ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

กศน.ขานรับนโยบายหนุนคนไทยเข้าถึงการศึกษาตลอดชีวิตต่อยอดสู่การปฏิบัติ ผ่านจุดเน้น นโยบายการดำเนินงาน กศน. ปี 61

วันที่ลงข่าว: 13/11/17

        นายกฤตชัย  อรุณรัตน์  เลขาธิการ กศน. เปิดเผยว่า  สำนักงาน กศน. ได้ดำเนินการจัดทำร่างนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงานสำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โดยกำหนดวิสัยทัศน์ไว้ดังนี้ “คนไทยได้รับโอกาสการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ สามารถดำรงชีวิตที่เหมาะสมกับช่วงวัย สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีทักษะที่จำเป็นในโลกศตวรรษที่ 21” โดยได้วางแผนการดำเนินการภายใต้ 5 พันธกิจหลัก 1) จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ เพื่อยกระดับการศึกษา พัฒนาทักษะการเรียนรู้ของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายให้เหมาะสมทุกช่วงวัย และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงบริบททางสังคม และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานภาคีเครือข่าย ในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งการดาเนินกิจกรรมของศูนย์การเรียนและแหล่ง การเรียนรู้อื่น ในรูปแบบต่างๆ 3) ส่งเสริมและพัฒนาการนำเทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการศึกษานอกระบบ 4) พัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและนวัตกรรม การวัดและประเมินผลในทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับบริบทปัจจุบัน และพันธกิจสุดท้าย พัฒนาบุคลากรและระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อมุ่งจัดการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพโดยยึดหลักธรรมาภิบาล

         เลขาธิการ กศน. กล่าวต่อไปว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ.2561 สำนักงาน กศน.ได้กำหนดโครงการสำคัญทั้งที่เป็นนโยบายเร่งด่วนเพื่อร่วมขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ และภารกิจต่อเนื่อง โครงการสำคัญที่ดำเนินการเพื่อร่วมขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ 6 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ได้แก่ การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของ รัชกาลที่ 10 และการพัฒนาการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในเขตพื้นที่พิเศษ ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ประกอบด้วย การขับเคลื่อน กศน. สู่ “Smart ONIE” ในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ที่เสริมสร้างศักยภาพของประชาชนให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ และการพัฒนากาลังคนให้เป็น “Smart Digital Persons (SDPs)” ที่มีทักษะด้านดิจิทัลเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนให้มีคุณภาพ ได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อมการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ (Smart Aging Society) 2) การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรม (Smart Farmer : เกษตรกรปราดเปรื่อง) 3) ส่งเสริมให้มีการจัดการเรียนการสอนแบบ “สะเต็มศึกษา” (STEM Education) 4) เพิ่มอัตราการอ่านของประชาชน 5) ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน สู่ “วิสาหกิจชุมชน : ชุมชนพึ่งตนเอง ทำได้ ขายเป็น” 6) จัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางเกษตรธรรมชาติสู่การพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา ได้แก่ 1) ส่งเสริมการนำระบบคูปองการศึกษามาใช้เพื่อสร้างและขยายโอกาสการเรียนรู้ที่สะดวก รวดเร็ว ตรงตามความต้องการ 2) สร้างกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบ E-learning MOOC ที่ใช้ระบบเทคโนโลยีมาบริหารจัดการเรียนรู้ 3) เพิ่มอัตราการรู้หนังสือและยกระดับการรู้หนังสือของประชาชน 4) ยกระดับการศึกษาให้แก่กลุ่มเป้าหมายทหารกองประจำการ 5) พลิกโฉม กศน. ตำบล สู่ “กศน.ตำบล 4 G” (Good Teacher, Good Place Best Check-In, Good Activities, Good Partnership) ยุทธศาสตร์ด้านส่งเสริมและจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดำเนินการส่งเสริมให้มีการให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันผลกระทบและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติธรรมชาติ สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างสังคมสีเขียว การกำจัดขยะและมลพิษในเขตชุมชน และส่งเสริมให้หน่วยงานและสถานศึกษาใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งลดการใช้ทรัพยากรที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการ ประกอบด้วย พัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา  ส่งเสริมการใช้ระบบสานักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-office) ในการบริหารจัดการ รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรทุกระดับให้มีศักยภาพในการทำงานที่เหมาะสม

 

         สำหรับภารกิจต่อเนื่องที่ต้องดำเนินงานเพื่อการพัฒนาที่ต่อเนื่องในปีงบประมาณนี้ แบ่งออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ 2) ด้านหลักสูตร สื่อ รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล งานบริการทางวิชาการ และการประกันคุณภาพการศึกษา 3) ด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 4) ด้านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือโครงการอันเกี่ยวเนื่องจากราชวงศ์ 5) ด้านการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และพื้นที่บริเวณชายแดน และ 6) ด้านบุคลากร ระบบการบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน สำหรับรายละเอียดของโครงการและกิจกรรมสำคัญต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น หลังจากได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยแล้ว สำนักงาน กศน.จะนำเรียนชี้แจงให้สาธารณชนได้รับทราบในโอกาสต่อไป นายกฤตชัย กล่าวในที่สุด

 

  ณัฐมน / ข่าว

ที่มาของข่าว http://www.nfe.go.th/
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181