ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

พาราลิมปิกผ่าน 34 คน ‘เสือ’ ห่วงสารต้องห้าม

วันที่ลงข่าว: 22/06/16

นายสกล วรรณพงษ์ ผู้ว่าการ กกท. เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการเตรียมนักกีฬาพิการไทยเพื่อการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ โดยเฉพาะในการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 15 ณ เมืองริโอ เดอจาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล โดยขณะนี้มีนักกีฬาที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว จำนวน 34 คน จาก 10 ชนิดกีฬา ประกอบด้วย

 

 

กรีฑา 1 คนได้แก่ นายอังคาร ชะนะบุญ, / ว่ายน้ำ 4 คน (นายสมชาย ดวงแก้ว, นายชาคร แก้วศรี, นายพนม ลักษณะพริ้ม และน.ส.อัญชญา เกตุแก้ว),/ ยิงปืน 5 คน (นายบดินทร์ ศรศรีวิชัย, น.ส.สมพร ม่วงศิริ, นายอติเดช อินทนนท์, น.ส.ชุติมา แสนหล้า และนายฉัตรชัย เสนาจันทร์), วีลแชร์เทนนิส 2 คน (น.ส.สาคร ขันธสิทธ์ และนายสุธี คลองรั้ว), วีลแชร์ฟันดาบ 1 คน (น.ส.สายสุนีย์ จ๊ะนะ), ยิงธนู 3 คน (น.ส.วาสนา คูทวีทรัพย์, นายหาญฤชัย เนตศิริ และนายเมธาสิน ชัยสินฟ้า), เทเบิลเทนนิส 7 คน (นายอนุรักษ์ ลาววงษ์, นายวันชัย ชัยวุฒิ, นายรุ่งโรจน์ ไทยนิยม, น.ส.ชิลชิตพยัค บุตรวรรณสิริณา, น.ส.ดารารัตน์ อาสายุทธ, น.ส.วิจิตรา ใจอ่อน และนายยุทธจักร กลิ่นบานชื่น), บอคเซีย 8 คน (นายวิษณุ ฮวดประดิษฐ์, นายวรวุฒิ แสงอำภา, น.ส.สุบิน ทิพย์มะณี, นายวัชรพล วงษา, น.ส.นวลจันทร์ พลศิลา, นายพรโชค ลาภเย็น, นายเฉลิมพล ตันบุตร และนายพัทธยา เทศทอง), ยกน้ำหนัก 2 คน (นายณรงค์ แคสนั่น และ น.ส.อรวรรณ บุตรโพธิ์) และ ยูโด 1 คน ได้แก่ น.ส.เมธาวดี นันทลักษณ์

 

 

นายสกล วรรณพงษ์ ผู้ว่าการ กกท. กล่าวว่า “การเตรียมนักกีฬาพิการไทย ชุดพาราลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 15 กกท. ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดูแลนักกีฬาให้ดี ส่วนนักกีฬาก็ขอให้ทำผลงานให้เต็มที่ สู้ให้ถึงที่สุด จากนี้ กกท. จะไปตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจนักกีฬาชุดพาราลิมปิกเกมส์ ทั้งใน กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ขอให้มั่นใจว่าเราจะดูแลกันให้ดีที่สุดตั้งแต่เริ่มแรกจนวันแข่งขันที่บราซิล 

 

 

“ที่เป็นห่วงที่สุดคือเรื่องการใช้สารต้องห้ามในนักกีฬา ขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดูแลนักกีฬาให้ดี อย่าเสี่ยงเลย มันไม่คุ้ม เพราะทุกวันนี้คำว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ใช้ไม่ได้แล้ว ส่วนเรื่องการเบิกจ่ายตามแผนงานและงบประมาณนั้น ใครยังไม่ได้เบิกจ่ายให้รีบดำเนินการเบิกจ่ายต่อไป”

ที่มาของข่าว หนังสือพิมพ์บ้านเมืองออนไลน์ วันที่ 22 มิถุนายน 2559
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก