ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

การช่วยเหลือเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ให้เข้าใจสิ่งที่อ่าน ตอนที่ 5

เรจินา จี ริชาร์ด (2008)

เทคนิคการจำ (Mnemonics)

เทคนิคการจดจำเกี่ยวโยงกับความเข้าใจในการอ่าน รวมไปถึง

  • เทคนิคการจดจำสำหรับการชมเนื้อหาก่อน
    • TP
    • TELLS
  • เทคนิคการจดจำที่ใช้ระหว่างการอ่าน
    • RCRC
    • SQ3R

RCRC

กลยุทธ์การจดจำแบบนี้มีประโยชน์อย่างมหาศาลในการสนับสนุนให้นักเรียนตรวจสอบ ความเข้าใจของตนเองในระหว่างที่อ่าน  มันช่วยให้นักเรียนถามคำถามเกี่ยวกับความเข้าใจของตัวเองอย่างต่อเนื่องใน ระหว่างที่เขาอ่านหนังสือนั้น
R แทนคำว่า Read - ให้นักเรียนของคุณแบ่งเนื้อหาในหนังสือสำหรับอ่านย่อยๆทีละส่วน อ่านหนึ่งเที่ยวหรือสองเที่ยว
C แทนคำว่า Cover - ให้นักเรียนของคุณทำความเข้าใจเนื้อหาที่เพิ่งอ่าน
R แทนคำว่า  Retell - ให้นักเรียนของคุณบอกเล่าสิ่งที่เขาเพิ่งอ่าน  นี่เป็นการทบทวนและตรวจสอบ เขาอาจจะสรุปเรื่องราวกับตัวเองหรือกับคุณ
C แทนคำว่า Check - ให้นักเรียนของคุณตรวจดูว่าเขาจดจำข้อมูลได้ถูกต้องหรือไม่  ให้เขาเปรียบเทียบการจดจำได้ของเขากับข้อมูลเนื้อหาในหนังสือที่อ่าน

กลยุทธ์นี้สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพถ้านักเรียนของคุณนำไปใช้กับการอ่าน หนังสือย่อยๆทีละส่วนในแต่ละครั้ง  หลังจากนั้นเขาอาจจะรวบรวมส่วนย่อยๆ ทั้งหลายเข้าด้วยกันเพื่อเป็นการสรุปภาพรวม

SQ3R

กลยุทธ์นี้คล้ายคลึงกับ RCRC แต่มีความซับซ้อนมากกว่าเล็กน้อย จะช่วยในการอ่านเนื้อหายาวๆโดยเฉพาะ
S แทนคำว่า Survey - ให้นักเรียนของคุณสำรวจเนื้อหาที่จะอ่านก่อน
Q แทนคำว่า Question – ให้นักเรียนของคุณตั้งคำถามจากหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยแต่ละหัวข้อของเนื้อหา

R แทนแต่ละขั้นตอนที่ขึ้นต้นด้วย R

  • R แทนคำว่า Read - ให้นักเรียนของคุณอ่านเนื้อหานั้นเพื่อตอบคำถามที่เขาตั้งขึ้น
  • R แทนคำว่า Recite - ให้นักเรียนของคุณบรรยายคำตอบต่อคำถามของตนเองในใจหรืออาจบรรยายออกมาดังๆ
  • R แทนคำว่า Review - ให้นักเรียนของคุณทบทวนกับเนื้อหาที่อ่านเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบ

กลยุทธ์การแปะโน้ต

ขณะที่นักเรียนของคุณอ่าน หนังสือ ให้เธอแปะโน้ตบนบทนั้นและบันทึกคำสำคัญ (Keyword) หรือวลีที่จะทดแทนข้อเท็จจริงที่สำคัญหรือความคิดหลักที่ตอนจบของย่อหน้า หรือบทนั้นๆ  จากนั้นให้นักเรียนของคุณเรียบเรียงโน้ตตามลำดับเพื่อสร้างแผนผังภาพที่ เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
ขั้นตอนสุดท้ายของกลยุทธ์นี้คือ ให้นักเรียนของคุณทบทวนข้อมูล  ขึ้นอยู่กับอายุและแนวโน้มของเด็กที่เขาจะสามารถดึงเนื้อหาขึ้นมาได้ แล้วบรรยายให้ตนเองหรือให้คนอื่นๆก็ได้ เป็นการสร้างโครงสร้างเนื้อหา  กลยุทธ์นี้มีประสิทธิภาพในทุกระดับ แม้แต่ในระดับมหาวิทยาลัย
“การอ่านช่วยบริหารจิตใจขณะที่การออกกำลังกายช่วยบริหารร่างกาย”

บทสรุป

เทคนิค เหล่านี้เป็นเครื่องมือช่วยความเข้าใจในการอ่านที่ยกมาแนะนำเพียงเล็กน้อย จากที่มีมากมายที่สามารถนำมาใช้ได้  หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อคุณและนักเรียนของคุณที่มีสถานการณ์ในการทำการบ้าน เป็นการเฉพาะต่างกันไป  ข้างล่างนี้คือ เครื่องเตือนใจที่เป็นประโยชน์:

  • จำไว้ว่าให้ใช้วิธีการย่อยอ่านทีละส่วน : ไปอย่างช้าๆและใช้วิธีการนี้ทีละส่วนในแต่ละครั้ง
  • ใช้กลยุทธ์หลากหลายแบบที่มีการใช้หลายประสาทสัมผัส
  • สอนกลยุทธ์ให้กับเด็กของคุณทีละขั้นตอนในแต่ละครั้ง
  • เหนือสิ่งอื่นใด  ทำให้มันเป็นกิจกรรมที่น่าเพลิดเพลิน
แปลและเรียบเรียงจาก Helping Children with Learning Disabilities Understand What They Read By Regina G Richards (2008)
โดย พรรษชล ศรีอิสราพร ส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181