ปัญหาบกพร่องทางการอ่านกับการสะกดคำ ตอนที่ 1
โดยทั่วไปการสะกดคำมีความยุ่งยากอย่างไร
การสะกดคำเป็น เรื่องยากสำหรับหลายๆคน แต่กลับมีการวิจัยเกี่ยวกับการสะกดคำน้อยกว่าการวิจัยเรื่องการอ่านอย่าง มาก การวิจัยที่จะบอกว่า มีคนมากมายที่สะกดคำได้แย่มากหรือคิดว่าเขาสะกดคำได้แย่มาก คนโดยทั่วไปไม่ค่อยทราบเรื่องความสามารถในการสะกดคำเท่ากับความสำเร็จในการ อ่านเพราะว่าไม่มีการทดสอบในระดับชาติในเรื่องการสะกดคำและหลายๆรัฐในสหรัฐ อเมริกาไม่มีการทดสอบทักษะการสะกดคำ
อย่างไรก็ตาม เกือบจะทุกคนที่มีปัญหาบกพร่องทางการอ่านต้องใช้ความพยายามมากในการสะกดคำ และเผชิญอุปสรรคที่ร้ายแรงในการเรียนรู้เพื่อจัดการกับความบกพร่องในการ เรียนรู้ของเขาในด้านนี้ คำนิยามของการบกพร่องทางการอ่านหมายถึงว่า แต่ละคนที่มีปัญหาบกพร่องทางการอ่านจะมี “ปัญหาที่ชัดเจน” กับการสะกดคำและการเขียน ทั้งๆที่มีความสามารถทางด้านอื่นๆและมีปริมาณการเรียนในชั้นเรียนเท่านัก เรียนปกติ คนที่มีปัญหาบกพร่องทางการอ่านแต่ละคนส่วนใหญ่เรียนรู้ที่จะอ่านหนังสือได้ ดี แต่มีปัญหาในการสะกดคำและการเขียนลายมือ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาโดยตลอดชีวิตของเขา จึงต้องการคำแนะนำ การช่วยเหลือ การปรับการบ้านที่ให้ รวมทั้งความเข้าใจจากผู้สอนพวกเขาแต่ละคนนั้น
อะไรคือสาเหตุปัญหาในการสะกดคำ
มีความเชื่อผิดๆ โดยทั่วไปว่า รากเหง้าของปัญหาการสะกดคำมาจากการมีความจำที่แย่มากจากการมองเห็นตัวอักษร ที่เรียงลำดับเป็นคำ อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้แสดงว่า ชนิดของความจำจากการมองเห็นมีบทบาทเกี่ยวพันกันน้อยกับการเรียนรู้การสะกด คำ ปัญหาการสะกดคำนั้นเหมือนปัญหาการอ่านคือ เกิดจากความอ่อนแอในการเรียนรู้ภาษา ดังนั้น การสะกดคำที่กลับกันที่ทำให้สับสนง่ายๆเช่น b และ d หรือการเรียงลำดับตัวอักษรเช่น wnet สำหรับคำว่า went แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอในการเรียนรู้ภาษาที่ชัดเจนมากกว่าจะเป็นเรื่อง ปัญหาพื้นฐานในการมองเห็น เราส่วนใหญ่คงเคยรู้จักบุคคลที่มีความจำในการมองเห็นที่ดีเลิศ ทั้งภาพ โครงสร้างสี องค์ประกอบในการออกแบบ รูปวาดที่มีองค์ประกอบต่างๆ แผนที่ รูปภูมิทัศน์ต่างๆ แต่สะกดคำได้แย่มาก แต่ความจำในการมองเห็นประเภทนี้ก็จำเป็นสำหรับการสะกดคำและ “เชื่อมโยง” อย่างใกล้ชิดกับเครือข่ายกระบวนการของภาษาในสมอง
ผู้ที่สะกดได้แย่จะ มีความลำบากในการจดจำตัวอักษรในคำต่างๆ เพราะว่า เขามีปัญหาในการสังเกต ในการจดจำ และการระลึกถึงถ้อยคำภาษาที่ตัวอักษรเหล่านั้นเป็นตัวแทน เป็นเรื่องธรรมดามากที่ผู้ที่สะกดคำได้แย่จะมีจุดอ่อนด้านทักษะภาษาที่เป็น รากฐานรวมทั้งความสามารถที่จะวิเคราะห์และจดจำเสียงแต่ละเสียงในคำต่างๆ เช่นเสียง j ch หรือ v หรือพยางค์ต่างๆ เช่น la mem pos หรือส่วนที่มีความหมายเป็นรูปคำยาวๆ เช่น sub- -pect หรือ –able จุดอ่อนเหล่านี้สามารถสืบสาวไปถึงการใช้ภาษาในการพูดและการเขียน ดังนั้น จุดอ่อนเหล่านี้จึงสามารถย้อนให้เห็นเมื่อใครพูดหรือเขียน
เช่นเดียวกับ ด้านอื่นๆ ของปัญหาการบกพร่องทางการอ่านและความสำเร็จในการอ่าน ความสามารถในการสะกดคำได้รับอิทธิพลมาจากอุปนิสัยที่สืบทอดมา ซึ่งเป็นเรื่องจริงที่ใครบางคนเกิดมาเป็นผู้ที่สะกดคำได้ดีกว่าคนอื่น แต่ในขณะเดียวกันผู้ที่สะกดคำได้แย่ สามารถได้รับความช่วยเหลือด้านการเรียนการสอนและการช่วยเหลืออื่น ๆ ได้ด้วย
การวินิจฉัยปัญหาการสะกดคำ
ถ้ามีความสงสัยว่า เป็นผู้ที่มีปัญหาบกพร่องในการอ่าน และยังเป็นนักเรียนในระดับอนุบาลหรือเรียนอยู่เกรด 1 การทดสอบพื้นฐานง่ายๆในเรื่องการรู้จักปัจจัยเสียงและชื่อตัวอักษรควรจะทำ เพื่อช่วยให้สามารถคาดเดาปัญหาการสะกดคำในเวลาต่อมา ซึ่งเหมือนกับการคาดเดาปัญหาในการอ่านนั่นเอง ถ้านักเรียนยังมีปัญหาในการจดจำการสะกดคำ จึงควรจะมีการทดสอบมาตรฐานปัจจุบันของความสำเร็จในการสะกดคำในระดับชาติ เพื่อดูว่าปัญหามีความรุนแรงขนาดไหน นอกจากนี้ การทดสอบเพื่อวินิจฉัยการสะกดคำควรจะดำเนินการเพื่อให้สามารถระบุได้ถึง เสียงใด พยางค์รูปแบบใด หรือพยางค์ที่มีความหมายใดที่นักเรียนไม่เข้าใจและไม่สามารถจำได้
การ ทดสอบเพื่อวินิจฉัยการสะกดคำ เช่น การทดลองพัฒนาการในการสะกดคำ จะช่วยบอกคุณครูได้อย่างแน่นอนว่า การสะกดพยัญชนะ สระ พยางค์หรือคำประเภทใดที่นักเรียนต้องเรียน ประการที่สาม ควรจะมีการทดสอบความรู้ของนักเรียนในเรื่องคำในภาษาอังกฤษที่จำเป็นและใช้ บ่อยมากในการเขียน สิ่งเหล่านี้ควรเน้นย้ำในการเรียนการสอน
นักเรียนเรียนรู้ที่จะสะกดคำอย่างไร
เด็กๆ จะค่อยๆพัฒนาความเข้าใจได้ตั้งแต่ระดับเตรียมอนุบาล ระดับอนุบาลและระดับเกรด 1 ว่า ถ้อยคำถูกทดแทนด้วยตัวอักษร กระบวนการนี้จะพัฒนาไปได้รวดเร็วมากขึ้นและประสบความสำเร็จด้วย ถ้าการเรียนการสอนในเรื่องเสียงและตัวอักษรนั้นเป็นระบบ ชัดเจนและเห็นองค์ประกอบ
การสะกดคำทั้งคำจะกลายเป็นเรื่องง่ายเมื่อ เด็กๆเข้าใจว่า คำประกอบด้วยเสียงคำพูดที่แยกออกได้และตัวอักษรทดแทนเสียงเหล่านั้น เมื่อความรู้ในเรื่องกฎเกณฑ์เพิ่มขึ้น เด็กจะสามารถสังเกตรูปแบบที่ใช้ตัวอักษรแทน และยังสังเกตได้ด้วยถึงการเรียงลำดับของตัวอักษรที่สร้างขึ้นเป็นพยางค์ การจบคำ รากของคำ คำนำหน้าและคำต่อท้าย ความจำในคำทั้งคำที่ถูกเขียนขึ้นจะรวดเร็วมากขึ้นและยังสามารถระลึกคำขึ้นมา ใช้ได้ง่ายขึ้นด้วยเมื่อเด็กๆมีความเข้าใจลึกซึ้งในเรื่องโครงสร้างทางภาษา และได้รับการฝึกฝนอย่างเต็มที่ในการเขียนคำต่างๆ
การทดลองพัฒนาการ สะกดคำแบบที่ทดสอบเสียงตามที่ได้ยินในระดับเตรียมอนุบาลและระดับอนุบาล ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญเพื่อความเข้าใจว่าเราใช้ตัวอักษรสะกดอย่างไร อย่างไรก็ตาม การทดลองสะกดคำไม่เหมาะกับนักเรียนที่จะเรียนการเขียนตามแบบภาษาอังกฤษที่ เป็นรูปแบบมาตรฐาน การสนับสนุนนักเรียนที่เรียนเลยระดับเกรด 1 ให้ทดลองสะกดคำตามเสียงโดยละเลยการสะกดที่ถูกต้องเป็นเรื่องที่ไม่ควรอย่างยิ่ง