ อัตโนมัติ อย่างไรก็ตาม นักเรียนคนนั้นอาจจะไม่ใช่นักสำรวจหรือไม่กระตือ รือร้นที่จะเรียนรู้ ผู้เรียนรู้ที่ดี คือ ผู้ที่แสดงความเต็มใจที่จะเข้าหาปัญหาและสามารถคงแรงกระตุ้น (motivation) ในการเรียนรู้ ทั้งที่มีความคับข้องใจ คุณลักษณะทางจิตวิทยาเหล่านี้จะมีอยู่ในตัวเด็กแอล ดีเสมอ ซึ่งทำให้เขาต้องทำงานที่หนักขึ้นเพื่อให้ตนเองเชี่ยวชาญในทักษะทางวิชาการ อย่างไม่ผิดพลาด ถ้าเราให้ความสำคัญกับการเป็น “ผู้เรียนรู้” เด็กก็กล้าที่จะพัฒนาความสามารถและเข้าเผชิญปัญหาการเรียน รู้มากยิ่งขึ้น ผลก็คือ ผลกระทบโดยตรงต่อความคิดรวบยอดของตัวเด็กเองในฐานะเป็นผู้เรียนรู้ได้ ซึ่ง ช่วยบ่งบอกคุณลักษณะของผู้เรียนรู้ได้ในทางบวกและเป็นจริง บรรดาคำที่บรรยายคุณลักษณะเช่น “กระตือรือร้น” “กระตุ้น” “ตื่นตัว” “อยากรู้อยากเห็น” “กล้าหาญ” “พากเพียร” และ “สอบถาม” เหล่านี้เป็นคำแสดงลักษณะนิสัยที่ระบุขึ้นมาเพื่อใช้สนับสนุน พฤติกรรมการกระทำของเด็กแอลดีให้เป็นผู้เรียนรู้ที่ดีขึ้นอีกได้
เด็กๆ ที่มีปัญหาการเรียนรู้ต้องการความช่วยเหลือในการกำหนดคำจำกัดความตนเองใน ฐานะเป็นผู้เรียนรู้ได้ เด็กๆ ต้องการความช่วยเหลือที่ต่อเนื่องในการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองในฐานะผู้ เรียนรู้ในงานและสถานการณ์ต่างๆ การให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องและให้ฟีด แบ็คที่คงที่และเหมาะสมจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการช่วยเหลือเด็กให้พัฒนา และยอมรับตัวตนว่า เป็นผู้เรียนรู้ได้ในทางบวก

แปล และเรียบเรียงจากบทความเรื่อง Defining the Self as a Learner for Children with LD ของ Augsta Gross, Ph.D., นักจิตวิทยาที่สถาบันบำบัดทางจิตร่วมสมัยในเมืองนิวยอร์ค ซึ่งมีประสบการณ์ ทำงานกับผู้ใหญ่และเด็กแอลดี (1996)
แปลและเรียบเรียงโดย พรรษชล ศรีอิสราพร

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก