ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

พื้นที่ห่างไกล พร้อมนำส่วนราชการในระดับจังหวัดออกหน่วยบริการเคลื่อนที่ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน” ที่ อ.พลับพลาชัย

วันที่ลงข่าว: 24/08/18

          วันที่ 23 ส.ค. 61 เวลา 09.30 น. นายอนุสรณ์ แก้วกังวาล ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมด้วยนางผ่องใส แก้วกังวาล นายกเหล่ากาชาดจังหวัดบุรีรัมย์ และคณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดบุรีรัมย์ นำแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารสุข หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. พร้อมกับออกหน่วยบริการเคลื่อนที่ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน” ที่บริเวณโรงเรียนบ้านมะมัง หมู่ที่ 2 บ้านเสม็ด ต.ป่าชัน อ.พลับพลาชัย จ.บุรีรัมย์ เพื่อให้บริการตรวจรักษาผู้เจ็บป่วย ยากไร้ในพื้นที่ห่างไกล และให้ส่วนราชการในระดับจังหวัด อำเภอ นำงานในหน้าที่ออกไปให้บริการประชาชนในพื้นที่ห่างไกล เดินทางยากลำบาก เป็นการลดขั้นตอนและลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในการติดต่อราชกับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ซึ่งกิจกรรมการให้บริการประกอบไปด้วย การมอบเงินสงเคราะห์ และเครื่องอุปโภค-บริโภค ผ้าห่มให้แก่เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ยากไร้ มอบกายอุปกรณ์แก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการ มอบพันธุ์กล้าไม้ให้กับประชาชน มีการนำบริการด้านเกษตรกรรม ปศุสัตว์ จำหน่ายและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน สินค้าธงฟ้าราคาประหยัด บริการด้านแรงงาน บริการด้านทะเบียนรถ รับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ การช่วยเหลือทางสังคม และอื่นๆ อีกจำนวนมาก ซึ่งเป็นการให้บริการแก่ประชาชนถึงพื้นที่ และเป็นการกระตุ้นให้ส่วนราชการต่างๆ ได้เข้าศึกษาสภาพปัญหา และรับรู้ความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างใกล้ชิด มีประชาชนไปเดินทางไปติดต่อขอรับบริการเป็นจำนวนมาก

          ในส่วนของการออกหน่วยแพทย์ พอ.สว. จังหวัดบุรีรัมย์ได้ระดมทีมแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ อ.พลับพลาชัย และอำเภอใกล้เคียง ร่วมให้บริการด้านการรักษาโรคทั่วไป บริการทันตกรรม การแพทย์แผนไทย บริการให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ และแพทย์ทางเลือกแก่ประชาชน โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย สานต่อพระปณิธานสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ทรงพระราชทานทุนแรกเริ่มก่อตั้งมูลนิธิแพทย์ พอ.สว. เพื่อช่วยเหลือประชาชนในท้องถิ่นทุรกันดารให้มีสุขภาพอนามัยและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยการการจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ประกอบด้วย อาสาสมัคร เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และบุคลากรอื่นๆ ตามความจำเป็น เดินทางไปยังหมู่บ้านที่มีสภาพทุรกันดาร การคมนาคมไม่สะดวก หรือไม่สามารถเดินทางไปรับบริการจากสถานพยาบาลได้ เป็นการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพอนามัยของประชาชน การป้องกันโรค รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้ท้องถิ่นเหล่านั้นพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

ที่มาของข่าว สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก