ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

การช่วยเหลือเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ให้เข้าใจสิ่งที่อ่าน ตอนที่ 3

โดย เรจินา จี ริชาร์ด (2008)

การพัฒนาคำศัพท์

การเข้าใจในคำศัพท์อย่างถูกต้องถือ เป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับการฟังและความเข้าใจในการอ่าน  คุณสามารถช่วยเหลือให้นักเรียนของคุณรู้จักคำศัพท์เพิ่มมากขึ้นโดยการสร้าง ความหลากหลายในการโต้ตอบทางภาษาและประสบการณ์จากแบบฝึกหัด  ยิ่งนักเรียนมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสนุกสนานเท่าไร  เขาก็ยิ่งจดจำคำศัพท์ได้มีประสิทธิภาพมากเท่านั้นและมันจะง่ายขึ้นอีกด้วย ที่จะให้เขาได้ใช้ความรู้ของเขากับสถานการณ์ใหม่ ๆ

คำบุพบทต่างๆ (prepositions)

นัก เรียนสามารถเล่นกับกล่องในการแสดงความหมายของคำบุพบท พวกเขาสามารถปีนเข้าใน(into) กล่อง คลานไปรอบๆ(around)กล่อง คลานทะลุ (through) กล่อง คลานขึ้นบน (over) หรือใต้ (under) กล่อง

นักเรียน ที่โตกว่าอาจจะชอบเล่นกับก้อนสำลีและเครื่องบินของเล่นอันเล็กๆเพื่อจะแสดง ความหมายของบุพบทแต่ละอย่างให้เห็นเช่น above (อยู่ข้างบนหรืออยู่บน)before(ก่อน) past (หลัง)behind(ข้างหลัง)across(ข้ามหรือผ่านหรือทะลุ)below(ข้างล่าง )beneath(ข้างใต้)beside(ข้าง) in(ใน)to(ไปยังหรือไปทาง)along(ไปตาม)between(ระหว่าง)beyond(เหนือหรือไกล จาก)อยู่เหนือหรืออยู่บน (over)บน(on)

อธิบายได้ว่า Preposition หรือคำบุพบทเป็นคำที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องบินของเล่นกับก้อนสำลี Preposition หรือคำบุพบทเป็นเหมือนคำที่คอยบอกตำแหน่ง

คำที่มีความหมายหลายนัย(Multiple meaning words)

การ เข้าใจคำที่มีมากกว่าหนึ่งความหมายถือเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นต่อเนื่องโดย ตลอดเวลาที่เป็นนักเรียนหรือตลอดชีวิตของคนๆหนึ่งทีเดียว นักเรียนที่มีการเรียนรู้ที่แตกต่างหรือนักเรียนซึ่งเรียนภาษาอังกฤษเป็น ภาษาที่สองอาจพบความยุ่งยากมหาศาลกับคำที่มีหลายความหมาย
ตัวอย่างข้างล่างนี้จะแสดงแผนผังอย่างง่ายๆสำหรับคำที่มีสองความหมายเช่น คำว่า bat และ bill
เพื่อส่งเสริมให้กิจกรรมสนุกมากขึ้น  คุณสามารถเพิ่มคำปริศนาที่เล่นกับความหมายของคำ ตัวอย่างเช่นคำว่า bill

คำถาม : What happened to the pelican who stuck his head in the light socket? (เกิดอะไรขึ้นกับนกกระทุงที่เอาหัวไปติดที่เบ้าเสียบไฟฟ้า

ตอบ : He now has an electric bill! (ตอนนี้มันก็ได้บิลล์ค่าไฟน่ะซิ  หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ตอนนี้ มันก็มีจงอยปากไฟฟ้าแล้ว

หรือ อาจมีกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งคือ ให้นักเรียนระดมสมองกับความหมายที่แตกต่างกันทั้งหลายเท่าที่นักเรียนคนนั้น จะคิดได้กับคำที่ให้หนึ่งคำ  ตัวอย่างเช่น  คุณสามารถคิดถึงความหมายของคำว่า run ได้กี่ความหมาย  สร้างเป็นแผนผังภาพคล้ายคลึงกับแผนผังภาพข้างบนแต่มีความหมายมากกว่า

วิชาว่าด้วยอักขรวิธี (Morphology) (การผสมคำต่างๆ)

สิ่งสำคัญของการเรียนที่จะอ่าน สะกดคำ และทำความเข้าใจเกี่ยวข้องกับการมีความเข้าใจในเรื่องการผสมคำ  เด็กเล็กๆสามารถเริ่มต้นทำความเข้าใจโดยการเปรียบเทียบคำที่แตกต่างกันที่ลง ท้ายคำด้วย –ingตัวอย่างเช่น ลองถามว่า อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่างคำเหล่านี้running  jumping  และ singing  จากนั้นช่วยให้เด็กๆมองเห็นว่า คำเหล่านี้เป็นการกระทำทั้งหมดที่เราสามารถทำได้  การลงท้ายด้วย ing มีความหมายว่า คำนั้นคือการกระทำ

กิจกรรมสำหรับเด็กๆที่เริ่มต้นใน ช่วงประถมต้นคือ การใช้แผนผังเน้นย้ำเรื่องคุณค่าของการผสมคำ  กับเด็กที่โตกว่าให้ใช้การผสมคำที่ซับซ้อนมากขึ้นเพราะว่า ความซับซ้อนของคำศัพท์และความหมายจะเพิ่มขึ้นอย่างมากขณะที่นักเรียนเรียน สูงยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

ตัวอย่างเช่น

Uni

Bi

Tri

เริ่ม ต้นด้วยคำ “bi”ให้นักเรียนลองคิดคำที่เริ่มต้นด้วย “bi” ให้มากที่สุด เด็กๆอาจจะคิดถึงคำเช่น bicycle (จักรยานที่มีสองล้อ) และ binoculars(กล้องส่องทางไกลที่เป็นกล้องคู่) ลองให้เด็กนักเรียนของคุณทายว่า “bi”หมายความว่าอย่างไร (“bi”แปลว่า สอง) คุณอาจจะเขียนคำเหล่านี้ไว้บนแผนผัง

จากนั้น ลองให้เด็กนักเรียนของคุณลองคิดถึงคำอื่นที่มีคำลงท้ายเหมือน bicycle นั่นก็คือคำว่า cycle (การหมุนรอบหรือวงกลม) บางทีเขาอาจจะคิดถึงคำว่า tricycle คุณสามารถแสดงความเกี่ยวพันระหว่างคำสองคำนี้โดยการเขียนลงในแผนผังดังนี้
Cycle
Uni
Bi          =>             Bicycle
Tri         =>             Tricycle

ลอง อภิปรายถึงความหมายของคำว่า tricycle และการผสมคำระหว่าง “tri”และ “cycle”จากนั้นลองผสมคำ “unicycle”แล้วให้เด็กทายว่าหมายความว่าอย่างไร  เขียนลงในแผนผัง

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุและประสบการณ์ของเด็กของคุณ  คราวนี้ลองใช้คำอื่นๆเช่น “angle (มุมหรือด้าน) ”เพื่อสร้างคำเช่น “triangle(รูปสามเหลี่ยม)”หรือคำว่า “lingual(ภาษา) ”เพื่อสร้างคำเช่น “bilingual (สองภาษา) ” “trilingual(สามภาษา)” เด็กที่โตกว่านี้อาจลองศึกษาคำเช่น unilateral(ฝ่ายเดียวหรือด้านเดียว) และ bilateral (สองข้างหรือสองฝ่าย) ชื่อของพวกสัตว์ไดโนเสาร์ก็เป็นเรื่องน่าสนุกที่จะลองศึกษาแยกคำ

แปลและเรียบเรียงจาก Helping Children with Learning Disabilities Understand What They Read By Regina G Richards (2008)
โดย พรรษชล ศรีอิสราพร ส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก