ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

รายงานพิเศษ 5 มนุษย์ล้อเมืองไทย ซึ้ในพระราชดำรัส สอบใบอนุญาตดำน้ำ OPEN WATER สร้างกำลังใจให้คนพิการ

วันที่ลงข่าว: 08/11/16

          ที่สระน้ำโรงแรมบ้านเขาหลักรีสอร์ท ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา กลุ่ม Wheelchair scuba Thailand ร่วมกันทบทวนการใช้อุปกรณ์ดำน้ำ ครั้งสุดท้ายก่อนที่จะเดินทางไปยัง หมู่เกาะสิมิลัน อ.คุระบุรี จ.พังงา เพื่อที่จะทำการสอบใบอนุญาตดำน้ำระดับ OPEN WATER  ซึ่งเป็นหลักสูตรดำน้ำสากล ที่ยังไม่มีมนุษย์ล้อกลุ่มใดในประเทศไทยเคยได้ทำ ซึ่งการทำกิจกรรมในครั้งนี้เป็นโครงการสร้างแรงบันดาลใจให้ทั้งผู้พิการและบุคคลทั่วไป ด้วยการนำ 5 มนุษย์ล้อ โดยมี นางสาวณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ (น้องธันญ์) ที่ถูกรถไฟฟ้าทับขาทั้งสองข้างที่ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างไปเรียนซัมเมอร์ ร่วม ดำดิ่งลงลู่ทะเลอันดามัน เพื่อชมความงามของปะการังใต้ท้องทะเล ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องยากบุคคลทั่วไป แต่มนุษย์ล้อ ก็ยังสามารถทำได้หากได้รับโอกาศ ซึ่งตรงกับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

นางสาวภาพิริยพร ตันติศิริธนากร (ซี) ตัวแทนกลุ่มWheelchair scuba Thailand กล่าวว่า หลังจากที่ได้พบเห็นน้องเมย์ซึ่งได้เล่าเรื่องการได้รับเชิญชวนให้ลงดำน้ำในโครงการที่ 1 ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ไม่คาดคิดว่า Wheelchair จะสามารถลงดำน้ำได้ เนื่องจากอุปกรณ์ที่มีจำนวนมาก และหนัก ซึ่งไม่สามารถหิ้วลงทะเลได้ด้วยตนเอง เมื่อเห็นถึงความสำเร็จจึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะลงไปดำน้ำบ้างจึงได้สมัครเข้าร่วมโครงการที่ 2 ซึ่งต้องมีการตรวจสุขภาพ เพื่อวัดศักยภาพของตัวเอง ก่อนจะไปฝึกภาคสระ ซึ่งบอกได้ว่ารู้สึกกลัวเป็นอย่างมาก แต่เมื่อเห็นเพื่อนๆ ทำได้ จึงได้เริ่มทำจนสามารถผ่านการดำน้ำในรอบที่ 2 ได้ ส่วนการดำน้ำในรอบที่ 3 นี้ เป็นการดำน้ำระดับ OPEN WATER  ซึ่งเป็นหลักสูตรดำน้ำสากล ซึ่งจะเป็น Wheelchair ชุดแรกที่จะแสดงให้เห็นว่าสามารถทำได้ และขอบคุณที่เปิดโอกาสให้ บุคคลปกติ ได้เห็นถึงความสามารถ Wheelchair ที่เกิดจากใจ ออกมาขับเคลื่อนพลังหรือเรียกกันว่า ใจบันดาลแรง

 

และซาบซึ้ง ในพระราชดำรัส ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2517 ว่า“...งานช่วยเหลือคนพิการนี้ ก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่าผู้พิการไม่ได้อยากจะเป็นผู้พิการ และอยากช่วยเหลือตนเอง ถ้าเราไม่ช่วยเขาให้สามารถที่ปฏิบัติงานอะไร เพื่อชีวิตและเศรษฐกิจของครอบครัวจะทำให้เกิดสิ่งที่หนักในครอบครัว หนักแก่ส่วนรวม ฉะนั้นนโยบายที่จะทำก็คือ ช่วยเขาให้ช่วยเหลือตนเองได้เพื่อจะทำให้เขาสามารถเป็นประโยชน์ต่อสังคม...” ซึ่งแสดงให้เห็นว่า หากสถานที่สามารถเอื้ออำนวยต่อ Wheelchair ได้ Wheelchair ก็ไม่จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากบุคคลธรรมดา

 

พรชัย แซ่เอี๋ยว

ที่มาของข่าว หนังสือพิมพ์แนวหน้าออนไลน์ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2559
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก