ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

จ.ตรัง จัดประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดตรัง ครั้งที่ 1 /2560

วันที่ลงข่าว: 28/03/17

        วันที  28 มี.ค. 60 นายศิริพัฒ พัฒกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดตรัง ครั้งที่ 1/2560 ซึ่งจัดโดยกลุ่มการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตรัง ณ ห้องประชุมมรกต ศาลากลางจังหวัดตรัง ชั้น 5

ตามมติคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2559 เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัด ตามคำสั่งที่ 4/2559 เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งของหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดให้เป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพ และกำหนดให้มีการประชุมคณะอนุกรรมการฯ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

        สำหรับการประชุมในวันนี้ได้มีการสรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ.2557 และประกาศคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 1.กำหนดประเภทหรือลักษณะของบุคคลที่อยู่ในสภาวะยากลำบากและไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้ 2.กำหนดหลักเกณฑ์การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 3.มาตรฐานการปฏิบัติงานของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 4.หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกร้องกรณีคนไร้ที่พึ่งไม่ได้รับการคุ้มครอง หรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมจากสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง หรือศูนย์คุ้มครองคนไรที่พึ่ง 5.กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสนับสนุนการดำเนินการแก่หน่วยงานของรัฐ องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์การสวัสดิการชุมชน องค์กรภาคเอกชนอื่น สถาบันศาสนา กลุ่มคนไร้ที่พึ่ง หรือกลุ่มบุคคล เพื่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 6.การจัดตั้งสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง และกำหนดเขตพื้นที่ที่ให้การคุ้มครอง พร้อมทั้งประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 1.หลักเกณฑ์การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ.2557 2.การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ.2557 นอกจากนี้ ได้ประกาศกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เรื่องหลักสูตรการฝึกอบรมบุคลากรเพื่อเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ.2557

        สรุปสถานการณ์คนไร้ที่พึ่งในจังหวัดตรัง ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดตรัง ได้ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือบุคคลเร่ร่อน ไร้ที่พึ่ง ตาม พรบ.คนไร้ที่พึ่ง พ.ศ.2557 รวมทั้งสิ้น 52 ราย แยกเป็นชาย 28 ราย และหญิง 24 ราย มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดตรัง จำนวน 23 ราย และต่างจังหวัด 29 ราย สามารถส่งคืนครอบครัว 26 ราย และส่งต่อสถานสงเคราะห์ฯ 26 ราย และหากพบเห็นคนเร่ร่อน เด็ก สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ ให้แจ้งที่ศูนย์คุ้มครองฯ กรณีไม่มีญาติจะต้องเข้ารับการช่วยเหลือในที่พักพิงชั่วคราว หากพบเห็นจิตเวชให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ถ้าครบกระบวนการช่วยเหลือแล้วพบว่าไม่มีญาติ ขาดที่พึ่ง จะมีการดำเนินงานประสานส่งต่อหน่วยงาน พมจ. เพื่อดำเนินการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต

ที่มาของข่าว สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก