ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

ส่งเยาวชนไทยเข้าแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียนที่เวียดนาม

วันที่ลงข่าว: 29/01/15

ไทยส่งตัวแทนเยาวชนไทยกว่า ๔๐ คน เดินทางร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน เพื่อสร้างการยอมรับฝีมือแรงงานของไทย เข้าสู่การแข่งขันในเวทีโลก

ม.ล.ปุณฑริก สมิติ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กล่าวว่า เยาวชนไทยเข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ครั้งที่ ๑๐ ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๗ ซึ่งมีการจัดแข่งขันฯ ใน ๒๑ สาขา โดยส่งไปจำนวน ๔๑ คน

“การแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียนเป็นการแสดงถึงการให้ความสำคัญกับกำลังแรงงานที่กำลังจะเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมและเป็นการแสดงถึงทิศทางการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพัฒนากำลังแรงงานให้มีความสามารถในการแข่งขัน และเพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงาน รวมถึงการพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพและค่านิยมที่ดีของการทำงานในกลุ่มเยาวชนและแรงงานฝีมือ ถือเป็นเวทีที่สร้างการยอมรับในความเป็นเลิศด้านฝีมือ อีกทั้งช่วยพัฒนาแรงงาน รุ่นใหม่ให้มีฝีมืออยู่ในระดับสูงมีมาตรฐานเทียบเท่าระดับโลก และเป็นบันไดอีกขั้นในการก้าวสู่การแข่งขันเวทีโลก (World skills)”

ม.ล.ปุณฑริก กล่าวต่อว่า ครั้งต่อไปจะแข่งขันกันที่เมืองเซาเปาโล ประเทศบราซิล ในปี ๒๐๑๕ คาดหวังว่า เยาวชนไทยน่าจะคว้าเหรียญรางวัลได้ ๕-๖ เหรียญ เหรียญทองจากสาขาช่างเชื่อม, บริการอาหารและเครื่องดื่ม, ทำผม และระบบไฟฟ้าในอาคาร ขณะที่ ๒ เหรียญเงินจากสาขาช่างเชื่อม และบริการอาหารเครื่องดื่ม ส่วน ๔ เหรียญทองแดง จากสาขาเมคคาทรอนิกส์ กราฟิกดีไซน์ ยานยนต์ และสาขาท่อและสุขภัณฑ์ ทั้งนี้ ประเทศคู่แข่งคงจะหนีไม่พ้นสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศเจ้าภาพ สำหรับเยาวชนที่ได้รับรางวัล จะได้รับเงินสนับสนุน โดยเหรียญทอง จำนวน ๑๕๐,๐๐๐ บาท เหรียญเงิน จำนวน ๗๕,๐๐๐ บาท เหรียญทองแดง จำนวน ๔๐,๐๐๐ บาทประกาศนียบัตร (รางวัลชมเชย) จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท

สำหรับสาขาที่ส่งเข้าแข่งขัน ประกอบด้วย ๑. เมคคาทรอนิกส์ (Mechatronics) ๒. ออกแบบและเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ (CADD) (Mechanical Engineering Design-CAD) ๓. เทคโนโลยีงานเชื่อม (Welding) ๔. เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Software Solutions for Business) ๕. อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics) ๖. เว็บดีไซน์ (Web Design) ๗. กราฟิกดีไซน์ (Graphic Design Technology) ๘. เทคโนโลยีระบบไฟฟ้าภายในอาคาร (Electrical Installations) ๙. เทคโนโลยียานยนต์ (Automobile Technology) ๑๐. ปูกระเบื้อง (Wall& Floor Tiling) ๑๑. ก่ออิฐ (Bricklaying) ๑๒. อุตสาหกรรมไม้เครื่องเรือน (Cabinet Making) ๑๓. ต่อประกอบมุมไม้ (Joinery) ๑๔. เทคโนโลยีระบบทำความเย็น (Refrigeration and Air Conditioning) ๑๕. แฟชั่นเทคโนโลยี (Fashion Technology) ๑๖. บริการอาหารและเครื่องดื่ม (Restaurant Service) ๑๗. แต่งผม (Hair Dressing) ๑๘. เทคโนโลยีสายเครือข่าย (Information network cabling) ๑๙. เทคโนโลยีสายเครือข่าย (Information network cabling) ๒๐. ท่อและสุขภัณฑ์ (Plumbing& heating) ๒๑. สาขาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ชนิดเคลื่อนที่ (Mobile Robotics)

 

ที่มาของข่าว www.dlfeschool.in.th/ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๗
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก