ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

การช่วยเหลือเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ให้เข้าใจสิ่งที่อ่าน ตอนที่ 1

โดย เรจินา จี ริชาร์ด (2008)

ในบทความนี้ประกอบด้วย

  • กลยุทธ์และเทคนิคพื้นฐาน
  • การพัฒนาคำศัพท์
  • กลยุทธ์การสร้างความเข้าใจโดยเฉพาะ
  • บทสรุป

นัก เรียนที่ดิ้นรนเพื่อจะเข้าใจสิ่งที่ตัวเองอ่านมักจะตีความงานที่ได้รับมอบ หมายให้อ่านนั้นอย่างผิดๆและยังไม่สามารถจับความคิดรวบยอดได้อีกด้วย  นี่เป็นเรื่องที่คับข้องใจอย่างมากสำหรับนักเรียนซึ่งอาจไม่สามารถตีความ ข้อมูลได้

นักวิจัยได้ทำการศึกษาถึงความยุ่งยากด้านการอ่านอย่าง ละเอียดมาหลายสิบปี จนปัจจุบันเรามีพื้นฐานและความเข้าใจที่แข็งแกร่งในสิ่งที่จะช่วยนักเรียน ให้เข้าใจในสิ่งที่พวกเขาอ่าน  พูดสั้นๆได้ว่า  ผลการศึกษาเหล่านั้นได้เปิดเผยว่า เรื่องที่ถือเป็นเรื่องสำคัญคือ  เรื่องการตรวจสอบของผู้ใหญ่และรูปแบบกลยุทธ์ในการอ่าน   นอกเหนือจากนี้คือ โปรแกรมการใช้เทคนิคหลายประสาทสัมผัส   ที่กระทำอย่างเป็นระบบและมีองค์ประกอบที่ดี

เมื่อถอดความหมายจากคำ กล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมของสมาคมดิสเลกเซีย (ผู้บกพร่องทางการอ่าน) นานาชาติครั้งที่ 55 ของผู้เชี่ยวชาญทางด้านการอ่าน ไรด์ ลีออนได้ใจความว่า ความล้มเหลวทางการอ่านเป็นปัญหาใหญ่มากของสังคม  ผู้นำหลายท่านในสาขานี้เน้นย้ำว่า  ผลที่เกิดขึ้นของการอ่านหนังสือไม่คล่องมีผลมากกว่าความล้มเหลวในการอ่านใน ตัวของมันเอง  ผลที่เกิดขึ้นรวมไปถึงความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ  ความยุ่งยากในการพัฒนาทางสังคม  และเป็นสิ่งกีดขวางต่อการทำงานในอนาคต

ความ เข้าใจในการอ่านถือเป็นประเด็นซึ่งนักเรียนทั้งหลายต้องจัดการให้ได้โดยตลอด เวลาที่เรียนหนังสืออยู่  แม้แต่ในฐานะผู้ใหญ่  เรายังคงจำเป็นต้องปรับกลวิธีการอ่านให้เหมาะกับงานที่แตกต่างกัน  ตัวอย่างเช่น  สมมติว่าฉันต้องการเรียนรู้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ชนิดใหม่  ฉันก็ต้องซื้อซอฟต์แวร์  อ่านคู่มือ  และทำตามขั้นตอน  อย่างไรก็ตาม คำศัพท์ส่วนมากจะเป็นคำใหม่และฉันอาจจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือในการทำความ เข้าใจความคิดรวบยอดพื้นฐานบางอย่าง  ในที่สุด เมื่อฉันเริ่มอ่านได้เข้าใจมากขึ้นและเข้าใจการเขียนชนิดนี้  ฉันก็เริ่มปรับตัวกับการอ่านรูปแบบนี้ซึ่งทำให้สร้างความเข้าใจได้มากขึ้น  จากประสบการณ์การเรียนรู้นี้  ฉันได้เรียนรู้ที่จะอ่านขณะที่ได้อ่านที่จะเรียนรู้ด้วยเหมือนกัน

ต่อไปนี้เป็นกลยุทธ์และเทคนิคขั้นพื้นฐานบางอย่างที่จะช่วยเหลือนักเรียนของคุณด้วยงานหรือการบ้านซึ่งเกี่ยวกับความเข้าใจในการอ่าน
เหนือ อื่นใด ให้จำไว้ว่า ต้องมีความสุข  ใช้ความสม่ำเสมอ และรักษาองค์ประกอบที่ดีในการอ่านเอาไว้   นี่จะเป็นผลประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อทั้งคุณและนักเรียนของคุณ

กลยุทธ์และเทคนิคพื้นฐาน

เมื่อ เราอ่าน  เป้าหมายทั้งหมดของเราคือการตรวจสอบความเข้าใจของเราและทำให้แน่ใจว่าเรา กำลังได้ความหมายจากกระดาษที่พิมพ์อยู่  การตรวจสอบความเข้าใจนี้ถือเป็นกระบวนการซึ่งสำคัญมากสำหรับนักเรียนที่จะ พัฒนาตนเองและเป็นเรื่องหนึ่งที่นักเรียนมักจะมองข้ามอยู่บ่อยๆ  การสนับสนุนนักเรียนของคุณให้ตรวจสอบความเข้าใจและใช้กลยุทธ์ต่างๆขณะอ่าน ถือเป็นความปรีชาสามารถที่สำคัญมากซึ่งจะให้ประโยชน์โดยตลอดชีวิต

กลยุทธ์การใช้หลายประสาทสัมผัส

นัก เรียนจะได้รับประโยชน์มากขึ้นจากกิจกรรมต่างๆที่พวกเขากระตือรือร้นในการมี ส่วนร่วม  การเรียนรู้อย่างกระตือรือร้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลและเด็กๆ จะเข้าใจและจับความคิดรวบยอดด้วยความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง

เทคนิคการ ใช้หลายประสาทสัมผัสจะช่วยให้เพิ่มการระลึกรู้ตัวได้อย่างคล่องแคล่วขึ้น  โดยเฉพาะนักเรียนที่ได้รับการท้าทายทางการเรียนรู้จะได้รับประโยชน์มาก เนื่องจากความสามารถที่จะดึงกุญแจความจำหรือเทคนิคการจำมาใช้พร้อมกับเทคนิค การใช้หลายประสาทสัมผัส

เหมือนอย่างที่ ด็อกเตอร์มาเซีย  เฮนรี่ ประธานสมาคมดิสเลกเซียนานาชาติคนก่อนกล่าวเอาไว้ว่า  การเรียนการสอนโดยใช้หลายประสาทสัมผัสเป็นการเชื่อมโยงกันของการเห็น  การฟัง  และวิธีการสัมผัสและความรู้สึกในการเคลื่อนไหว  นักเรียนจะเชื่อมโยงสัญญลักษณ์ที่เห็นซึ่งเกิดขึ้นขณะเดียวกันกับเสียงที่ ได้ยินและการสัมผัสทางความรู้สึก  ขณะที่พวกเขาเขียนหนังสือได้อย่างถูกต้องและพูดเสียงออกมา

แปลและเรียบเรียงจาก Helping Children with Learning Disabilities Understand What They Read By Regina G Richards (2008)
โดย พรรษชล ศรีอิสราพร ส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก