ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

การช่วยเหลือเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ให้เข้าใจสิ่งที่อ่าน ตอนที่ 2

โดย เรจินา จี ริชาร์ด (2008)

Chunking เป็นคำศัพท์ทางภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีความหมายถึง “การจัดการจำนวนก้อนข้อมูล” มีความหมายถึงการแตกงานหรือข้อมูลออกเป็นก้อนที่เล็กลงให้สามารถจัดการได้ ง่ายขึ้น มีหลายวิธีที่ใช้การจัดการก้อนข้อมูลให้เล็กลงในการทำการบ้าน

สมมติว่า นักเรียนคนหนึ่งบ่นเรื่องงานที่ถูกมอบหมายให้ทำเช่นว่า  “บทนี้ยาวเกินไป  ไม่น่าจะอ่านเลย”

  • เริ่มแรก ให้ยอมรับความรู้สึกของพวกเขาด้วยประโยคเช่นว่า  “เธอพูดถูก  บทนี้ยาวไป  มันอาจต้องการพลังใจมากหน่อย  แต่ลองคิดดูว่า เธอจะภูมิใจในตัวเองมากขนาดไหนเมื่อเธออ่านจบ  แล้วอย่าลืมคิดว่า มันจะช่วยเธอให้ได้เกรดที่ดีเวลาเปิดอภิปรายหรือในการสอบ”
  • จากนั้น ทำการช่วยนักเรียนต่อไปด้วยการแบ่งกิจกรรมย่อยลงให้สามารถจัดการกับข้อมูล ได้  ตัวอย่างเช่น  ตกลงใจให้แน่วแน่ว่า อีกกี่วันจึงจะสามารถอ่านได้จบสมบูรณ์โดยการแบ่งงานเป็นจำนวนข้อมูลย่อยๆ
  • ถ้าจำนวนข้อมูลยังใหญ่เกินไป  ให้แบ่งจำนวนข้อมูลแต่ละจำนวนให้ย่อยเล็กลงมากขึ้น เพื่อให้อ่านจบ
  • ให้นักเรียนอ่านเพียงจำนวนข้อมูลเดียวเท่านั้นก่อนจากนั้นจึงใช้กลยุทธ์ที่เป็นรูปธรรมสรุปย่อสิ่งที่เขาอ่าน
  • แล้วให้เขาอ่านข้อมูลอีกก้อนหนึ่ง แล้วให้เขาสรุปย่ออีก
  • หลังจากอ่านข้อมูลจำนวนทั้งหมดแล้ว ให้นักเรียนรวบรวมสรุปย่อทุกอันเข้าด้วยกัน  แล้วใช้บทสรุปนั้นทบทวนแต่ละบท
  • นักเรียนสามารถจัดเก็บและเรียบเรียงข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการจัดการกับข้อมูลจำนวนเล็กๆ
  • ช่วยให้นักเรียนของคุณมีความซาบซึ้งในแง่มุมที่สำคัญของกระบวนการจัดการข้อมูล
  • นักเรียนสามารถจัดเก็บและเรียบเรียงข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการจัดการกับข้อมูลจำนวนเล็กๆ
  • ทุกสิ่งทุกอย่างเริ่มต้นจากก้าวย่างเล็กๆเพียงก้าวเดียว
  • มันเป็นก้าวย่างเล็กๆที่นำไปสู่ความสำเร็จที่ใหญ่ขึ้น

การเรียบเรียงข้อมูลเป็นภาพ

นักเรียนส่วนมากซึ่งดิ้นรนกับการอ่านและการเขียน  และแม้แต่นักเรียนซึ่งหลีกเลี่ยงการอ่านการเขียนด้วยเหตุผลอื่นๆมักจะมอง เป็นภาพในกระบวนการรับรู้ข้อมูล ดังนั้น การนำทักษะการมองเห็นเหล่านั้นมาใช้สามารถจะเป็นประโยชน์อย่างมากเมื่ออ่าน เพื่อทำความเข้าใจ

การมองให้เป็นภาพ

การมองให้ เป็นภาพเป็นกระบวนการซึ่งนักเรียนจะสร้างภาพที่มองเห็นในทางใจเพื่อโต้ตอบ ต่อความคิดที่เขากำลังฟังอยู่หรือกำลังอ่าน  การมองเป็นภาพถือเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังที่จะช่วยนักเรียนมากมายให้เข้าใจ เนื้อหา  มันช่วยให้การอ่านมีชีวิตชีวาและช่วยให้ “ติดหนึบ” กับข้อมูล

เพื่อ สนับสนุนการมองให้เป็นภาพ  ลองให้นักเรียนของคุณหลับตาลงและจินตนาการวัตถุธรรมดาสามัญ  แล้วให้เด็กๆอธิบายเป็นคำพูดหรือวาดในสิ่งที่จินตนาการ

ทันทีที่เธอ เข้าใจกระบวนการ  คุณอาจจะเลื่อนไปก้าวต่อไป  คุณอาจจะอ่านประโยคสักหนึ่งประโยคแล้วบอกเธอให้พัฒนาการมองเห็นให้เป็นภาพ โดยการถามคำถามอย่างละเอียด  ตัวอย่างเช่น  คำถามที่อาจจะถามต่อจากประโยคนี้ “เด็กผู้หญิงคนหนึ่งรีบวิ่งอ้าวไปตามถนน” คือ

  • ลักษณะถนนเป็นอย่างไร
  • เธอคิดอย่างไรกับการที่เด็กผู้หญิงวิ่งไปตามถนน
  • เด็กผู้หญิงคนนี้ตัวขนาดไหน
  • เด็กผู้หญิงคนนี้สวมชุดอย่างไร
  • เสื้อผ้าของเธอสีอะไร
  • เธอคิดว่าเด็กผู้หญิงคนนี้กำลังคิดหรือรู้สึกอย่างไรในขณะที่กำลังวิ่ง
  • เป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน อะไรที่ทำให้เธอสรุปภาพในหัวเป็นเช่นนั้น

ให้ การสนับสนุนว่า ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิดและแต่ละคนก็มีการสร้างภาพการมองเห็นที่แตกต่างกัน ไป  แง่มุมที่สำคัญคือ สามารถที่จะอธิบายได้ว่าทำไมคุณจินตนาการเช่นนั้น เช่น ถ้าเด็กผู้หญิงตัวเล็ก คุณใช้อะไรเป็นการบอก

การเพิ่มการใช้ตาที่ใจของนักเรียนจะช่วยเพิ่มความเข้าใจ มีกลยุทธ์หลายอย่างที่เป็นเครื่องมืออันเป็นประโยชน์ให้บรรลุผลสำเร็จนี้

อีก วิธีการหนึ่งที่จะแสดงข้อมูลให้เป็นภาพก็คือ ให้เด็กวาดรูปแสดงสิ่งที่เขาอ่าน  เด็กๆมากมายอาจพบวิธีการนี้ทดแทนคำและเรื่องราวด้วยภาพ จากการสร้างภาพนี้จะช่วยให้ความหมายและความเชื่อมโยงระหว่างบุคคลและ เหตุการณ์ในสิ่งที่อ่านชัดเจนขึ้น    
การเรียบเรียงเป็นภาพ
รูปแบบที่เลือกจะเป็นประโยชน์มากถ้าเข้ากันได้กับแบบอย่างข้อมูลที่นักเรียน กำลังอ่าน  มีวิธีการสามวิธีซึ่งอาจใช้การเรียบเรียงดังนี้คือ

  • ก่อนอ่าน- ก่อนเริ่มอ่าน  ให้สร้างรูปแบบการเรียบเรียงของส่วนเริ่มต้น  แล้วระหว่างการอ่าน ให้เพิ่มรายละเอียดเพิ่มเติม
  • ขณะกำลังอ่าน- ให้สร้างรูปแบบการเรียบเรียงการใช้ข้อมูลอย่างที่ปรากฏ
  • หลังจากอ่านเสร็จ- ให้สร้างรูปแบบการเรียบเรียงเพื่อสรุปข้อมูล
แปลและเรียบเรียงจาก Helping Children with Learning Disabilities Understand What They Read By Regina G Richards (2008)
โดย พรรษชล ศรีอิสราพร ส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก