ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

สถานพัฒนาวิชาการด้านภาษามหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับจังหวัดน่าน เปิดโครงการตัวหน่วยให้คำปรึกษาในการให้บริการสมุนไพรและอุตสาหกรรมสุขภาพ (Spa)

วันที่ลงข่าว: 23/04/18

          ที่โรงแรมน่านตรึงใจจังหวัดน่าน นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน พร้อมด้วย ดร.ปริญญา ปานทอง ผู้ทรงคุณวุฒิประจำวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานร่วมกัน เปิดตัวหน่วยให้คำปรึกษาออนไลน์เพื่อพัฒนาศักยภาพในการแปลผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและภาษาอังกฤษสำหรับการส่งออกและนำเข้าทางอุตสาหกรรมเกษตรสมุนไพร ให้กับผู้ประกอบการ ผลิตภัณฑ์ สินค้าชุมชน และวิสาหกิจชุมชน ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” โดยเน้นการยกระดับมาตรฐานทักษะฝีมือให้ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการในแต่ละสาขา ด้านภาษาเน้นภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษากลางของอาเซียนและโลก

         สำหรับการจัดโครงการดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการเกษตร และบริการสมุนไพรใน 17 จังหวัดภาคเหนือ 1) ได้พัฒนาภาษาอังกฤษด้วยตนเอง โดยใช้เครื่องมือที่พัฒนาขึ้น เพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษในการนำเข้า-ส่งออก ประกอบด้วยสาระจำเป็น เช่น การแปลฉลากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และภาษาอังกฤษสำหรับการส่งออกและนำเข้า การให้บริการสมุนไพรและอุตสาหกรรมสุขภาพ (Spa) การทำสัญญาการค้า บทสนทนาในการเจรจาธุรกิจ การเขียนe-mail และการติดต่อคู่ค้า เพื่อขับเคลื่อนธุรกรรมระดับโลก 3) จัดตั้งหน่วยที่ปรึกษาออนไลน์ เพื่อแนะนำการใช้ภาษาอังกฤษอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะช่วยขยายโอกาสทางการตลาดต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว ในการสร้างชุดเครื่องมือทางด้านภาษา เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการเป็นศูนย์กลางธุรกิจสมุนไพร และการทดลองใช้เครื่องมือต่างๆ แล้วจัดฝึกอบรมผู้ประกอบการนำร่อง 17 จังหวัดภาคเหนือ พร้อมจัดกิจกรรมเปิดตัวหน่วยให้คำปรึกษาออนไลน์ ใน 3 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก เชียงใหม่ และน่าน และจัดการอบรมไปแล้วใน 15 จังหวัด คือ อุทัยธานี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ แพร่ สุโขทัย ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา เชียงราย และน่าน ผู้รับการฝึกอบรมประเมินว่าชุดเครื่องมือมีประโยชน์มาก และตรงตามความต้องการ สามารถแปลฉลากผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้อง ทำให้มั่นใจในการสนทนากับลูกค้าต่างชาติ การร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ และเข้าใจการทำสัญญาทางการค้าอย่างถูกต้อง แม่นยำ และได้แนวทางที่รัดกุมตามกฎหมาย ทั้งยังมีโอกาสสร้างเครือข่าย ในกลุ่มผู้ประกอบการเกษตรสมุนไพรในภาคเหนือด้วย ในการออกแบบให้ตรงตามวัฒนธรรมของตลาดเป้าหมาย ทั้งด้าน What How และ Why รวมทั้งได้รับประมวคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง อันจะนำไปสู่การรวมกลุ่มช่วยเหลือเกื้อกูล และขยายตลาดต่างประเทศร่วมกัน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และใช้ได้จริงโดยสมาชิก ในลักษณะ Testimonials ศูนย์ข่าวสารเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเกษตรสมุนไพร ซึ่งบูรณาการร่วมกันระหว่าง รัฐบาล จังหวัด มหาวิทยาลัยนเรศวร และผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการแปลผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและภาษาอังกฤษสำหรับการส่งออกและนำเข้า ทางอุตสาหกรรมเกษตรสมุนไพรได้แบบตรบวงจร

ที่มาของข่าว สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก