ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

พระมหากรุณาธิคุณ ‘ร.9’ž – ‘การศึกษา พัฒนาชาติž’

วันที่ลงข่าว: 06/10/17

        ตลอดระยะเวลา 70 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองราชย์ นับเป็นเวลา 70 ปี แห่งความเจริญรุ่งเรืองของประเทศในทุกๆ ด้าน

พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่เป็นประโยชน์ต่อปวงชนชาวไทยอย่างมากมาย โดยเฉพาะด้าน การศึกษาŽ

ทรงตระหนักดีว่าการศึกษาเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ ดังพระราชดำรัสที่ทรงมีต่อการศึกษาในโอกาสต่างๆ

อาทิ พระราชดำรัสในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตและนักศึกษาวิทยาลัยวิชาการศึกษา เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2505 ตอนหนึ่งว่า

การศึกษาเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญยิ่งของมนุษย์ คนเราเมื่อเกิดมาก็ได้รับการสั่งสอนจากบิดามารดา อันเป็นความรู้เบื้องต้น เมื่อเจริญเติบโตขึ้นก็เป็นหน้าที่ของครูและอาจารย์สั่งสอนให้ได้รับวิชาความรู้สูง และอบรมจิตใจให้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม เพื่อจะได้เป็นพลเมืองดีของชาติบ้านเมืองสืบต่อไป งานของครูจึงเป็นงานที่สำคัญยิ่ง ท่านทั้งหลายซึ่งจะออกไปทำหน้าที่ครู จะต้องตั้งมั่นอยู่ในหลักศีลธรรม และพยายามถ่ายทอดวิชาความรู้แก่เด็กให้ดีที่สุดที่จะทำได้ นอกจากนี้ จงวางตนให้สมกับที่เป็นครู ให้นักเรียนมีความเคารพนับถือ และเป็นที่เลื่อมใสไว้วางใจของผู้ปกครองนักเรียนด้วยŽ

         พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราโชบายส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท

ไม่ว่าจะเป็นการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน การศึกษาพิเศษ การศึกษาสงเคราะห์ การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การพัฒนาวิชาการและวิจัย และพระราชทานทุนการศึกษา เป็นต้น

จากการที่พระองค์ได้เสด็จพระราช ดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดารตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ และได้ทอดพระเนตรเด็กและเยาวชนจำนวนไม่น้อยขาดโอกาสทางการศึกษา ขาดปัจจัยความพร้อม

จึงพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ด้านต่างๆ เช่น พระราชทานทุนการศึกษา ได้แก่ ทุนมูลนิธิภูมิพล ทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ทุนเล่าเรียนหลวง ทุนการศึกษาสงเคราะห์ในมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ทุนมูลนิธิราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิโรงเรียนราชประชาสมาสัย ทุนนวฤกษ์ ทุนการศึกษาพระราชทานแก่นักเรียนเฉพาะกรณี อาทิ ทุนพระราชทานแก่นักเรียนชาวเขา ทุนพระราชทานแก่นักเรียนเฉพาะสถานศึกษา และรางวัลพระราชทานแก่นักเรียน และโรงเรียนดีเด่น เป็นต้น

โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นโรงเรียนที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงให้การอุปถัมภ์ในด้านต่างๆ อาทิ พระราชทานพระราชทรัพย์ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ รวมทั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียน และพระราชทานพระบรมราโชวาท เพื่อสนับสนุนและเป็นกำลังใจแก่ครูและนักเรียนของโรงเรียน

        โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ มีทั้งโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน ดังนี้ โรงเรียนจิตรลดา โรงเรียนราชวินิต โรงเรียนวังไกลกังวล โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ โรงเรียนราชประชาสมาสัย โรงเรียน ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โรงเรียนเพื่อลูกหลานชนบท โรงเรียนร่มเกล้า โรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจน โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และโรงเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือตามความจำเป็นเร่งด่วน

ทรงมีพระราชดำริก่อตั้งมูลนิธิพระดาบสŽ ใน พ.ศ.2519 เพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา ขาดแคลนทุนทรัพย์ ไม่มีอาชีพ และไม่มีความรู้พื้นฐานเพียงพอที่จะศึกษาต่อในสถาบันวิชาชีพ หากสนใจใฝ่ศึกษา และมีความเพียรอย่างจริงจัง ให้ได้รับโอกาสฝึกวิชาชีพ และฝึกอบรมคุณธรรมศีลธรรม เพื่อให้ประกอบสัมมาอาชีวะ สร้างตนเอง ช่วยเหลือครอบครัว สังคม และประเทศชาติ

         พระองค์พระราชทานทรัพย์เป็นทุนประเดิม 5 ล้านบาท ทรงดำรงตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์ ปัจจุบันเปิดสอน 8 สาขาอาชีพ หลักสูตรวิชาช่างยนต์ หลักสูตรวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ หลักสูตรวิชาชีพช่างไฟฟ้า หลักสูตรวิชาชีพการเกษตรพอเพียง หลักสูตรวิชาชีพช่างซ่อมบำรุง หลักสูตรวิชาชีพช่างไม้เครื่องเรือน หลักสูตรวิชาชีพช่างเชื่อม

        นอกจากนี้ ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษาสำหรับประชาชนที่อยู่ในชนบท ทรงริเริ่มตั้ง ศาลารวมใจŽ ตามหมู่บ้านชนบท เพื่อให้ประชาชนได้ใช้เป็นที่อ่านหนังสือ โดยพระราชทานหนังสือประเภทต่างๆ ให้ประชาชนได้ใช้อ่านศึกษาหาความรู้

การศึกษาพระราชทานผ่านดาวเทียมŽ เนื่องจากปัญหาขาดแคลนครูในท้องที่ชนบทห่างไกล เป็นปัญหาของการศึกษาไทย ขาดแคลนทั้งอัตรากำลังครู ขาดครูที่สอนประจำวิชาเฉพาะ มาตรฐานคุณภาพของแต่ละโรงเรียนก็แตกต่างกัน ระหว่างโรงเรียนในชนบท และโรงเรียนประจำจังหวัด หรือโรงเรียนในเขตกรุงเทพฯ การศึกษาไทยเหลื่อมล้ำ เนื่องจากขาดแคลนครู จะเป็นเครื่องบั่นทอนความเจริญทางจิตใจ และการพัฒนาการของทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต ซึ่งเป็นความมั่นคงของชาติ

เพื่อแก้ปัญหาและยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนทั้งในเมือง หรือชนบท ในปี พ.ศ.2538 ศธ.จึงจัดโครงการการศึกษาสายสามัญด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม

เฉลิมพระเกียรติปีกาญจนาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

โดยใช้ โรงเรียนวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นแม่ข่ายถ่ายทอดการศึกษาสายสามัญด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม ที่เรียกกันว่า ครูตู้

Ž สอนตั้งแต่ชั้น ม.1-ม.6 ในช่วงแรกกำหนดโรงเรียนเครือข่ายทั่วประเทศไว้ 99 โรงเรียน

           ในปีเดียวกันนี้ นายขวัญแก้ว วัชโรทัย ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตจัดตั้งมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในมหามงคลวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี (กาญจนาภิเษก) โดยพระองค์พระราชทานพระราชทรัพย์ 50 ล้านบาท ที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยทูลเกล้าฯ ถวาย เป็นทุนประเดิม

นอกจากนี้ พระองค์ได้เสด็จฯไปพระราชทานความรู้แก่นักเรียนผ่านรายการ ศึกษาทัศน์Ž ของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โดยพระองค์เสด็จฯ ครั้งแรกในวันที่ 6 ตุลาคม 2544 ที่โรงเรียนเทศบาลบ้านเขาเต่า ต.หนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

พระราชกรณียกิจด้านการศึกษาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยในข้างต้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากหลายร้อยหลายพันโครงการ ที่ช่วยให้คนไทยหลุดพ้นจากปัญหาความขาดแคลนและด้อยโอกาส

 

        นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ สมดังพระราชสมัญญานาม 

พระผู้ทรงเป็นครูของแผ่นดินŽ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา พ.ศ.2554

เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสู่สวรรคาลัย ปวงชนชาวไทยน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน น้อมนำพระราโชบาย สืบสานพระปณิธานของพระองค์ท่านด้านการศึกษา ให้คงอยู่สืบไป

ที่มาของข่าว หนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์ วันที่ 6 ตุลาคม 2560
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก