ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

ไทยพร้อมการเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (ACMECS Summit) ครั้งที่ 8

วันที่ลงข่าว: 13/06/18

          ไทยพร้อมการเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (ACMECS Summit) ครั้งที่ 8 ขณะที่คาดหวังว่าผลลัพธ์ที่จะได้จากการประชุมคือทางผู้นำจากประเทศสมาชิก ACMECS จะรับรองแผนแม่บท ACMECS Master plan เพื่อการสร้างเสริม คอนเน็คทิวิตี้ หรือ ความเชื่อมโยงที่นำไปสู่การขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ ในกลุ่มประเทศสามาชิก ACMECS

          เหลือเวลาอีกเพียง 1 วันเท่านั้น ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (ACMECS Summit) ครั้งที่ 8 โดยจะดำเนินการจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-16 มิถุนายนนี้ สำหรับการเตรียมความพร้อมของไทย ล่าสุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้คณะทำงานเตรียมความพร้อมให้สำเร็จราบรื่นด้วยดีในทุกมิติ โดยคาดหวังว่าผลลัพธ์ที่จะได้คือทางผู้นำจากประเทศสมาชิก ACMECS จะรับรองแผนแม่บท ACMECS หรือ ACMECS Master plan ระหว่างปีพุทธศักราช 2562 - 2566 ซึ่งจะเป็นแผนปฏิบัติการฉบับแรกที่มีการรับรองโดยผู้นำของ ACMECS เน้นในเรื่องของการสร้างเสริม คอนเน็คทิวิตี้ หรือความเชื่อมโยง ไม่ว่าจะเป็นด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านกฎระเบียบความร่วมมือทางการเงินและด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในเรื่องของ ACMECS Master plan นอกจากนั้นในบริบทของผู้นำ จะมีการรับรองเอกสาร ปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok decoration )เพื่อสะท้อนและแสดงความมุ่งมั่นเจตนารมณ์ทางการเมืองของผู้นำทั้ง 5 ประเทศ ที่จะขับเคลื่อนกรอบความร่วมมือ ACMECS ซึ่งเป็นกรอบของอนุภูมิภาคที่มีความสำคัญ สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาและการรวมตัวของอาเซียนได้อย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้นต่อไป

          นางสาวบุษฎี สันติพิทักษ์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวว่า ไทยได้เตรียมข้อเสนอหรือโครงการความร่วมมือต่อการประชุมผู้นำในครั้งนี้ ให้มีผลสำเร็จเป็นรูปธรรมและสิ่งที่จะเป็นรูปธรรมก็คือกรอบ ACMECS Master plan แผนปฏิบัติการ 5 ปี ประกอบด้วย 3 สาขาหลัก คือ เน้นการเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อ การเชื่อมโยงสอดประสานทางด้านเศรษฐกิจและเรื่องของความร่วมมือทางด้านการเงิน ซึ่งในรายละเอียดแต่ละสาขาก็จะมีโครงการย่อยๆ หรือแนวแผนงาน ซึ่งประเทศสมาชิกทั้ง 5 จะร่วมกันตกผลึกว่าจะดำเนินโครงการอย่างไรให้มีความคืบหน้าส่วนที่มีความสำคัญ

          นอกจากนี้ ไทยยังได้เชิญผู้แทนองค์การระหว่างประเทศอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในพิธีเปิด การประชุมผู้นำ ACMECS เป็นการช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์กับทางสมาชิกของ ACMECS ด้วย โดยสิ่งที่สำคัญก็คือบทบาทของภาคเอกชนและธุรกิจ ซึ่งมองข้ามไม่ได้เลยที่จะทำให้ความร่วมมือนั้นมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นและทั้งหมดนี้จะทำให้เห็นว่า การประชุมผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 8 ที่ไทยกำลังจะเป็นเจ้าภาพจะเป็นเวทีที่ทำให้เกิดคุณค่าอย่างแท้จริง

ที่มาของข่าว สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก