ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

การช่วยเหลือเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ให้เข้าใจสิ่งที่อ่าน ตอนที่ 4

โดย เรจินา จี ริชาร์ด (2008)

กลยุทธ์การสร้างความเข้าใจอย่างเฉพาะเจาะจง

กุญแจ อย่างหนึ่งที่จะสร้างความเข้าใจคือ นักเรียนต้องกระตือรือร้นในการอ่าน  บ่อยครั้งที่นักเรียนกลอกตาดูไปตามบรรทัดตัวอักษรและไล่เลียงไปจนถึงจุดจบ ของหน้าแล้วคิดว่า พวกเขาได้ “อ่าน”
เนื้อหาไปแล้ว  กระบวนการดูไปตามตัวหนังสือนี้ไม่ใช่ “การอ่าน”  การสร้างความเข้าใจในการอ่านคือกระบวนการที่มีชีวิตชีวาที่จำเป็นต้องให้ผู้ อ่านเข้ามามีบทบาท  ในฐานะผู้อ่านคุณจับความหมายได้โดยการคิดไปด้วยขณะที่มีการกระทำของการอ่าน  จากความรู้ที่คุณอ่านนั้นยังก่อให้คุณเกิดความคิดและมโนภาพต่างๆในกิจกรรม การอ่าน

การอ่านต้องมีเป้าหมาย การอ่านต้องมีชีวิตชีวา  ผู้อ่านสามารถอ่านหนังสือเพื่อเรียนรู้  เพื่อรับข่าวสาร หรือเพื่อการบันเทิง จุดประสงค์ที่แตกต่างกันเหล่านี้ต่างต้องการรูปแบบกลยุทธ์ที่แตกต่างกัน  ขณะที่มีลักษณะธรรมดาสามัญที่เหมือนกัน คือ

  • ผู้อ่านจำเป็นต้องเข้าใจความหมายของคำในเนื้อหา
  • ผู้อ่านจำเป็นต้องมีเทคนิคที่จะสร้างความจำในสิ่งที่พวกเขาเข้าใจ
  • ผู้อ่านจำเป็นต้องใช้ความเข้าใจของเขาเอง

เทคนิคการจำ (Mnemonics)

เทคนิคการจำต่อไปนี้เป็น เทคนิคการสรุปความซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านตรวจสอบความเข้าใจของเขาในขณะที่ อ่าน  และเป็นเครื่องมือที่ช่วยเขาให้เรียบเรียงข้อมูล  การเรียบเรียงข้อมูลนี้จะช่วยให้เขาสร้างความจำในสิ่งที่เขาเข้าใจ  เครื่องมือที่เขาพัฒนานี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากเมื่อเขากลับมาทบทวนเนื้อหา หรือเมื่อต้องการแบ่งปันความเข้าใจกับคนอื่น มันจะช่วยให้เขา “เก็บ” ความได้ดี

ในกลยุทธ์ต่อไปนี้  ในแต่ละตัวอักษรจะแทนแต่ละขั้นตอนที่เด็กๆควรปฏิบัติ  ให้แน่ใจว่าได้ช่วยให้เด็กๆของคุณเข้าใจแต่ละขั้นตอนที่แยกกันนั้น  แล้วแสดงให้เด็กๆของคุณเห็นแต่ละขั้นตอนที่ประกอบกันขึ้นมาจากเทคนิคการจำ อธิบายว่า เขาสามารถใช้เทคนิคการจำในฐานะที่บอกเป็นนัยในการจำหรือการกระตุกความคิดใน แต่ละขั้นตอน

แง่มุมที่สำคัญอย่างหนึ่งเกี่ยวกับกลยุทธ์ในการสร้าง ความเข้าใจคือ บ่อยๆ ที่นักเรียนต้องการตัวอย่างและการอธิบายอย่างมหาศาล  คุณจำเป็นต้องอธิบายแต่ละขั้นตอนอย่างสมบูรณ์และแสดงวิธีการใช้ขั้นตอนนั้นๆ ให้เด็กซึ่งก็คือ การให้ตัวอย่างกับเด็กๆ  เด็กๆ บางคนต้องการการอธิบายหลายๆครั้งก่อนที่พวกเขาจะสามารถทำได้ด้วยตัวเอง  เด็กๆบางคนเห็นกลยุทธ์สองสามครั้งก็สามารถใช้ขั้นตอนเหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง ทันที  เด็กบางคนต้องการการเตือนหรือบอกเป็นนัยแต่บางคนก็อาจจะไม่ต้องการ  ไม่มีวิธีที่ถูกหรือผิดที่จะเรียนรู้กลยุทธ์นี้  เด็กบางคนก็เพียงต้องการเวลาในการเรียนรู้มากขึ้น

เมื่อนักเรียน เริ่มใช้กลยุทธ์เหล่านี้ได้อย่างคงที่แล้ว พวกเขาจะพบว่า สามารถจะตรวจสอบความเข้าใจของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  การใช้กลยุทธ์เหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนใคร่ครวญคำถามได้อย่างต่อเนื่องเช่น

  • ฉันเข้าใจสิ่งที่ฉันอ่านไหม
  • ฉันจะสามารถจดจำได้อย่างไร
  • มันมีเหตุผลเหมาะสมไหม

นักเรียนยังสามารถผสมผสานกลยุทธ์เข้าด้วยกัน  ตัวอย่างเช่น พวกเขาอาจจะอยากใช้กลยุทธ์การจดจำผสมผสานกับกลยุทธ์การเรียบเรียงเป็นภาพ หรือการวาดรูป

เทคนิคการจดจำเกี่ยวโยงกับความเข้าใจในการอ่าน รวมไปถึง

  • เทคนิคการจดจำสำหรับการชมเนื้อหาก่อน
    • TP
    • TELLS
  • เทคนิคการจดจำที่ใช้ระหว่างการอ่าน
    • RCRC
    • SQ3R

TP

เทคนิคการจดจำนี้เป็นเครื่องเตือนใจสำหรับนักเรียนที่จะใช้กลยุทธ์การชมโดยทั่วๆไป เพื่อกวาดตาดูโครงสร้างของหนังสือก่อนเริ่มต้นอ่าน

T แทนคำว่า  “Textbook structure” หรือโครงสร้างของหนังสือ

ให้ นักเรียนดูที่หัวข้อแต่ละบท  ตัวหนังสือใต้ภาพและกราฟต่างๆ  ดรรชนีหัวข้อเรื่อง ภาคผนวก ตัวพิมพ์หนา  คำนิยามศัพท์ต่างๆ และคำถามตอนจบบท

P แทนคำว่า “Paragraph structure” หรือโครงสร้างย่อหน้า

ให้ นักเรียนวิเคราะห์ว่าแต่ละย่อหน้าเรียบเรียงขึ้นมาอย่างไรภายในบทนั้นๆ ให้ค้นหาประโยคเริ่มต้นหรือประโยคหลักในแต่ละย่อหน้าเพื่อระบุว่า โดยทั่วไปแล้วมันจะอยู่ที่เริ่มต้นของย่อหน้า  ต่อไปให้หาคำสำคัญต่างๆและการจบย่อหน้า

ข้อสรุปของ TP นั้นเพื่อให้นักเรียนลองทายความหมายของแต่ละย่อหน้าโดยใช้การวิเคราะห์โครง สร้าง ให้แน่ใจว่านักเรียนของคุณอ่านเพื่อแยกแยะความถูกต้องในการทายและนักเรียน ของคุณแยกแยะและตัดสินได้อย่างเป็นระบบ

TELLS

กลยุทธ์ การจดจำวิธีนี้เป็นวิธีการเรียบเรียงสำหรับนักเรียนที่จะชมโครงสร้างของ เรื่องก่อน ไม่ว่าจะเป็นนวนิยายหรือสารคดี  มีห้าขั้นตอนในกลยุทธ์นี้

T แทนคำว่า Title หรือ ชื่อเรื่องหรือชื่อหนังสือ – ให้นักเรียนของคุณมองหาเงื่อนงำเกี่ยวกับเนื้อเรื่อง
E แทนคำว่า Examine หรือสำรวจ – ให้นักเรียนของคุณสำรวจเรื่องราวจากภาพและคำพูดที่เป็นเงื่อนงำที่จะช่วยความเข้าใจ

L แทนคำว่า Look หรือมอง – ให้เด็กของคุณมองที่คำหรือรูปภาพที่สำคัญ คุณอาจจะอยากอภิปรายเรื่องเหล่านี้  

L แทนคำว่า Look up หรือค้นหา –  ให้เด็กของคุณค้นหาคำยากที่อาจจะไม่รู้จักและช่วยเขาให้ใช้กลยุทธ์การเปล่งเสียงสะกดออกมาดังๆ

S แทนคำว่า Setting หรือการจัดฉาก – ให้เด็กของคุณแยกแยะสถานที่และเวลาว่าเรื่องเกิดขึ้นเมื่อใด

ตอนนี้นักเรียนของคุณก็ได้ชมเรื่องก่อนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเรื่องซึ่งเขาสามารถจะผสมข้อมูลเข้าไปในขณะที่เขาอ่าน

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

 

แปลและเรียบเรียงจาก Helping Children with Learning Disabilities Understand What They Read By Regina G Richards (2008)
โดย พรรษชล ศรีอิสราพร ส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก