ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

ลักษณะชั้นเรียนของนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ควรเป็นอย่างไร ตอนที่ 2

โดย เคท การ์เนท (2010)

การวินิจฉัยความแตกต่างและหลักการว่าด้วยความยุติธรรม

อุปสรรค อีกประการหนึ่งคือความเชื่อโดยทั่วไปว่า นักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ที่เรียนรวมอยู่ด้วยนี้  โดยพื้นฐานแล้วมีหลักประกันว่า เป็นนักเรียนที่เข้ากันได้ดีกับชั้นเรียนแล้ว  ส่วนใหญ่บรรดาครูในชั้นเรียนการศึกษาทั่วไปมีเป้าหมายว่า นักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้จะได้รับการยอมรับอย่างดีทีเดียวจากเพื่อน ร่วมชั้นเรียน  จนพวกเขารู้สึกอบอุ่นไม่ใช่แปลกแยกออกมา  อาจพูดได้ว่า นี่หมายความว่าไม่ต้องการปฏิบัติต่อพวกเขาแตกต่างไปแม้สภาพอันลำบากที่เป็น ปัญหาของนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้  ซึ่งยังต้องสืบเสาะหาความต้องการเรียนรู้ของนักเรียนเหล่านี้ว่า  ต้องการให้ปฏิบัติต่อพวกเขาอย่างใคร่ครวญและแตกต่าง  ตัวอย่างเช่น  มันเป็นเรื่องจำเป็นที่ :

  • ควรทำให้มั่นใจว่า คีชาและแดนมีส่วนร่วมในการอภิปรายและถามคำถาม  ซึ่งเรื่องนี้ต้องการการสอนเขาให้ถามคำถามพร้อมกับเปลี่ยนความเชื่อของเขา เกี่ยวกับการถามคำถามในโรงเรียน เช่นว่า  การถามคำถามถือเป็นการพิสูจน์ความโง่มากที่สุดหรือเป็นการแสดงการท้าทายที่ ไม่สุภาพต่อครู
  • ควรช่วยให้นิโคลัสทันเวลาด้วยเครื่องจับเวลาส่วนตัวหรือตารางเวลา  ปรับปรุงวิธีการเข้าหาเขา (บางทีอาจพูดว่า  “นิค เราจะเรียนศิลปะกันในอีก 5 นาที เธอตั้งเวลานาฬิกาเริ่มต้นได้เลย”)  เขาแตกต่างจากคนอื่นๆอีกเหมือนกันในเรื่องเขาต้องการเพื่อนให้พาไปยังห้อง ต่างๆ เพราะว่าเขาหลงทางได้ง่ายๆ  ยิ่งกว่านั้น ความลำบากยิ่งในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเขาทำให้เขาต้องเรียนในระดับพื้น ฐานพร้อมด้วยอุปกรณ์และกระบวนการที่นักเรียนคนอื่นไม่ใช้
  • ควรดูแลโจซี่ด้วยความใส่ใจอย่างมากเพื่อไม่ให้เขากลายเป็นแค่กระดาษติด ฝาผนังที่ติดโชว์อยู่เฉยๆในช่วงตลอดเวลาที่อยู่ที่โรงเรียน  เขาอาจจะต้องการให้คุณปฏิบัติต่อเขาอย่างแตกต่างมากๆ  มีการปรับการบ้านให้แตกต่างออกไป  ใช้สัญญาณมือส่วนตัวให้เขาเห็นด้วยก่อนที่จะเรียกเขา  จัดช่วงเวลาหนึ่งในระหว่างวันให้งานที่ไม่กดดันให้เขาเลือก  มีการพบปะเป็นการส่วนตัวกับเขาทุกวัน
  • ควรให้ทั้งแดนและโจซี่ฝึกทักษะการอ่านอย่างเข้มข้นในขณะที่นักเรียนคน อื่นๆทำได้อย่างง่ายดายเมื่อสามปีล่วงมาแล้ว  พร้อมกับให้ใช้กลวิธีที่ถูกต้องสำหรับบันทึกเทปเรียงความของตนเอง  และยังให้ใช้หนังสือเสียง (หนังสือที่นำมาอ่านใส่เทป) เพื่อให้เรียนทันวิชาทางสังคมอีกด้วย

 
เหล่านี้เป็นกลยุทธ์การเรียนการสอนมากมายหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับความ บกพร่องทางการเรียนรู้  กลยุทธ์ที่ต้องทำให้เหมาะสมกับเด็กๆแต่ละคน  และมันดูเหมือนเป็นการกระทำที่ไม่มีความยุติธรรม  ถ้าเป้าหมายสำหรับเยาวชนเหล่านี้เพื่อที่จะ”เข้ากันได้” การปรับปรุงและการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนในชั้นเรียนก็เป็นเรื่องไม่จำ เป็น  ความจริงแล้ว การให้ความช่วยเหลือเหล่านี้ทำให้โจซี่และเพื่อนๆเปิดเผยความบกพร่องและความ ยุ่งยากใจติดตามมาให้สาธารณชนเห็นเพิ่มขึ้น

แต่ทว่า จะเป็นไรล่ะ ถ้าการเรียนรู้ของพวกเขาต้องการความช่วยเหลือเหล่านี้  การเข้ากันได้อาจกลายเป็นเรื่องขัดแย้งกัน  ไม่ใช่เป็นสถานการณ์ที่ง่ายดายอะไร  ความต้องการเรียนรู้ของนักเรียนเหล่านี้ดูเหมือนว่าจะมีมากกว่าความเป็นไป ได้สำหรับครูคนหนึ่งที่จะวิ่งวุ่นและพบปะพูดคุย ซึ่งคุณครูต้องให้เวลากับนักเรียนคนอื่นๆและนักเรียนส่วนใหญ่ในชั้นเรียนการ ศึกษาทั่วไปด้วย  ดังนั้นจึงเป็นเรื่องเข้าใจได้ว่า  คุณครูไม่ได้เพิ่มเติมและปรับปรุงวิธีการเรียนอะไรมากนักให้กับนักเรียน เหล่านี้

ความจริงแล้ว แม้ว่าพวกนั้นจะถูกมองว่าเป็น “หัวกะทิ” คุณครูในชั้นเรียนการศึกษาทั่วไปก็ให้การช่วยเหลือน้อยมากแก่นักเรียนที่ บกพร่องทางการเรียนรู้และมีแนวโน้มจะยังคงใช้วิธีการสอนซึ่งเขารู้สึกว่า เป็นประโยชน์ต่อชั้นเรียนทั้งชั้น  (ตัวอย่างเช่น  ภาพกราฟิคทำให้ทั้งชั้นเห็นภาพหัวข้อชัดเจนขึ้น  รวมทั้งการฝึกฝนพิเศษจะช่วยเหลือทุกๆคน)  มีความเชื่อที่สำคัญอย่างหนึ่งว่า อย่างไรก็ตาม  การปฏิบัติต่อเด็กอย่างแตกต่างถือเป็นเรื่องไม่เป็นผลดี  อาจทั้งเลวร้ายต่อแต่ละบุคคลและไม่เป็นผลดีต่อกลุ่ม  ซึ่งทั้งสองอย่างเกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับความยุติธรรม  หลักการว่าด้วยเรื่องความยุติธรรมมีความเกี่ยวพันกับเรื่องแต่ละพื้นฐานทาง วัฒนธรรม   การมีคุณค่าของการสอบที่ชัดเจนขึ้น   และเป็นการให้ข้อเท็จจริงที่ไม่ยุติธรรมต่อชีวิตในชั้นเรียนด้วยเช่นกัน

ตาม ความเป็นจริงแล้ว  ในการปฏิบัติฝึกฝนทั้งเรื่องวินัยและการเรียนการสอนเป็นเรื่องที่ไม่มีความ ยุติธรรมในชั้นเรียน  แตกต่างกันไปตามเรื่องเพศ  เชื้อชาติ  ชั้นเรียนและอื่นๆ  ความจริงแล้วนักเรียนที่แตกต่างกันในชั้นเรียนต่างๆล้วนถูกปฏิบัติอย่างแตก ต่างกันทั้งนั้น  บางคนก็เป็นเรื่องตั้งใจ  อย่างเช่นนักเรียนคนหนึ่งใช้เวลามากรีรออยู่นอกห้องทำงานของครูใหญ่  ขณะที่อีกคนหนึ่งได้ไปที่นั่นเพียงเพราะมีภารกิจที่สำคัญกว่า  แต่ก็มีอีกมากที่ไม่ได้ตั้งใจแม้กระทั่งไม่ได้รับการสังเกตเลย  แต่ตัวอย่างหนึ่งของการถูกปฏิบัติอย่างแตกต่างและไม่ได้รับการยอมรับเช่น  นักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ได้รับงานวิชาการที่ท้าทายน้อยลงตลอดเวลา ที่อยู่ในชั้นเรียนการศึกษาทั่วไป  ในที่สุดคุณครูส่วนใหญ่มักตกลงใจโดยที่ไม่ได้พูดออกมาว่า “ฉันจะไม่สอบถามเธอ  ถ้าเธอไม่กวนฉัน”  ดังนั้น เด็กๆที่ “เรียนอย่างประสบผลสำเร็จได้” จะได้รับการท้าทายทางการรับรู้ที่ต่อเนื่อง  ขณะที่เพื่อนในชั้นเรียนส่วนใหญ่ที่บกพร่องทางการเรียนรู้จะถูกใส่ใจน้อยลง และน้อยลงเรื่อยๆ

เมื่อถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย   นักเรียนที่ถูกละทิ้งก็เหมือนกับพวกที่อยู่ในเงามืด  จะหลบเข้าหลบออกจากชั้นเรียนก็แทบไม่มีผลกระทบกับชั้นเรียน  และทั้งครูและนักเรียนเองมักต่างก็ไม่ได้ต้องการจะมีความสัมพันธ์ที่ร่วมกัน กระทำผิดเช่นนี้แต่กระทำโดยไม่ได้รู้สึกตัว

ดังนั้น  ตามความจริงแล้ว  ความยุติธรรมในความหมายของความเหมือนกันในการเรียนการสอน  หรือความเที่ยงธรรมในการเรียนการสอน หรือแม้แต่ในความหมายของ “แต่ละคนถูกท้าทายให้ได้แสดงความสามารถเท่าที่ทำได้” ซึ่งเป็นเรื่องที่ปฏิบัติไม่ได้มากในชั้นเรียน  แน่นอนไม่มากเท่าที่เราอาจจะชอบคิดให้ปฏิบัติ

ดังนั้น  ทำไมยังมีแรงต่อต้านที่ชัดเจนในการปฏิบัติอย่างแตกต่างต่อกรณีของแดน  กรณีของโจซี่และคนอื่นๆ เป็นแรงต่อต้านที่อ้างเรื่องความยุติธรรม  ฉันกล้าพอจะบอกว่า  ความกังวลนี้มาจากคุณครูโดยส่วนใหญ่  ถือเป็นเรื่องที่ต้องจัดการกับ ”กฏเกณฑ์ของเกมในชั้นเรียน” ที่คลุมเครือบางอย่าง  ซึ่งถูกปฏิบัติกันมาผ่านวัฒนธรรมของโรงเรียนและบางทีรวมถึงวัฒนธรรมโดยทั่ว ไปด้วยเหมือนกัน  สมาชิกของโรงเรียนที่ปรับตัวเข้ากับรูปแบบวัฒนธรรมที่ดำรงอยู่ในสังคม โรงเรียน “รู้สึก” ได้เมื่อกฎเกณฑ์เหล่านี้ถูกละเมิด  และปกติพร้อมจะสนับสนุนกฏเกณฑ์เหล่านั้น  แม้แต่กระทั่งกฎเกณฑ์นั้นจะไม่เป็นจุดที่น่าสนใจทั้งของผู้เรียนแต่ละคนหรือ ของ “พวกที่เหลือในชั้นเรียน”  พูดได้อีกอย่างหนึ่งว่า  สำหรับชั้นเรียนที่ให้การช่วยเหลือนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้อย่าง เต็มที่แล้ว  อาจจะต้องใช้เรื่องการปรับวัฒนธรรมในกระแสปัจจุบันของการจัดการเรียนใน โรงเรียน  ใช้การปรับพื้นฐานมากขึ้นในการจัดการโดยทั่วไป  ไม่ใช่เพียงแค่สำหรับบุคคลสองสามคนเท่านั้น  ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องที่ทำได้ยากและคนเราต้องการวิธีการเข้าหาจากหลากหลาย วิธีการ

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

 

แปลและเรียบเรียงจาก What Are Classrooms Like for Student with Learning Disabilities? By Kate Garnett (2010)
โดย พรรษชล ศรีอิสราพร ส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก