ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

'ครูพายุ' กับความฝันริมขอบสระเพื่อ 'เด็กพิการด้อยโอกาส'

วันที่ลงข่าว: 02/06/17

  "ครูพายุ ณัฐศักดิ์ ท้าวอุดม" อดีตนักกีฬาว่ายน้ำเยาวชนทีมชาติไทย ครูสอนว่ายน้ำที่หาทางทุกอย่างเพื่อให้เด็กผู้ด้อยโอกาส หรือพิการทางสายตา พิการทางการได้ยิน พิการทางสมอง เพื่อให้เด็กได้เอาชีวิตรอดในน้ำได้ รวมถึงการทำโครงการดีๆ ของครูพายุที่คอยช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส

       

       วันนี้ (1 มิ.ย.) คุณครูสอนว่ายน้ำผู้ไม่ยอมแพ้ เป็นถึงอดีตนักกีฬาว่ายน้ำเยาวชนทีมชาติ ที่ยอมสอนว่ายน้ำให้กับเด็กที่พิการต่างๆ และเด็กด้อยโอกาส ถึงแม้การสอนจะยากเย็นกว่าการสอนคนปกติทั่วไป ด้วยความเชื่อของคุณครูที่ว่าทุกคนมีความจำเป็นที่ต้องว่ายน้ำให้ได้ เพราะมีประโยชน์หลายด้านทั้งการเอาชีวิตรอด และคุณครูท่านนี้เชื่อในสิทธิโอกาสโดยเฉพาะเด็กที่พิการและด้อยโอกาสนั่นเอง

       

       "ครูพายุ ณัฐศักดิ์ ท้าวอุดม" กล่าวว่า เด็กทุกคนต้องว่ายน้ำให้ได้ ช่วยตัวเองให้ได้ อารมณ์ประมาณว่า 1+1 = 2 แต่อันนี้อาจจะมี 0.5+0.5 = 1 ซึ่งวิธีการอาจจะยากแตกต่างกัน แต่ผลรับออกก็คือต้องว่ายน้ำเป็น เหตุผลที่ผมมาสอนว่ายน้ำ ผมได้ไปเห็นตัวเลขๆ หนึ่ง เด็กไทยจมน้ำเสียชีวิต 1,500 คนต่อปี คือจริงๆ ผมไม่รู้ว่า 1,500 คนเยอะหรือน้อยแค่ไหน แต่เขามีการวิธีการเปรียบอย่างนี้ครับ ปกติเราใช้ชีวิตสัญจรบนท้องถนน แต่เด็กเสียชีวิตจากท้องถนนแค่ 700 กว่าคน ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเยอะที่สุดแล้ว แต่อุบัติเหตุจมน้ำมันเยอะกว่าบนถนนถึง 2 เท่า เพราะฉะนั้นแชมป์ก็คือการจมน้ำ ซึ่งตัวเลขนี้เป็นของกรมควบคุมโรคไม่ติดต่อของกระทรวงสาธารณสุข และได้สำรวจแล้วว่ากีฬาว่ายน้ำน่าจะเป็นกีใาชนิดเดียวบนโลกที่ไม่มีทักษะและเสียชีวิต เหมือนฟุตบอลเราเล่นไม่เป็นแต่ไม่เสียชีวิต แค่ล้มแล้วเจ็บ แต่น้ำถ้าไม่เป็นทำให้เสียชีวิต โดยผมถามเด็กว่าถ้าเจอเพื่อนจมน้ำจะทำอย่างไร เด็กทุกคนจะตอบว่าลงไปช่วย ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการช่วยเหลือที่ผิดมาก วิธีแก้ปัญหามีอยู่ 3 ข้อ คือ ตะโกนเรียกผู้ใหญ่ให้มาช่วย โยนก็โยนพวกถังน้ำมันหรืออุปกรณ์ที่ลอยน้ำให้เขาได้เกาะได้ ยื่นไม้หรือสิ่งของที่ยาว ดังนั้นไม่ต้องกระโดดลงไปช่วยก็ได้

       

       นายณัฐศักดิ์ ท้าวอุดม กล่าวต่อว่า ที่หันมาสอนว่ายน้ำเด็กพิการที่ด้อยโอกาส เมื่อผมว่ายน้ำเพื่อโรคประจำตัวของตัวเองก่อน ผมเป็นไมเกรน เป็นลมชัก และอีกหลายอย่างในร่างกายที่ไม่แข็งแรง คุณพ่อจึงเรียกหาไปว่ายน้ำ ซึ่งผมเป็นคนไม่อยู่นิ่ง เรียนหนังสือไม่เก่ง และโรคลมชักปมเป็นแบบชักเงียบไม่ออกอาการทำให้อันตราย แต่มีช่วงหนึ่งได้หยุดการว่ายน้ำไปแต่อาการกลับมาเป็นเหมือนเดิม เพราะฉะนั้นจึงหยุดว่ายน้ำไม่ได้ต้องว่ายอยู่ตลอด โดยตลอดการเรียนก็ใช้โครงการว่ายน้ำในความสามารถพิเศษ ซึ่งจุดเริ่มต้นการเป็นครูว่ายน้ำก็สอนนักเรียนที่มีร่างกายปกติ และจุดเปลี่ยนที่สอนเด็กพิการคือเมื่อปี 2551 ได้มีคุณแม่พาน้องมาเรียนว่ายน้ำและบอกแค่อย่างเดียวว่า น้องเป็นออทิสติก ซึ่งผมก็ไม่ปิดกลั้นก็สอนน้อง แต่สอนได้ 1 ชั่วโมง ผมไม่ไหวเพราะเด็กใช้ภาษาที่ไม่เหมือนกับเรา ทำให้สื่อสารกันไม่เข้าใจ แต่คุณแม่น้องบอกว่าให้น้องได้เรียนๆ เล่นๆ ออกกำลังกาย สักพักหนึ่งน้องสามารถลอยตัวเองได้ เริ่มฝึกเป่าน้ำได้ และน้องเขาสามารถจำเลขหมายทางหลวงได้ทั้งประเทศไทย

       นายณัฐศักดิ์ ท้าวอุดม กล่าวต่อว่า ซึ่งทำให้เราศึกษาเกี่ยวกับออทิสติกว่าน้ำช่วยออทิสติกยังไงได้บ้าง โดยค้าหาข้อมูลในกูเกิ้ลกับไม่เจออะไรเกี่ยวกับการว่ายน้ำของออทิสติกเลย และผมเพิ่งรู้ว่าในสหรัฐอเมริกามีข้อมูลการว่ายน้ำของออทิสติกซึ่งมีมากกว่า 50 ปีแล้ว แต่เมืองไทยไม่มีข้อมูล และผมได้ไปหาครูของน้องเขาที่เป็นนักกิจกรรมบำบัดที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งโชคดีมากที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เปิดเรียนสาขาหนึ่งชื่อว่า "กิจกรรมบำบัด" และเมื่อได้คุยกับคุณครูน้องว่าการว่ายน้ำกับออทิสติกช่วยอะไรได้บ้าง สิ่งมันช่วยออทิสติกได้หลายอย่างเช่น ช่วยฝึกเรื่องการพัฒนาสังคม ฝึกเรื่องสหสัมพันธ์อย่างเด็กมีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อ การว่ายน้ำก็จะเข้าไปช่วย ซึ่งน้ำมีประโยชน์เยอะมากโดยเด็กจะมีแรงขับเยอะ เมื่อขับออกมากับน้ำทำให้เมื่อถึงบ้านก็นอนสนิทโดยไม่ต้องใช้ยาช่วยให้หลับเพราะออกแรงเยอะ

       

       นายณัฐศักดิ์ ท้าวอุดม กล่าวเสริมว่า นอกจากสอนว่ายน้ำเด็กออทิสติกแล้ว มีนักเรียนพิการทางการได้ยินคือ หูหนวก ซึ่งเรามีปัญหาก็เราไม่สามารถสื่อสารกันได้ จึงประกาศรับสมัครครูสอนว่ายน้ำที่รู้ภาษามือ แต่ไม่มีใครมาสมัคร เราจึงไปเรียนภาษามือด้วยตัวเอง โดยตอนแรกนั่งในห้องเรียนของคนหูหนวกซึ่งเขาไม่ให้เรียนด้วย แต่มีอยู่วันหนึ่งผมได้ไปเดินถนนคนเดินที่เชียงใหม่ แล้วไปเจอคนหูหนวกขายของกันอยู่ 2 คน ก็เลยขอไปเป็นเพื่อนเขาและขอนั่งเรียนภาษามือกับเขาอยู่ 6 เดือน ซึ่งครูที่สอนภาษามือผมคนแรกคือคนที่ขายของที่ถนนคนเดินเชียงใหม่ ซึ่งผมมีความสุขมากเลยตอนนั้นได้มีการแลกเปลี่ยนภาษากัน เราสามารถเป็นล่ามให้เขาได้แลกกับการช่วยขายของให้เขา และภาษามือยังช่วยให้ผมฝึกใช้ร่างกายได้ดีขึ้น ส่วนเด็กที่พิการทางสายตา ผมมีโอกาสเจอครูที่สอนโรงเรียนตาบอดอยู่ที่เชียงใหม่ ได้เล่าถึงนักเรียนตาบอดที่เลือนลางจูงตาบอดที่สนิทแล้วต้องคูน้ำในเชียงใหม่ แต่โชคดีที่ไม่มีใครเป็นอะไร ผมจึงตัดสินใจโครงการเด็กตาบอด สิ่งที่ควรระวังมากๆ เลย เรื่องของความมั่นใจในเด็กตาบอด ห้ามไม่ทำให้เขาไม่เชื่อเป็นอันขาด ควรใช้เสียงเป็นสิ่งสำคัญมากต้องสุภาพและต้องไม่โกหกเขา เพราะเมื่อเขาไม่มั่นใจก็จะกลัวทันที

       

       นายณัฐศักดิ์ ท้าวอุดม กล่าวเสริมว่า เด็กๆ ทุกคนมีสิทธิมีโอกาสที่จะได้เรียนหนังสือเท่ากันโดยไม่มีข้อแม้ว่าจะยากจนหรือร่ำรวย ส่วนใหญ่การจมน้ำเด็กจะอยู่ตัวนอกอำเภอไม่ได้อยู่ในตัวเมือง ซึ่งเด็กในตัวเมืองจะได้เรียนพอสมควร จะอยู่ตัวนอกที่เยอะที่จมน้ำ ซึ่งผมรู้สึกว่ามันไม่ยุติธรรมเลยที่ทำไมเด็กรวยได้เรียน เด็กจนถึงไม่ได้เรียน รู้สึกว่าทุกน่าจะได้มีโอกาสได้เรียนเท่ากัน โดยในปีหนึ่งผมสอนเด็กว่ายน้ำทั้งเด็กปกติและเด็กไม่ปกติทั้งหมดประมาณ 4,000 กว่าคน ที่เชียงใหม่ และผมก็เข้าใจของอาจารย์ท่านหนึ่งที่บอกว่า "วันนี้เรายังสอนทั้งประเทศไม่ได้ แต่เราเป็นตัวอย่างคนทั้งประเทศได้" ซึ่งทำให้มีคนสนใจเลียนแบบในสิ่งที่ผมทำได้เยอะขึ้น ถ้าเขาอยากมีแรงบันดาลใจในเรื่องนี้ สามารถถามผมได้ทางเฟซบุ๊กชื่อว่า "ครูพายุ สอนว่ายน้ำ" โดยทุกอย่างที่ผมทำทำจากประสบการณ์เหมือนกัน และสิ่งหนึ่งที่มีคือ รักที่จะทำ

       

       "ในปี 2560 ผมมีโครงการอีกโครงหนึ่งชื่อว่า โครงการสอนว่ายน้ำเพื่อเด็กด้อยโอกาส 900 คน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ โดยตอนนี้ผมได้คัดเลือกเด็กอยู่ 2 พื้นที่ คือ ตัวเมืองเชียงใหม่ โดยจะเน้นเลือกโรงเรียนที่เป็นโรงเรียนวัด 600 คน อีกกลุ่มหนึ่งผมได้ร่วมทำงานกับบุรีรัมย์ชื่อโรงเรียนไม้ไผ่ ซึ่งเลือกเด็กในภาคอีสานมี 300 คน เพราะภาคอีสานเป็นแชมป์ที่จมน้ำมากที่สุด" ณัฐศักดิ์กล่าว

       

       อย่างไรก็ตาม ครูพายุได้ฝากทิ้งท้ายในรายการว่า "อัจริยะไม่ได้อยู่เพียงในห้องเรียนอย่างเดียว อัจริยะมี 8 ด้าน ค้นหาให้เจอว่าชอบอะไร แล้วไปตรงนั้นให้สุดตรง" 

 

ที่มาของข่าว หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 1 มิถุนายน 2560

Video ประกอบข่าวประจำวัน

^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181