ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

เรื่องราวของฉัน

โดย เทมเปิล แกรนดิน | วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม 2002

ฉันอายุสองขวบครึ่งเมื่อเริ่มมีอาการออทิสติก คือไม่ยอมพูดจา ชอบทำอะไรซ้ำ ๆ และเกรี้ยวกราดอยู่เสมอ การที่ไม่สามารถสื่อสารกับใครด้วยคำพูด ทำให้ฉันท้อแท้เอามากๆ  ฉันจึงใช้วิธีการกรีดร้องแทน เสียงที่ดังและแหลมแสบแก้วหูของฉัน ทำให้รู้สึกเหมือนกับมีใครเอาเครื่องมือของหมอฟันไปจี้เส้นประสาท แล้วฉันจะหยุดไม่ให้เสียงที่ทำให้ต้องเจ็บปวดนี้ดังขึ้น
มาอีกด้วยการโยกตัวไปมา หรือไม่ก็จ้องมองดูเม็ดทรายที่ค่อยๆ ไหลผ่านนิ้วมือของฉันลงไป

ตอนที่ยังเด็ก ฉันก็เปรียบได้กับสัตว์ที่ไร้สัญชาตญาณใดๆ มาช่วยกำหนดทิศทางของตัวเอง แม้ฉันจะพยายามใช้ความสังเกต พยายามประพฤติตัวอย่างดีที่สุดอยู่ตลอดก็ตาม แต่ก็ไม่เคยทำออกมาได้อย่างเหมาะสมเสียที เมื่อนักเรียนคนอื่นๆ พากันคลั่งไคล้คณะนักร้องสี่เต่า ทอง (The Beatles) ซึ่งฉันเรียกการกระทำของพวกนั้นว่า ‘ISP’ ที่ย่อมาจาก Interesting socio logical phenomenon หรือปรากฏการณ์ทางสังคมอันน่าทึ่ง ซึ่งตัวฉันเองก็อยากจะเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยเหมือนกัน แต่ก็ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร ฉันมีเพื่อนไม่กี่คนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน คือ เล่นสกีและขี่ม้า แต่ความเป็นเพื่อนของเรา มักจะเกิดจากสิ่งที่ฉัน ‘ทำ’ มาก กว่าสิ่งที่ฉัน ‘เป็น’

จนแม้ทุกวันนี้ ฉันก็ยังคงไม่เข้าใจถ่องแท้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และยังคงเห็นว่า เพศของคนเรานั้น ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด เป็น ‘ผลบาปของระบบ’ ที่สำคัญที่สุด ซึ่งเป็นวลีที่ฉันเคยใช้สมัยเรียนมัธยมปลาย จากการได้อ่านหนังสือ และการพูดคุยเมื่อมีการประชุมหรือ ชุมนุมกัน ทำให้ฉันได้เรียนรู้ว่า คนออทิสติกที่ปรับตัวได้ดีที่สุด ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้น มักเลือกใช้ชีวิตโสด หรือไม่ก็แต่งงานกับคนที่มีความพิการเหมือนๆ กัน

การได้เข้าเรียนเร็วและการได้รับการบำบัดความผิดปกติในการใช้คำพูด ช่วยฉุดฉันให้หลุดออกมาจากโลกออทิสติก ตัวฉันนั้นใช้วิธีคิดเป็นภาพเหมือนกับคนออทิสติกทั่วไป ความ สามารถทางด้านศิลปะของฉัน เริ่มปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดตอนเรียนอยู่ชั้นประถมหนึ่งและประถมสอง เพราะได้รับการสนับสนุน ฉันเก่งในเรื่องของสีและการวาดภาพชายหาดด้วยสีน้ำ

สำหรับฉัน การฟังบรรยายก็เหมือนกับการฟังภาษาต่างด้าว ที่จะต้องแปลออกมาในรูปของภาพยนตร์สีธรรมชาติ ระบบเสียงสมบูรณ์พร้อมซึ่งฉายอยู่ในหัวของฉันเหมือนกับการฉาย เทปวิดิโอ สมัยเป็นเด็ก ฉันเชื่อว่าคนทุกคนก็คิดเป็นภาพเหมือนกัน จนเมื่อฉันเข้าเรียนในมหา วิทยาลัยนั่นแหละ จึงเข้าใจแจ่มแจ้งว่า คนบางคนจะใช้เพียงคำพูด และคิดเป็นถ้อยคำแต่เพียงอย่างเดียว เมื่อฉันเริ่มทำงานใหม่ๆ ฉันเคยคิดว่าวิศวกรคนหนึ่งโง่ เพียงเพราะเขามองไม่เห็นข้อผิดพลาดในแบบร่างของเขา มาบัดนี้ ฉันเพิ่งจะเข้าใจว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องของความโง่ หากเป็นเพราะเขาไม่ได้คิดเป็นภาพต่างหาก

คนที่เป็นออทิสติกมักจะเรียนรู้เรื่องต่างๆ ที่ไม่สามารถคิดเป็นภาพได้ค่อนข้างช้า ถ้อย คำที่เรียนรู้ง่ายที่สุดสำหรับเด็กออทิสติก คือ พวกคำนามต่างๆ เพราะว่าเกี่ยวข้องกับภาพโดย ตรง ส่วนคำที่แสดงระยะทาง เช่น ‘เหนือ’ หรือ ‘ใต้’ นั้น ไม่สื่อความหมายอะไรกับฉันเลย จนเมื่อมีโอกาสได้เห็นภาพจริง จึงค่อยจดจำได้ แม้ทุกวันนี้ ในทันทีที่ได้ยินแค่คำว่า ‘ใต้’ ฉันเป็นต้องนึกเห็นภาพตัวเองลงไปมุดอยู่ใต้โต๊ะในห้องอาหารของโรงเรียน ตอนซ้อมหลบภัยทางอากาศ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ปกติที่เกิดขึ้นทางแถบฝั่งตะวันออก ในยุคต้นทศวรรษของปี 1950 ขึ้นมาอย่างอัตโนมัติทีเดียว

ครูที่สอนเด็กออทิสติก จำเป็นต้องทำความเข้าใจกับรูปแบบความคิดของเด็ก ที่เชื่อมโยงกันด้วย แต่การคิดเป็นภาพนั้น มีความหมายมากกว่าเรื่องของการเชื่อมโยงเท่านั้น เพราะความคิดที่เชื่อมโยงกันนี้ สามารถสร้างขึ้นมาจากสิ่งที่ปรากฏแก่สายตาได้เช่นกัน อย่างเช่นตอนยังเด็ก ฉันไม่เคยรู้สักนิดเลยว่า ลูกสุนัขนั้นเป็นสัตว์คนละจำพวกกับแมว แต่หลังจากที่ได้ลองพิจารณาดูสุนัขทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กแล้ว ฉันถึงเรียนรู้ว่ามันมีจมูกเหมือนๆ กัน ซึ่งถือเป็นจินตนาการตามปกติ ของคน
ออทิสติกเมื่อมองดูสุนัขทุกตัว แต่ว่าจินตนาการแบบที่ว่านี้ จะไม่เกิดขึ้นกับแมว

ฉันเชื่อในความสามารถในการมองเห็นของตัวเอง ที่มาช่วยให้รู้จักสัตว์ประเภทต่างๆ ที่ฉันได้พบเห็น สมัยเริ่มทำงานใหม่ๆ  มีงานที่เกี่ยวข้องกับปศุสัตว์อยู่ชิ้นหนึ่ง คือ การออกแบบอ่างแช่และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ให้กับคอกปศุสัตว์แห่งหนึ่งในรัฐอริโซนา อ่างแช่นี้ หน้าตา
เหมือนสระว่ายน้ำ ทว่ายาวและแคบ มีความลึก 7 ฟุต สำหรับให้สัตว์เดินเรียงกันลงไปแช่ในอ่างซึ่งผสมยาฆ่าแมลงและสัตว์ชนิดต่างๆ ที่มารบกวน เพื่อกำจัดทั้งหมัด ไร เห็บ เหาและโลน รวมทั้งพยาธิบางชนิดที่ฝังตัวอยู่ตามผิวหนังภายนอกออกไปให้หมด การออกแบบอ่างแช่เมื่อปี 1978 นั้น นับว่าแย่มาก เห็นได้จากอาการตื่นตกใจของพวกสัตว์ที่ถูกบังคับให้เดินลงไปตามทางที่ลาดชันและลื่น มีสัตว์บางตัวที่ขัดขืนไม่ยอมลงอ่าง ทำให้ต้องลื่นหงายท้องและจมน้ำไป

สิ่งแรกที่ฉันทำเมื่อไปถึงโรงขุนสัตว์แห่งนั้น คือนึกภาพให้ตัวเองเข้าไปอยู่ในส่วนหัวของวัว และมองย้อนกลับออกมาด้วยสายตาของมัน เพราะว่าตาสองข้างของมันอยู่บนหัว สัตว์ประเภทนี้มีการมองเห็นในมุมกว้าง จึงน่าจะมีความรู้สึกคล้ายถูกบีบบังคับให้กระโจนลงมาจากเครื่องบิน แล้วถลาลงไปในท้องมหาสมุทรเป็นแน่

งานชิ้นแรกๆ ของฉัน คือการเปลี่ยนทางลาดลงอ่างแช่จากเหล็กเป็นคอนกรีต ถ้าหากฉันมีลำตัวและมีกีบอย่างลูกวัวละก็ ฉันคงจะหวาดกลัวมากทีเดียว ถ้าจะต้องเดินลงไปบนทางลาดลื่นๆ ที่ทำด้วยโลหะ ส่วนงานออกแบบหลังสุดของฉัน คือทางลาดคอนกรีตที่เอียงทำมุม 25 องศา ร่องลึก ๆ ในทางลาดคอนกรีตแบบนี้ จะช่วยทำให้สัตว์เดินทรงตัวได้เป็นอย่างดี เมื่อดูเผินๆ แล้ว ทางลาดแบบเดิมนั้น เหมือนกับจะเทลาดลงไปในน้ำทีละน้อย แต่ในความเป็นจริง มันลาดเอียงลงไปอย่างพรวดพราด แต่จะมองไม่ออก เนื่องจากสีของน้ำยาเคมีในอ่างแช่มีสีเหมือนสีของน้ำ พอพวกสัตว์ก้าวลงไปตามทาง ก็จะผลุบตกลงไปโดยไม่ทันรู้ตัวเพราะเสียการทรงตัวและหมด
โอกาสที่จะถอยหลังกลับขึ้นไปได้เสียแล้ว

บางครั้งบรรดาเจ้าของและผู้จัดการโรงขุนสัตว์ ไม่ค่อยจะยอมเข้าใจเอาเลยว่า อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก อย่างเช่นอ่างแช่และทางลาดให้สัตว์ลงไปในอ่างนั้น ถ้ามีการออก แบบอย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว พวกวัวควายจะยอมเดินลงอ่างโดยดี ด้วยความที่ฉันเป็นคนคิดด้วยภาพนี่แหละ ทำให้คิดเอาว่าพวกสัตว์ก็คงคิดแบบเดียวกันนั้น ฉันถึงได้เดาความรู้สึกของสัตว์พวกนี้ออก และทุกวันนี้ ครึ่งหนึ่งของปศุสัตว์ในสหรัฐอเมริกา ได้รับการดูแลด้วยอุปกรณ์ที่ฉันเป็นคนออกแบบ.

ปัจจุบัน แกรนดินมีตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาสัตวศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโคโลราโด

--------------------------------------------

หมายเหตุ    เทมเปิล แกรนดิน (เกิด: 29 สิงหาคม 1947) แพทย์ ชาวอเมริกันทางด้านสัตวศาสตร์ และศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโคโลราโด เป็นนักเขียนหนังสือที่ขายดีที่สุดคนหนึ่ง และยังเป็นที่ปรึกษาด้านการศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ของธุรกิจเอกชนเกี่ยวกับ ปศุสัตว์อีกด้วย 
เนื่องจาก แกรนดิน เป็นบุคคลออทิสติกในกลุ่มที่สามารถพูด ใช้ภาษา และปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นๆได้ดี และมักมีความสามารถและทักษะต่างๆ ค่อนข้างดี 
แกรนดินจึงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจากการทำงานด้านการให้ความรู้เรื่องออทิสติก นอกจากนี้ เธอได้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ Hug Machine ซึ่งทำงานโดยอาศัยแรงกดดันในระดับลึก (deep pressure) เพื่อช่วยให้คนไข้เป็นคนที่ไวต่อสิ่งกระตุ้นมากจนเกินไป สงบระงับลงได้ ส่วนมากจะใช้กับคนไข้ที่มีความผิดปกติจากกลุ่มอาการ  ออทิสติก 
แกรนดินได้คิดประดิษฐ์เครื่องมือบำบัดรักษาโรคและผ่อนคลายความตึงเครียด Hug Machine ขึ้นมาในปี 1965

แปลและเรียบเรียงจาก www.time.com โดยส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

ภาพประกอบบทความออทิสติก

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181