ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

ลักษณะชั้นเรียนของนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ควรเป็นอย่างไร ตอนที่ 3

โดย เคท การ์เนท (2010)

ส่วนนักวิชาการศึกษาพิเศษในชั้นเรียนโดยทั่วไปล่ะ  ไม่ว่าจะเป็นครูที่ปรึกษา  ทีมครูที่ช่วยเหลือ  และผู้มีส่วนร่วมช่วยเหลืออื่นๆ  พวกเขาไม่ได้ทำการปรับเปลี่ยนตามความต้องการที่แตกต่างของนักเรียนแต่ละคน หรือ  แน่นอน นั่นเป็นความตั้งใจ  แต่มันกลายเป็นว่า  มีประเด็นที่ชัดเจนในอีกทิศทางหนึ่ง  นักการศึกษาพิเศษอยู่ในท่ามกลางชั้นเรียนการศึกษาทั่วไป ปรับเปลี่ยนการพุ่งเป้าส่วนใหญ่ไปที่กิจกรรม  การลื่นไหลของกิจกรรม  และการมีส่วนร่วมและการสนองตอบโดยทั่วไปของกลุ่ม  พวกเขาจะกลายเป็นครูประจำชั้นเรียนปกติที่ให้การสนับสนุน  และยังให้คำแนะนำ “พิเศษ” ในแบบกฏเกณฑ์เก่าๆมากกว่าจะให้เฉพาะเด็กแต่ละคนไป

หลายความคิดที่สามารถลองปฏิบัติ

ขั้น ตอนแรกคือ  การลองมองสิ่งที่เป็นจริงๆที่เห็นด้วยมุมมองที่ต่างออกไป ผู้ที่อยู่ในแวดวงการศึกษาพิเศษและการศึกษาโดยทั่วไปสามารถจะจะลองสลับบทบาท มาอยู่ในฐานะผู้สังเกตการณ์และลองสังเกตด้วยมุมมองใหม่ๆ  ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างบางวิธีการที่อาจได้ผล

ความคิดที่หนึ่ง

ให้ แต่ละคนจดบันทึกเกี่ยวกับ “ต่างวิธีการสำหรับต่างบุคคล”  ซึ่งทั้งเป็นประโยชน์และเป็นปัญหาสำหรับนักเรียนของคุณ เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์  นอกจากจดบันทึกแล้วเมื่อคุณเกิดสังเกตพบ ให้คุณหยุดพักห้านาทีจากการกระทำแล้วใช้เพียงตาและหูคอยสังเกตว่า  ใครกำลังทำอะไร  เมื่อไร  เป็นเวลานานเท่าไร  ใครได้ประโยชน์อะไรจริงๆ มากเท่าไร  คอยจนกระทั่งสุดสัปดาห์ก่อนที่จะเปรียบเทียบบันทึกต่างๆและใคร่ครวญในสิ่ง ที่คุณเห็นแต่ละอย่าง

ความคิดที่สอง

เลือกนักเรียนมาเพียงหนึ่งคน  ตัวอย่างเช่น คีชา  ศึกษาว่าแท้จริงแล้วเธอเรียนรู้อะไรบ้างและ
เธอ มีทัศนะในการมองสิ่งต่างๆอย่างไรในเวลาต่างๆกันในระหว่างวัน  สังเกตเธอในช่วงการอภิปรายของทั้งชั้นเรียน  ในระหว่างจับคู่ทำงาน  และในขณะที่เธอทำงานอยู่ตามลำพัง   แล้วอย่าลืมที่จะสัมภาษณ์เธอด้วย  สืบสาวอย่างใส่ใจว่าเธอได้อะไรจริงๆบ้างจากการอภิปราย  และอะไรคือสิ่งที่เธอยังสับสนอยู่  สมมุติว่า ตอนนี้คุณได้เห็นคีชาเป็นอย่างไรและเรียนรู้อะไรแล้ว 10%  ลองพยายามสร้างภาพรวมของคีชาที่เหลือในฐานะผู้เรียน  แบ่งปันบันทึกของคุณในตอนสุดสัปดาห์  ภาพใหม่ที่คุณเห็นนี้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเธอได้ไหม

ความคิดที่สาม

ถ้า ทุกๆคนจำต้องเรียนรู้และสร้างความก้าวหน้าของตัวเองให้ดีที่สุด  ทุกๆคนก็จะต้องการสิ่งต่างๆในจำนวนที่แตกต่างกันและส่วนประกอบที่แตกต่าง กัน  การเรียนรู้และความก้าวหน้าคือเป้าหมายซึ่งนักเรียนของคุณต้องการที่จะก้าว ไปสู่  วิธีการระดมสมองกับเพื่อนร่วมงานหรือกับนักเรียนของคุณจะช่วยกำหนดทิศทางใน การทำกิจกรรมในชั้นเรียน  ดังนั้น “ต่างวิธีการสำหรับต่างบุคคล” จึงถูกมองในฐานะเป็นเรื่องที่มีคุณค่าในการแสวงหาการเรียนรู้  ลองพยายามปฏิบัติแต่ละความคิดเป็นเวลาหกสัปดาห์  ใช้เป็นเครื่องทดลองสนับสนุนวิธีการซึ่งกันและกันอย่างเปิดเผย

บทสรุป

ปัจจุบัน ชั้นเรียนการศึกษาโดยทั่วไปส่วนใหญ่ทำการปรับเปลี่ยนเพียงเล็กน้อยให้เหมาะ กับนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้แต่ละคน  ดูเหมือนว่า  การเพิ่มการปรับเปลี่ยนในฐานะที่เป็น “อีกสิ่งหนึ่งที่คุณจำเป็นต้องทำ” ใช้ไม่ได้ผลมากนัก  แต่ควรเรียกร้องสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่มากขึ้นและการปรับโครงสร้างการ ปฏิบัติการในชั้นเรียน  แต่การปรับปรุงชั้นเรียนไม่ใช่เรื่องง่าย  มันเกี่ยวข้องกับบางสิ่งบางอย่างเช่น “การปรับวัฒนธรรม”   นับเป็นเรื่องยากแต่ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้  มันเหมือนการจัดห้องนั่งเล่นใหม่ ห้องที่มีช้างที่เรามองไม่เห็นตัวอยู่กลางห้อง  ยิ่งเรามองเห็นว่ามันอยู่ตรงไหน  ความพยายามจะจัดการของคุณก็เป็นไปได้มากขึ้น

แปลและเรียบเรียงจาก What Are Classrooms Like for Student with Learning Disabilities? By Kate Garnett (2010)
โดย พรรษชล ศรีอิสราพร ส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก