ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

แรงงานนอกระบบกับการออมเพื่อสร้างหลักประกันรายได้ (บำนาญ) ในวัยผู้สูงอายุ

วันที่ลงข่าว: 26/06/18

          ประธานคณะอนุกรรมาธิการกิจการผู้สูงอายุ เปิดการเสวนาโต๊ะกลม เรื่อง แรงงานนอกระบบกับการออมเพื่อสร้างหลักประกันรายได้ (บำนาญ) ในวัยผู้สูงอายุ เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาภาวะแรงงานนอกระบบไม่มีเงินออมในช่วงวัยเกษียณ

          พลเรือเอก พลวัฒน์ สิโรดม ประธานคณะอนุกรรมาธิการกิจการผู้สูงอายุ เป็นประธานเปิดการเสวนาโต๊ะกลม เรื่อง แรงงานนอกระบบกับการออมเพื่อสร้างหลักประกันรายได้ (บำนาญ) ในวัยผู้สูงอายุ จัดโดยคณะกรรมาธิการการสังคม เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดำเนินงานโดยคณะอนุกรรมาธิการกิจการผู้สูงอายุ เพื่อหาทางออกและข้อมูลประกอบการแก้ปัญหาภาวะแรงงานนอกระบบที่ไม่มีเงินออมในช่วงวัยเกษียณ โดยกล่าวว่า จากการสำรวจผู้มีงานทำ จำนวนกว่า 37 ล้านคนในปี 2560 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีแรงงานนอกระบบจำนวนกว่า 20 ล้านคน และแรงงานในระบบเกือบ 17 ล้านคน เป็นบุคคลประกอบอาชีพค้าขาย รับจ้าง เกษตรกร ประมง มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีและยากไร้ ซึ่งแรงงานนอกระบบเป็นกลุ่มที่ได้รับการคุ้มครองทางสังคมที่ยังไม่เพียงพอ จึงควรมีเงินออมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตหลังเกษียณได้อย่างมั่นคง ที่รัฐได้ให้ความสำคัญทุกกลุ่มให้มีการออม โดยกลุ่มแรงงานนอกระบบรัฐได้จัดตั้งกองทุนออมแห่งชาติโดยพระราชบัญญัติกองทุนแห่งชาติ พ.ศ.2554 เพื่อเป็นช่องทางการออมพื้นฐานให้ประชากรภาคแรงงานของประเทศที่เป็นแรงงานนอกระบบได้เข้าถึงระบบการออมในการเข้าถึงหลักประกันทางรายได้ที่สูงขึ้น พร้อมทั้งสร้างความมั่นคงการดำรงชีพในวัยชราภาพอย่างทั่วถึงเพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อความยากจนในวัยสูงอายุ

          จากนั้นเป็นการอภิปราย เรื่องระบบการออมและการสร้างรายได้เพื่อการเกษียณของแรงงานนอกระบบ โดยนายนิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์ อนุกรรมาธิการกิจการผู้สูงอายุ 1 ในวิทยากร กล่าวว่าผู้ใช้แรงงานที่ทำงานโดยไม่มีสัญญาจ้างงานอย่างเป็นทางการ หรือไม่มีนายจ้างตามความหมายของกฎหมายแรงงาน ไม่ได้ทำงานอยู่ในสถานประกอบการของนายจ้าง ไม่มีค่าจ้างหรือค่าตอบแทนที่แน่นอน หรือเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือเป็นผู้ที่ทำงานชั่วคราว แรงงานนอกระบบ จึงเป็นแรงงานที่ไม่ได้อยู่ในกรอบความคุ้มครองของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายประกันสังคม และความมั่นคงในการดำรงชีวิตเมื่อเข้าสู่วัยชรา ดังนั้นจำเป็นต้องแก้ไขให้มีความชัดเจนในเรื่องของค่าตอบแทนที่แน่นอนในการออม อาจจะต้องสร้างระบบการออมให้แรงงานนอกระบบในช่วงวัยทำงานในการออมเงิน 30 ปี จะได้รับผลตอบแทนร้อยละ 3 และเมื่อถึงวัยชราจะได้รับเงินคืนคืน รวมทั้งค่าตอบแทนเดือนละ 1,000 บาท ซึ่งถือเป็นการสร้างวินัยในการออมลดภาระให้กับทางรัฐ พร้อมทั้งเป็นการสร้างภุมิคุ้มกันในการใช้เงินให้เพียงพอไม่เกิดสถานะยากไร้ในอนาคต

 

ที่มาของข่าว สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181