ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“กรณีศึกษาการจัดการศึกษาพิเศษในต่างประเทศ”

บทสัมภาษณ์ : คุณชูศักดิ์ จันทยานนท์ นายกสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย) และเลขาธิการ สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย

          คุณชูศักดิ์ จันทยานนท์ กล่าวว่า ได้มีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศเพื่อศึกษาหาความรู้ เรื่อง การศึกษาของกลุ่มคนพิการว่าปัจจุบันถึงไหนแล้ว ในประเทศไทยมีการศึกษา 2 แบบ คือ ในระบบและนอกระบบ การศึกษาในระบบคือการศึกษาในโรงเรียน มีตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา อุดมศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ เป็นต้น ขณะเดียวกันมูลนิธิทั้งหลายมีความพร้อม ศูนย์ส่งเสริมทักษะชีวิตออทิสติก ศูนย์พัฒนาการ แต่ทั้งหมดคือ การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ระบบการทำงาน ส่วนนอกระบบคือการศึกษานอกโรงเรียน เด็กบางคนเมื่อเรียนได้ระยะแล้วไม่มีโรงเรียนที่สามารถศึกษาต่อ ต้องไปเรียนที่ กศน. ตั้งแต่ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นและปลาย เนื่องจากในเรื่องของการที่คนพิการเข้าไปเรียนร่วมมีประมาณ สี่แสนคน ประกอบด้วย เด็กพิการหลายประเภท เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน เด็กพิการทางกาย เด็กออทิสติก ที่มากที่สุด เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้  ระบบการเรียนร่วมไม่ได้มีการขยายไปในทุกเขตพื้นที่ เพราะผู้ปกครองไม่ได้อยากให้ลูกไปอยู่โรงเรียนประจำ ซึ่งมีอยู่ 48 โรง การศึกษาเรื่องเรียนรวมเป็นธงหนึ่งซึ่งมีการประเมินว่าเป็นไปตามเป้าหมาย ปรากฏว่าเรื่องเรียนรวมทำได้ระดับแต่ยังไม่ทั่วถึง และได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานประเทศทางยุโรป เช่น เยอรมัน พบว่าทำ 2 ระบบคู่กันแต่ใช้หน่วยเดียว คือ สถาบันคนตาบอดเฉพาะทาง มีระบบเหมือนศูนย์การศึกษาพิเศษ สอนเตรียมความพร้อมเด็ก เมื่อเด็กมีความพร้อมระดับหนึ่งส่งไปเรียนร่วมกับโรงเรียนใกล้บ้าน หรือเด็กบางคนต้องเรียนห้องเรียนพิเศษกับสถาบันก็ได้ หรือเข้าชั้นเรียนเต็มเวลาที่สถาบันก็ได้     
         โมบายยูนิต คล้ายรถเคลื่อนที่ที่มีสื่อการเรียนการสอน ต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะด้าน เช่น ภาพนูน สื่อที่สัมผัสได้ เป็นต้น มีตารางเรียนหากเด็กคนไหนไม่เข้าใจจะมีครูพิเศษเข้าไปให้ความรู้เพิ่มเติม เด็กสามารถเรียนร่วมกับเพื่อนได้ เพราะแต่ละเมืองจะมีเซ็นเตอร์เดียว ระบบแบบนี้บ้านเรายังไม่มี ยกตัวอย่าง จ.สระบุรี อยู่ อ.เมือง กับ อ.พระพุทธบาท ห่างกัน 50 – 60 กิโลเมตร หากเป็นคนพิการจะเดินทางอย่างไร ถ้าไม่มีพ่อแม่ รถจักรยานยนต์ จะเดินทางอย่างไร เพราะฉะนั้นการทำเรียนรวมจัดระบบดี ๆ สามารถให้เด็ก ๆ เรียนในพื้นที่ได้ อาจจะมีการนำระบบมานำร่องในบางพื้นที่ของประเทศไทย         
        ระบบ Health Insurance หลักประกันสุขภาพบัตรทองคนพิการ เด็กอยู่ในโรงเรียนได้สิทธิทุกอย่าง หากเจ็บป่วยมีคนของเขตพื้นที่เข้ามาทำแผนร่วมกับเด็กพิการว่าต้องการอะไร ซึ่งบ้านเราก็มีแต่ต้องเริ่มที่โรงพยาบาล แนวคิดนี้คือการบูรณาการสามารถเริ่มทำพื้นที่ทดสอบ (Sandbox) เรื่องการเรียนร่วมที่คาดหวังไว้มีโอกาสเป็นไปได้ คุณภาพในเรื่องการศึกษาพิเศษในประเทศไทยไม่ได้ต่างกับต่างประเทศ ระบบการจัดการ ระบบการเชื่อมต่อกระจายไปในพื้นที่มีอำนาจมากขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาได้ว่า สิ่งที่องค์กรคนพิการเสนอทำให้เห็นว่าเป็นไปได้จริง ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี         
        คุณชูศักดิ์  จันทยานนท์ ทิ้งท้ายว่า “บทบาทของคนพิการในเรื่องการศึกษาต้องพยายามไปให้ถึงปลายทางแล้วจะประสบความสำเร็จ ส่วนพ่อแม่ ผู้ปกครอง อาจจะปรึกษาหารือกับศูนย์การศึกษาพิเศษชมรม/สมาคมต่าง ๆ ติดต่อกันเรื่อย ๆ จะได้ช่วยกับประคอง และอย่ากังวลว่าลูกจะอยู่ในระบบใดระบบหนึ่ง เมื่อถึงจุดหนึ่งเด็กจะเลือกเองว่าจะเรียนรวมหรือเรียนระบบ เรียนอาชีวะ หากฐานแน่นสามารถดำเนินได้ตลอดเส้นทาง กฎหมายการศึกษาคนพิการสามารถเรียนฟรีได้ถึงปริญญาตรี”
 
... สามารถติดตามรับฟังรายการรวมใจเป็นหนึ่ง ได้ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz หรือ www.moeradiothai.net

 

รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ เวลา 11.30 - 12.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz

ภาพประกอบรายการวิทยุรวมใจเป็นหนึ่ง

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก