ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

คอลัมน์: สถานีพัฒนาสังคม: 'ปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการ ตามมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ'

วันที่ลงข่าว: 04/03/19

คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา

(ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว)

ผู้แทนมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรม4ราชูปถัมภ์ ได้แสดงความคิดเห็น ดังนี้

(๑) การจ้างงานของมูลนิธิธรรมิกชนฯ คำนึงถึงการส่งเสริมหลังจากการส่งเสริมด้านการศึกษาเมื่อมีคนตาบอดสำเร็จการศึกษาในหลายระดับก็ต้องการที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยจากการประสานงานการเข้าสู่การจ้างงาน มาตรา ๓๓ พบว่าสถานประกอบการยังมีความเข้าใจศักยภาพ ของคนตาบอดน้อยมาก ซึ่งมีความพยายามประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้เพิ่มมากขึ้น

 

(๒) สำหรับคนที่จบการศึกษาปริญญาตรี ยังพบว่าได้รับค่าแรงขั้นต่ำอยู่ คือ ๙,๐๐๐ บาทต่อเดือน ซึ่งไม่สอดคล้องกับวุฒิการศึกษา คนพิการบางส่วนจึงหาทางออกด้วยการไปประกอบอาชีพอิสระ ทั้งนี้ อาจจะต้องส่งเสริมและเตรียม ความพร้อมสำหรับคนพิการให้สอดคล้องกับสถานประกอบการ ด้วย

 

(๓) ความพยายามในการส่งเสริมมาตรา ๓๕ ด้วยการเข้าพูดคุยกับสถานประกอบการโดยตรง ยังพบคำถามจากสถานประกอบการสอบถามว่าทำไมต้องจ้างงานคนพิการตามมาตรา ๓๕ ในเมื่อการส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา ๓๔ มีความง่าย ไม่ยุ่งยาก แต่การดำเนินการตามมาตรา ๓๕ ต้องมีคนดูแลเรื่องเอกสาร มีความยุ่งยากทั้งในเรื่องการติดตามและการดูแลอีกหลายอย่าง ซึ่งสะท้อนให้เห็นปัญหาการขาดการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานภาครัฐในการให้ข้อมูลต่อสถานประกอบการ จึงทำให้สถานประกอบการไม่มั่นใจว่าการส่งเสริมการจ้างงานตามมาตรา ๓๕ จะไม่ต้องจ่ายซ้ำซ้อนในส่วนของการส่งเงินเข้ากองทุน ตามมาตรา ๓๔

 

 

 

(๔) ควรตั้งคณะทำงานด้านการส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ เพื่อทำงานในระดับจังหวัด หรือระดับพื้นที่ ดังเช่น คณะทำงานด้านการส่งเสริมการจ้างงานสำหรับคนพิการ จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีจัดหางานจังหวัดเป็นประธาน คณะทำงานประกอบด้วย องค์กรด้านคนพิการ สภาอุตสาหกรรม หรือผู้แทนสถานประกอบการ เพื่อส่งเสริมกันเป็นระบบ โดย เริ่มจากข้อมูลคนพิการ การสำรวจความต้องการตำแหน่งงาน การเตรียมความพร้อมส่งเข้าทำงาน ทั้งนี้ เห็นว่าเป็นอีก มิติหนึ่งที่จะช่วยให้คนพิการ มีอาชีพและช่วยส่งเสริม การจ้างงานคนพิการให้มากขึ้น

 

Ads by AdAsia

ผู้แทนสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)ได้แสดงความคิดเห็นว่า นโยบาย การทำงานของ สตง. ในปัจจุบัน มุ่งเน้นส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนของภาครัฐสามารถทำภารกิจของตัวเองให้บรรลุผลตามบทบาทหน้าที่ ตามยุทธศาสตร์ชาติ และแผนปฏิรูปประเทศ โดยประเด็นปัญหา ตามมาตรา ๓๕ ดังนี้

 

 

 

(๑) ปัญหาด้านระบบฐานข้อมูล ปัจจุบัน สตง. มีการตรวจสอบในลักษณะฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และสนับสนุนให้หน่วยงานต้องจัดทำฐานข้อมูลเพื่อการตรวจสอบ โดยกฎหมายฉบับนี้ ที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงาน นอกจากข้อมูลตามมาตรา ๓๕ แล้วยังต้องรวมถึงมาตรา ๓๓ ข้อมูลของสถานประกอบการเกี่ยวกับ การจ้างงาน อัตราค่าจ้างเป็นไปตามกฎหมายกำหนด หรือไม่ และมาตรา ๓๔ การส่งเงินเข้ากองทุนครบถ้วน หรือไม่ เพราะเงินจำนวนดังกล่าวจะถูกนำเข้าเพื่อใช้ดูแลคนพิการตามกฎหมาย

 

(๒) ปัญหาการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรา ๓๕ ทั้งนี้ กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ ชีวิตคนพิการ โดย พก. ควรมีการตรวจสอบภายหลัง เมื่อได้รับข้อมูลการจ้างงานตามมาตรา ๓๕ จากกรมการจัดหางานแล้ว ด้วยหนังสือสอบยันเพื่อให้คนพิการได้รับทราบสิทธิเช่นเดียวกับการตรวจสอบบัญชีในการยืนยันยอดลูกหนี้และเจ้าหนี้ ดังนั้น กองทุนส่งเสริมฯ ซึ่งมีภารกิจโดยตรงต่อการบริหารจัดการเงินที่สถานประกอบการนำส่งเข้ากองทุน โดยปัจจุบันมีเงินอยู่จำนวนมาก จึงต้องมีการดำเนินการเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับสถานประกอบการด้วยการมีระบบตรวจสอบที่รัดกุม

 

 

 

(๓) ปัญหาการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิของคนพิการในเรื่องการจ้างงาน ทั้งนี้ กรมการ จัดหางานซึ่งต้องลงพื้นที่ไปตรวจสอบสิทธิตามมาตรา ๓๕ ก็ควรให้ความรู้กับคนพิการให้ได้รับทราบสิทธิของตน เนื่องจากปัจจุบันยังพบว่าคนพิการส่วนใหญ่ยังไม่ทราบสิทธิของตน

 

(๔) ปัญหาการเข้าถึงข้อมูลคนพิการ ทั้งนี้ สตง. ได้มีแผนการหารือเพื่อทำความร่วมเมือ กับกรมการปกครองเพื่อเชื่อมโยงฐานข้อมูล และกรณีฐานข้อมูลคนพิการหากข้อมูลใดที่เชื่อมโยงไว้กับ กรมการปกครอง แล้ว สตง.ก็จะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าวในการดำเนินงานได้เพื่อให้ข้อมูลมีความทันสมัย อย่างไรก็ตาม ควรให้สถานประกอบการได้เข้าถึงข้อมูลของคนพิการ ในพื้นที่เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการจ้างงานและ การดำเนินงานตามกฎหมาย

 

นายกสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย ได้แสดงความคิดเห็นว่า กฎหมายการจ้างงานทำให้คนพิการมีคุณชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น คนพิการเห็นคุณค่าในตัวเอง สังคมไทยได้เห็นศักยภาพคนพิการและทำให้เกิดการจ้างงานขึ้น มาตรา ๓๕ ถือเป็น ช่องทางที่ทำให้คนพิการเข้าถึงสิทธิและโอกาสในการจ้างงานมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนพิการที่ไม่เห็นโดยประจักษ์ เช่น คนพิการทางจิต หากไปสมัครงานที่ไหนเมื่อทราบว่า เป็นคนพิการทางจิตก็มักจะถูกปฏิเสธ ในขณะที่คนพิการ ทางจิตมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น การเตรียมพร้อมของ คนพิการทางจิตในการเข้าทำงานก็ยังมีน้อย ดังนั้น มาตรา ๓๕ จะเหมาะกับคนพิการทางจิต เนื่องจากคนพิการ ได้ทำงานใกล้บ้านและมีผลดีกับระบบการฟื้นฟูคนพิการทางจิตที่แต่ละคนมีความแตกต่างกัน หรือหน่วยงานที่มีความเข้าใจและมอบหมายงานที่เหมาะสมกับความพิการทางจิต ทำให้เขาสามารถทำงานได้แบบยั่งยืนและมั่นคงมากขึ้น กรณีทำงานในโรงงานหรือบริษัทจะต้องมีระบบ พี่เลี้ยงสอนงาน (Job Coach) ที่ต้องติดตามให้ความรู้ หรือแนะนำคนพิการเกี่ยวกับการทำงานและการร่วมงาน กับเพื่อนร่วมงาน ทั้งนี้ คนพิการทางจิตหลายคนมีโอกาสได้ทำงาน มีรายได้ดูแลครอบครัวและลุกขึ้นมาเป็นหัวหน้าครอบครัวได้ ดูแลพ่อแม่ ที่เป็นผู้สูงอายุได้เช่นกัน ดังนั้น การใช้มาตรา ๓๕ จึงเป็นการเปิดโอกาสให้คนพิการที่ไม่เห็นโดยประจักษ์ อย่างเช่น คนพิการ ทางจิตสังคมได้เข้าถึงสิทธิการทำงานมากขึ้น จึงขอให้คงมาตรา ๓๕ ไว้

 

ตัวแทนผู้ประกอบการเอกชน ได้แสดงความคิดเห็นว่าที่ผ่านมายังมีปัญหารายชื่อคนพิการซ้ำซ้อนตามมาตรา ๓๕ ซึ่งบริษัทก็ต้องหาคนพิการเพื่อมาใช้สิทธิใหม่ ทั้งนี้ บริษัทมีทั้งการจ้างคนพิการทำงานและมีนโยบายดูแลคนพิการในชุมชน เพื่อสนับสนุนให้คนพิการได้ทำงาน ใกล้บ้าน และได้ร่วมกับเทศบาลในพื้นที่จังหวัดระยองที่มีข้อมูลคนพิการที่มีความชัดเจนซึ่งได้ลงพื้นที่ตรวจสอบว่ามีการทำงานของคนพิการหรือทำอาชีพจริงหรือไม่ และได้รับเงินตามที่บริษัทสนับสนุนไปจริง หรือไม่ด้วย อย่างไรก็ตาม จากปัญหาที่บริษัทไม่สามารถขอข้อมูล คนพิการเพื่อนำมาใช้วางแผนการจ้างงานคนพิการได้นั้น จึงขอเสนอให้ มีองค์การกลางที่มีข้อมูลคนพิการครบถ้วน เพื่อขับเคลื่อนการจ้างงานคนพิการร่วมกับสถานประกอบการ นอกจากนี้ หน่วยงานภาครัฐ ควรมีการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ ความเข้าใจและข้อมูลเกี่ยวกับ สิทธิการจ้างงานคนพิการตามกฎหมายกับคนพิการด้วย

 

(อ่านต่อฉบับหน้า)

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ถนนอู่ทองใน ดุสิต กทม. 10300 email : dek_senate@hotmail.co.th หรือ Facebook: กมธ.พัฒนาสังคม

 

หรือ กลุ่มงานคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็กฯ วุฒิสภา โทร.02-831-9225-6  แฟกซ์ 02-831-9226

 

ที่มาของข่าว https://www.ryt9.com/s/nnd/2961959
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181