ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

เตรียมพร้อมร่างกายรับมือเด็กพิเศษอย่างมีสติด้วยโยคะ

วันที่ลงข่าว: 07/02/18
การฝึกโยคะกับการดูแลเด็กพิเศษ
 
การดูแลชีวิตคนๆหนึ่งต้องใช้พลังและความอดทนอย่างมากโดยเฉพาะคนที่อยู่ในความดูแลอยู่ในภาวะที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้จึงจำเป็นต้องใช้ทั้งความอดทนและสติในการควบคุมตัวเองไม่ให้ใช้อารมณ์กับเขานอกจากนั้นสุขภาพทั้งกายและจิตของผู้ดูแลก็มีส่วนสำคัญ
             โยคะกับครอบครัวผู้พิการเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ต่อยอดโครงการโยคะกับสติทีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)จัดขึ้นเพื่อต้องการให้ผู้ดูแลผู้พิการในบ้านในศูนย์ได้ฝึกและเรียนรู้ท่าบริหารร่างกายจากกระบวนการทำโยคะช่วยในการยืดเหยียดกล้ามเนื้อให้ผู้เรียนได้มีสุขภาพที่ดีมีสติในการทำหน้าที่ได้มากขึ้นและนำไปปรับใช้บำบัดผ่อนคลาย สร้างกล้ามเนื้อและสมดุลย์ทางร่างกายกับผู้พิการในความดูแลได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
            สำหรับการเรียนโยคะเป็นการรวมกายกับจิตเข้าด้วยกัน อันหมายถึงการมีสติรู้อยู่กับกายตลอดเวลา เป็นจุดสำคัญของการฝึกโยคะ ที่ผู้ฝึกต้องกำหนดจิตให้รู้ตัวว่าตนเองทำอะไรอยู่ทุกขณะจิต และสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้น ทั้งสมดุลระหว่างกายกับใจของตนเอง และสมดุลระหว่างตนเองกับสิ่งแวดล้อมรวมถึงเป็นการฝึกจิต ทำให้จิตเกิดสมาธิ สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิอยู่กับกาย ก็จะสามารถมองเห็นปัญหา หรือสิ่งที่จะเกิดได้ง่ายขึ้น
           รสสุคนธ์ ซันจวน หรือครูเก๋ ผู้ฝึกสอนโยคะ กล่าวว่าทุกวันนี้คนรู้จักโยคะกันมากขึ้นแต่ฝึกจริงๆมีน้อยเพราะส่วนประกอบ และหัวใจ ของโยคะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้เรียน ถ้าหาเจอจะทำให้มีทัศนคติที่ดีกับโยคะเมื่อเล่นก็จะเล่นอย่างมีความสุขและสนุกไม่ต้องคาดหวังกับท่าที่ทำรู้แต่ว่ากำลังยืดเหยียดร่างกายลักษณะไหนอยู่รู้สึกอย่างไร เหมาะสมกับตัวเองหรือไม่เพื่อให้เข้าใจสรีระร่างกายว่าเคลื่อนไหวไปทางไหนรู้สึกยังไงเมื่อต้องไปเล่นกับลูกหรือผู้พิการจะได้เข้าใจความรู้สึกได้ว่าขณะทำจะมีอาการยังไงและควรขยับลูกแบบไหนส่วนไหนเนื่องจากร่างกายเด็กมีข้อจำกัด  ท่าโยคะที่สอนส่วนมากเป็นท่าที่ช่วยเหยียดยืดทั่วไปซึ่งพ่อแม่ต้องเลือกท่าที่เหมาะกับลูกไปใช้เพราะเด็กแต่ละคนมีปัญหาต่างกันไม่ใช่การรักษาแต่ช่วยบรรเทาอาการบางคนกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะเกร็งแขนการทำโยคะจะช่วยให้เขาคลายลงได้ 
          "ท่าโยคะที่เลือกมาสอนเป็นหลักการของท่ายึดเหยียดที่ทำได้ง่ายพ่อแม่ต้องเลือกไปปรับใช้กับลูกโดยแต่ละท่าพ่อแม่ต้องลองเล่นก่อนจะได้รู้ว่าทำแล้วมีอาการตึงแบบไหน ออกแรงยังไงจึงจะทำให้ลูกได้ประโยชน์ และจะรู้ขณะทำให้ลูกเขาจะรู้สึกยังไง เพราะเขาสื่อสารออกมาเป็นคำพูดไม่ได้และต้องต้องปรับท่าให้เหมาะกับลูก"ครูเก๋ กล่าว
           ครูเก๋ บอกอีกว่า ในฐานะที่สอนโยคะให้กับเด็กมาโยคะจะช่วยให้จัดระเบียบร่างกายรู้จักการออกแรง รู้จักควบคุมร่างกายได้ดี ซึ่งทุกท่าแฝงการมีสติ เพราะถ้าบอกให้มีสติบางคนไม่เข้าใจดูไกลตัวเหมือนธรรมะ จึงไม่ค่อยบอกให้มีสติิแต่เวลาเล่นทุกคนต้องมีสติมีสมาธิในเรื่องท่าการสังเกตุการเคลื่อนไหวของร่างกายเช่นตอนทำตัวคดต้องรู้สึกว่าถึงกระดูกส่วนไหน  คือการเอาใจไปจับว่าตัวเองทำไรอยู่ ทุกคนจะเงียบมาก พอมีสติก็ทำได้ต่อเนื่องอยู่กับตัวเองได้อย่างสบาย ส่วนเด็กจะไม่บอกให้ทำท่าไหนจะแนะนำหลักการให้รู้ว่าแต่ละท่ายืดเหยียดส่วนไหนได้ประโยชน์ยังไงเที่เหลือเป็นหน้าที่แม่หรือผู้ดูแลพราะเด็กอาการต่างกัน บางคนไม่ยอมต้องอาศัยการเล่นสนุก หลอกล่อ
          "การฝึกโยคะนี้ผู้ที่ได้ประโยชน์จริงคือ แม่ ผู้ดูแลเพราะการดูแลเด็กพิเศษต้องใช้พลังใช้ความอดทนมาก ซึ่งการทำโยคะจะช่วยให้มีพลังด้านจิตใจมีร่างกายแข็งแรงช่วยให้ผ่อนคลายหรือเรียกง่ายๆคือการเตรียมพร้อมร่างกายและจิตในในการดูแลเด็กกลุ่มนี้"ครูเก๋ กล่าวปิดท้าย  
          นางแดง (นามสมมติ) ผู้ปกครองที่เข้าฝึกโยคะซึ่งต้องดูแลลูกสาวพิการและเด็กพิเศษที่พ่อแม่นำมาฝากเลี้ยง เล่าว่าดูแลลูกสาวพิการบกพร่องทางสติปัญญาช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ต้องนั่งรถเข็นตลอดมากว่า25ปีไม่ค่อยได้ไปไหนบางครั้งก็จะมีผู้ปกครองเด็กพิเศษคนอื่นนำเด็กมาฝากไว้บ้างเรื่องออกกำลังกายลืมไปได้เลยบางทีก็เครียดสงสารลูกวันนี้ได้มาเรียนโยคะรู้สึกสบายตัว แต่ละท่าที่ครูสอนเป็นท่ายืดเหยียดง่ายๆสามารถทำที่บ้านได้ตอนเรียนไม่รู้เรียกท่าอะไรบ้างแต่ทำแล้วรู้สึกสบาย ผ่อนคลาย เพราะปกติไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกายจริงจังเพราะแค่ดูแลลูกที่พิการก็เหนื่อยแล้ววันนี้ได้แนวคิดหลักการที่ถูกต้องจะกลับไปทำที่บ้านและปรับใช้กับลูกให้เขาได้เล่นได้ยืดเหยียดบ้าง"
ที่มาของข่าว หนังสือพิมพ์บ้านเมืองออนไลน์ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก