ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

คำแนะนำ 6 ประการในการเดินทางไปกับเด็กออทิสติก

โดย Amy Lennard Goehner | วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน 2552

คำแนะนำในการเดินทาง
โดย  Amy Lennard Goehner
วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน 2552

เด็กที่เป็นออทิสติกต้องการสิ่งที่กำหนดมาในรูปแบบของกิจวัตรประจำวันและมีกรอบกำหนดที่ชัดเจนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ โดยความหมายแล้ว การหยุดพักผ่อนคือการหยุดพักจากภารกิจประจำวันต่างๆ และนี่คือคำตอบว่าเหตุใด แม่ที่เป็นม่ายลูกสอง --- ที่คนโตเป็นผู้ชายชื่อ Nate อายุ 15 เป็นออทิสติก ---อย่างฉัน จึงหลีกเลี่ยงการพาครอบ ครัวไปหยุดพักผ่อน คุณคิดจะถามใช่ไหมว่า แล้วถ้าหากจะไปล่ะ ฉันจึงลองติดต่อกับผู้ เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ และด้วยความช่วยเหลือขององค์กร Autism Speaks ความคิดเห็นที่ได้รับฟังจากบรรดาคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายที่มีลูกเป็นเด็กออทิสติก ทำให้รู้ว่ายังมีแนวร่วมอยู่อีก อีเมล์มากมายหลั่งไหลเข้ามาหลังจากนั้น ฉันจึงรวบรวมเข้าไว้เป็นรายการคำแนะนำสำหรับบรรดาพ่อแม่ ที่อาจมีความพร้อมที่จะไปสัมผัสชายหาด และสำรวจผืนน้ำในระหว่างเดือนแห่งความตระหนักในโรคออทิสติก (Autism Awareness Month)
-----------------------------
 
1. ความหวาดกลัวต่อจุดหมายที่ไม่รู้จัก
โดย Amy Lennard Goehner
วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน 2552
 
คำแนะนำ: Daniel Openden ผู้อำนวยการบริการด้านคลินิกของ Southwest Autism Research and Resource Center ที่ฟีนิกซ์แนะนำว่า “ก่อนออกเดินทาง กุญแจสำคัญคือจะต้องมีการกระตุ้นเรื่องการไปพักผ่อนให้ใกล้กับวันไปให้มากที่สุดและบอกทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ พ่อแม่อาจนำรูปภาพหรือภาพยนตร์เกี่ยวกับสถานที่ที่จะไป มาให้เด็กดู หรือจะนั่งค้นหาจากทางอินเตอร์เน็ตด้วยกันก็ได้ สอนให้ลูกคาดหวังด้วยว่าอยากจะเห็นอะไรก่อนเดินทางไป” Kim Wolf ผู้ปกครองของ Jack เด็กชายอายุ 11 ปี เตรียมหนังสือภาพเกี่ยวกับการเดินทางล่นวงหน้าสองสัปดาห์ “เรามีภาพสถานที่ที่เราจะไป ใครจะไปบ้าง และเราจะไปทำอะไร เรายังทำปฏิทิน เพื่อนับถอยหลังกว่าจะถึงวันออกเดินทาง” เมื่อได้มีการกำหนดจุดหมายปลายทางแล้ว ก็จะช่วยในการกลับมายังสถานที่เดิม หรือในการบันทึกวิดีโอเทปการเดินทางของครอบครัว แล้วนำมาฉายดูได้อีกตลอดปี
-----------------------------
 
2. สวนสนุก
โดย Amy Lennard Goehner
วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน 2552
 
คำแนะนำ:  สวนสนุก Disney World และสวนสนุกอื่นๆ ที่ต้องใช้บัตรผ่านพิเศษหรือสายรัดข้อมือสำหรับครอบครัวที่มีลูกพิการ รวมทั้งโรคออทิสติก บัตรผ่านอนุญาตให้ครอบครัวของคุณเข้าชมทางด้านหน้าของประตูทางเข้าทุกประตู อ้อมแถวยาวของคนยืนเข้าคิว ซึ่งเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความเศร้าใจ มีการติดต่อล่วงหน้าและขอรับการดูแลเป็นแขกพิเศษ Trisha Kayden ผู้เพิ่งพาลูกสาวอายุ 9 ขวบไปเที่ยว Disney World บอกเราว่า “การได้เป็นคนแรกทุกครั้ง คือสิ่งเดียวที่ทำให้คนที่เป็นออทิสติกเดินเชิดหน้าได้
ดร. Sandra Harris ผู้อำนวยการบริหารของศูนย์พัฒนาการบกพร่อง Douglass แห่งมหาวิทยาลัยรัทเกอร์ แนะนำว่า  “การเลือกพาเด็กเล็กไปเที่ยวสวนสนุกที่เหมาะสำหรับครอบครัว ถือว่าดีที่สุด” “คุณสามารถพักในโรงแรมเดียวตลอดการเดินทาง เพราะโรงแรมประเภทนี้ จะอำนวยความสะดวกให้กับครอบครัวที่มีลูกพิการ และยอมที่จะให้เด็กแสดงความเกรี้ยวกราด ความวิตกกังวล และพฤติกรรมอื่นๆที่เด็กเล็กๆ ส่วนมากชอบทำ” ในกรณีของเสียงดังหนวกหูในสวนสนุกนั้น (เด็กออทิสติกจะมีปัญหาทางด้านการรับรู้) ก็จะให้ใช้ที่อุดหูกันเสียง หรือหูฟังเพื่อไม่ให้ได้ยิน หรือไม่ก็เลือกไปในช่วงที่ไม่ค่อยมีคนไป เพราะคนจะน้อยลง
------------------------------------
 
3. เดินทางโดยเครื่องบิน
โดย Amy Lennard Goehner
วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน 2552

Jupiter / Getty
คำแนะนำ: จากการตรวจด้านความปลอดภัยที่สนามบินถึงความน่าเบื่อหน่ายบนเครื่อง การเดินทางบนเครื่องบินอาจเป็นฝันร้ายสำหรับคุณ คุณควรให้เด็กได้ฝึกวิธีปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยเสียก่อน Marcy Mullins โทร.ไปที่สนามบินภายในประเทศซินซินนาติ แจ้งว่า Marcel ลูกชายวัย 6 ขวบของเธอไม่เคยบินมาก่อน ดังนั้น ที่สนามบินแห่งแรก เจ้าหน้าที่ของสนามบินจึงให้ Marcy และลูกชายลองฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลองว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เมื่อเขาต้องผ่านด่านตรวจความปลอดภัยตาม ลำดับขั้นตอน พอถึงสนามบินโคลัมบัส ก็ได้รับการอำนวยความสะดวกเช่นเดียวกัน ถ้าคุณทำอย่างที่ว่านี้ไม่ได้ อย่างน้อย คุณก็ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทราบถึงปัญหาของลูกของคุณก่อน

เมื่อขึ้นไปอยู่บนเครื่องแล้ว ควรวางแผนว่าจะทำอะไรในระหว่างนั้นบ้าง Megan Browne เล่าให้ฟังว่า “ตอนไปเที่ยวเอเชียครั้งที่แล้ว (สามีของฉันอยู่ที่นั่นอยู่แล้ว) กับลูกๆ ที่อายุน้อยกว่า 8 ขวบสามคน คนหนึ่งเป็นออทิสติก ฉันต้องเตรียมตัวอย่างกับคนเป็นโรคประสาทที่กินยาสเตียรอยด์อยู่ทีเดียวละ –ฉันเตรียมของขวัญห่อด้วยกระดาษทิชชู ใส่ไว้ในกระเป๋าล้อเลื่อนของลูกทุกคน และต้องให้มีพอให้เด็กตลอดเวลาที่อยู่บนเครื่องด้วย ของขวัญที่ว่านี่ก็คือ ดินสอสี สมุดภาพระบายสีเล่มใหม่ ตัวต่อเลโก้  แป้งปั้นPlayDough DVD แผ่นใหม่ เด็กๆ จ้องรอเวลาทุกชั่วโมงเพื่อจะได้เล่นของเล่นชิ้นใหม่” อีกอย่างหนึ่ง อย่าลืมขอที่นั่งแถวหน้าไว้ก่อน บอกเหตุผลที่ต้องนั่งตรงนั้น ขอหมากฝรั่งและลูกกวาดชนิดแข็งหน่อยมาด้วย ในกรณีที่ลูกของคุณไม่สามารถบอกได้ว่าตัวเองกำลังหูอื้อ

แม้ว่าจะมีการเตรียมตัวมาอย่างดีแล้วก็ตาม การเดินทางโดยเครื่องบินก็ยังเป็นไปไม่ได้สำหรับเด็กบางคน

“ด้วยการเพิ่มมาตรการด้านความปลอดภัยของสนามบิน ฉันก็เลยบินไปไหนๆ กับ Morgan ไม่ได้อีก” Pam Homsher บอก “ฉันนึกเห็นภาพพวกเจ้าหน้าที่ขอให้ถอดรองเท้าของเธอออก หลังจากยืนรอเข้าคิวมานานถึงหนึ่งชั่วโมง เพระเธอใช้เครื่องช่วยการประสานงานระหว่างมือและตา และมีอุปกรณ์พิเศษติดอยู่ที่รองเท้ากีฬาของเธอ 
-----------------------------
4. โรงแรม
โดย Amy Lennard Goehner
วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน 2552
 
คำแนะนำ: “เริ่มจากที่เล็กๆก่อน” Christine Bakter เล่าให้ฟัง “ลองพักสักคืนหนึ่งที่โรงแรมใกล้ๆ หรือนัดไปค้างที่บ้านเพื่อน ก่อนที่จะลองหยุดพักนานขึ้น คุณอาจต้องทำอย่างนี้อยู่หลายครั้ง” ควรจะโทรศัพท์ไปล่วงหน้าและขอจองห้องที่เชื่อมต่อกัน หรือห้องแบบพิเศษตามที่ต้องการ นอกจากทำให้ลูกเคยชินกับเครื่องนอนและผ้าห่มของโรงแรมแล้ว คุณแม่คนหนึ่งยังเคยทำแม้กระทั่งขอผ้าปูรองบนเตียงเพิ่มเป็นพิเศษมาแล้ว เพราะลูกชายของเธอมักเกิดอุบัติเหตุตอนกลางคืนบ่อยๆ ควรจองห้องที่อยู่สุดทางเดิน เพื่อลดความกังวลเรื่องเสียงดังรบกวน บางทีการไปพักในห้องพักให้เช่าหรือคอนโดมิเนียม ก็คุ้มกับการจ่ายเงินเพิ่ม เพราะคุณทำอาหารเองได้
-----------------------------
5. ความปลอดภัย
โดย Amy Lennard Goehner
วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน 2552

Beathan / Corbis
 
คำแนะนำ: “ต้องแน่ใจว่าลูกของคุณมีสิ่งที่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเขาติดอยู่กับตัวตลอดเวลา” ดร. Harris แนะนำ “คุณอาจจะกลัดไว้หลังเสื้อ หรือผูกไว้กับเชือกรองเท้า ถ้าเขาเป็นคนไม่ชอบสวมรองเท้า ต้องมีชื่อและบอกถึงอาการหรือโรคที่เป็น รวมทั้งหมายเลขโทรศัพท์มือถือ และรายละเอียดอื่นๆ ที่ควรรู้เพื่อช่วยให้เขาปลอดภัยและสงบลงได้จนกว่าจะได้เวลากลับมาพบกันอีก “และติดรูปถ่ายล่าสุดของลูกไปด้วย เพื่อให้ตำรวจดู หากลูกของคุณเดินหลงทาง
-----------------------------
6. ความเบื่อหน่าย
โดย Amy Lennard Goehner
วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน 2552
 
คำแนะนำ:  อาจดูเป็นเรื่องง่าย แต่ต้องจำไว้ว่าควรทำให้วันหยุดพักผ่อนสอดคล้องกับความสนใจของลูก Christine Bakter พาลูกชายสองคนที่มีอาการออทิสติกของเธอไปเที่ยวที่ Outer Banks รัฐนอร์ธ คาโรไลน่า “เราได้ทำให้การเดินทางครั้งนั้นอัดแน่นด้วยโอกาสที่ลูกจะได้พบได้เห็นในสิ่งที่พวกเขาสนใจเป็นพิเศษ Ben หลงใหลประภาคาร ส่วนAlex ชอบว่ายน้ำ จระเข้ กับสัตว์ทะเล และหงุดหงิดกับสิ่งที่ฉันและสามีต้องการทำในบางครั้ง” แล้วทั้งสองก็ได้ใช้กิจกรรมต่างๆ เป็นแรงกระตุ้นให้สอนลูกทดลองไปในที่ที่ไม่เคยไป หรือทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ : “ตอนแรกเราลองทำอย่างที่ว่า แล้วจึงพาไปในที่ที่ลูกอยากไป” แต่ก็ขอให้ระลึกไว้ด้วยว่า การทำอะไรหลายๆ อย่าง ไม่ได้ดีกว่าเสมอไป “การออกไปหลายๆ ที่ในแต่ละวัน อาจไม่ใช่สิ่งที่ลูกอยากทำก็ได้” ดร. Harris บอก “วิธีหลีก เลี่ยงไม่ให้ต้องล้มเลิกกลางคัน คือ ให้จำกัดจำนวนกิจกรรมที่จะออกไปทำในแต่ละวัน แล้วหาอะไร อย่างอื่นทำในโรงแรมให้มากไว้ สำหรับเวลาที่เด็กๆ เริ่มหมดสนุกจะดีกว่า”

หากมีการวางแผนอย่างดี การหยุดพักผ่อนของคุณจะกลายเป็นเรื่องที่คุณคุ้นเคยได้ “การเดินทางไปเที่ยว เป็นเวลาที่เราควรทำตัวให้เป็นปกติธรรมดาที่สุด” Karla Newman ให้ความเห็น “ลูกแฝดของฉันมีความใฝ่ฝันอย่างเหลือเกินว่าจะได้ไปเที่ยวพักผ่อนด้วยกัน แต่ก็ต้องมีอันต้องล้มเลิกไปบ้างละ เพราะเราไปเมืองจีนหรืออิสราเอลในสัปดาห์นี้ไม่ได้”

แปลและเรียบเรียงจาก www.time.com โดยส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

ภาพประกอบบทความออทิสติก

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก